สรุปประเด็นสำคัญในงาน THE WISDOM Investment Forum “AI Ultimatum” โลกขับเคลื่อนสู่ยุค “AI First” พลิกเกมธุรกิจและการลงทุนทั่วโลก
KBank x ลงทุนแมน
“โลกหมุนเร็วมากขึ้นทุกวัน
ไม่แน่ว่า.. ถ้านวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสมบูรณ์แบบ
ในอนาคต เราอาจแยกไม่ออกเลยว่า คนที่เราคุยด้วยอยู่นั้น คือหุ่นยนต์หรือมนุษย์”
ไม่แน่ว่า.. ถ้านวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสมบูรณ์แบบ
ในอนาคต เราอาจแยกไม่ออกเลยว่า คนที่เราคุยด้วยอยู่นั้น คือหุ่นยนต์หรือมนุษย์”
นี่คือคำพูดที่ คุณกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล
ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG
กล่าวในงาน THE WISDOM Investment Forum ภายใต้หัวข้อ “AI Ultimatum”
ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG
กล่าวในงาน THE WISDOM Investment Forum ภายใต้หัวข้อ “AI Ultimatum”
ปัจจุบัน “AI” เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก และกำลังกลายเป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่หลาย ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างให้ความสนใจ
เพราะถ้าเราลองสังเกตข่าวที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น
- Microsoft ลงทุนใน ChatGPT แช็ตบอตอัจฉริยะ ที่สามารถทำลายสถิติผู้ใช้งานทะลุ 100 ล้านคน ในระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือน
- Google ตั้งงบลงทุนและวิจัยใน Bard แช็ตบอตอัจฉริยะ คู่แข่งสำคัญของ ChatGPT
- Meta รายงานว่าจะลุยธุรกิจ AI โดยเฉพาะเจาะจงไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภท Generative AI ขึ้นมา
- Baidu ธุรกิจเซิร์ชเอนจินใหญ่สุดในประเทศจีน ก็ประกาศว่ากำลังพัฒนา Generative AI ของตัวเองที่มีชื่อว่า “ERNIE Bot”
- Google ตั้งงบลงทุนและวิจัยใน Bard แช็ตบอตอัจฉริยะ คู่แข่งสำคัญของ ChatGPT
- Meta รายงานว่าจะลุยธุรกิจ AI โดยเฉพาะเจาะจงไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภท Generative AI ขึ้นมา
- Baidu ธุรกิจเซิร์ชเอนจินใหญ่สุดในประเทศจีน ก็ประกาศว่ากำลังพัฒนา Generative AI ของตัวเองที่มีชื่อว่า “ERNIE Bot”
ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เทรนด์ AI กำลังมา และมันกำลังมาอย่างรวดเร็วกว่าที่หลาย ๆ คนคาดไว้..
ความน่าสนใจของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาสรุปประเด็นสำคัญในงาน THE WISDOM Investment Forum “AI Ultimatum” The Secret Key to Unlock Your Wealth ที่จัดโดยบริการเดอะวิสดอมกสิกรไทย
ลงทุนแมนจะมาสรุปประเด็นสำคัญในงาน THE WISDOM Investment Forum “AI Ultimatum” The Secret Key to Unlock Your Wealth ที่จัดโดยบริการเดอะวิสดอมกสิกรไทย
Session 1 ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
ในหัวข้อ “AI เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก กลไกสำคัญสร้างความเปลี่ยนแปลง และโอกาสใหม่ในด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน”
ในหัวข้อ “AI เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก กลไกสำคัญสร้างความเปลี่ยนแปลง และโอกาสใหม่ในด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน”
ในช่วงที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก เต็มไปด้วยความผันผวน
จากทั้งปัจจัยมหภาค และความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น
จากทั้งปัจจัยมหภาค และความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น
- สงครามตะวันออกกลาง ที่กดดันราคาน้ำมัน
- การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ส่งผลโดยตรงต่อสินทรัพย์เสี่ยง
- สัดส่วนผู้สูงอายุทั่วโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ปัญหาโลกร้อน โดยในปี 2027 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นประวัติการณ์
- การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ส่งผลโดยตรงต่อสินทรัพย์เสี่ยง
- สัดส่วนผู้สูงอายุทั่วโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ปัญหาโลกร้อน โดยในปี 2027 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นประวัติการณ์
สำหรับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน มีการคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตเฉลี่ย 2.8% ระหว่างปี 2022 ถึงปี 2026
ซึ่งถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ซึ่งถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยยังมีความผันผวนสูง จากปัญหาเรื่องค่าเงินบาท อัตราเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีความไม่แน่นอนสูง
อย่างไรก็ดี ในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การเติบโตของเทคโนโลยี AI ที่กำลังเข้ามายกระดับความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน อย่างเห็นได้ชัด
แล้วเทคโนโลยี AI จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมอย่างไร ?
Session 2 คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ในหัวข้อ “The Age of AI and AI Investment Landscape”
แม้ว่า AI จะถูกพัฒนาจากความคิดในช่วงปี 1950 ถึงปี 1960 โดยคุณ Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
โดยนิยามของ AI ก็คือ การสร้างสมองมนุษย์จำลองขึ้นมา และให้หุ่นยนต์เลียนแบบการเรียนรู้ของมนุษย์ หรือเรียกว่า Machine Learning
เหมือนกับเด็กทารกที่มีการเรียนรู้จากภาพ และข้อมูลในชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ
เหมือนกับเด็กทารกที่มีการเรียนรู้จากภาพ และข้อมูลในชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ
แต่วิวัฒนาการของ AI ก็ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 21
ที่โลกได้กำเนิดหลาย ๆ บริษัทเทคโนโลยีขึ้นมา และ Big Data ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของ AI
ที่โลกได้กำเนิดหลาย ๆ บริษัทเทคโนโลยีขึ้นมา และ Big Data ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของ AI
- ปี 2000 AI เริ่มเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ และตรวจจับการเขียนข้อความด้วยลายมือ (Handwriting Recognition) และใช้เวลาราว ๆ 20 ปี จนสามารถเขียนได้เก่งกว่ามนุษย์
- ปี 2010 AI เริ่มเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ และตรวจจับภาพเคลื่อนไหว (Image Recognition) และใช้เวลาราว ๆ 10 ปี เพื่อสร้างภาพที่สวยกว่าศิลปินระดับโลก
- ปี 2016 AI เริ่มเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ และการทำข้อสอบของมนุษย์ (Reading Comprehension) และใช้เวลาเพียง 2 ปี ในการทำข้อสอบ จนได้คะแนนมากกว่ามนุษย์
ปัจจุบัน AI ฉลาดกว่ามนุษย์หลายล้านเท่า แถมยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีความเหนื่อยล้า อีกด้วย
รู้หรือไม่ ? จากข้อมูลของ Goldman Sachs ในปี 2024 ผู้คนจำนวน 300 ล้านคน จะตกงานจากการเติบโตของ AI โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่มีทักษะ หรือความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่น่าจับตามองคือ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่มีความคิดสร้างสรรค์คล้ายมนุษย์ ที่จะมาปฏิวัติอุตสาหกรรมแรงงานของโลก และเข้ามาทดแทนอาชีพที่หลาย ๆ คนคิดว่า “ปลอดภัย”
ไม่ว่าจะเป็น
ไม่ว่าจะเป็น
- โปรแกรมเมอร์
- นักกฎหมาย
- ศิลปิน
- คอนเทนต์ครีเอเตอร์
- นักกฎหมาย
- ศิลปิน
- คอนเทนต์ครีเอเตอร์
อย่างไรก็ดี การเข้ามาของ AI จะมาสร้างโอกาสทางธุรกิจ และอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ให้ผู้คนที่มองเห็นโอกาสในเทรนด์นี้เช่นกัน
Session 3 หัวข้อ “How Technologies (AI) Contributes to Your Investment Decision”
โดย
- คุณวสุพล ธารกกาญจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ Microsoft Azure บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
- คุณสรุจ ทิพเสนา กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด
- คุณทัชพล ไกรสิงขร Group Chief Technology Officer, Amity Solutions
- คุณวสุพล ธารกกาญจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ Microsoft Azure บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
- คุณสรุจ ทิพเสนา กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด
- คุณทัชพล ไกรสิงขร Group Chief Technology Officer, Amity Solutions
คุณวสุพล ธารกกาญจน์ กล่าวว่า ปัจจุบัน Microsoft ให้ความสำคัญกับการลงทุนและวิจัยกับเทคโนโลยี AI เป็นอย่างมาก เช่น
- การลงทุนใน ChatGPT แช็ตบอตอัจฉริยะ เพื่อเสริมสร้างอีโคซิสเต็ม
- การดึงตัวเจ้าพ่อ AI อย่างคุณ Sam Altman มาร่วมทีม
- เปิดตัว Microsoft Designer AI ที่สามารถสร้างรูปภาพจากคำสั่ง
- การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อย่าง Office และ Azure
- การดึงตัวเจ้าพ่อ AI อย่างคุณ Sam Altman มาร่วมทีม
- เปิดตัว Microsoft Designer AI ที่สามารถสร้างรูปภาพจากคำสั่ง
- การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อย่าง Office และ Azure
และล่าสุด Microsoft ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า “Microsoft 365 Copilot” หรือผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ที่พร้อมช่วยเหลือผู้ใช้งานในทุก ๆ มิติ
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่า AI จะมีข้อดีอยู่มากมาย แต่การเติบโตของ AI ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงหลาย ๆ ด้าน
เช่น การเติบโตของภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการนำเทคโนโลยี Deep Fake มาสร้างสื่อสังเคราะห์ เพื่อปลอมแปลงลักษณะของบุคคลต่าง ๆ ทำให้เกิดความสับสนอยู่บ่อยครั้ง
เช่น การเติบโตของภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการนำเทคโนโลยี Deep Fake มาสร้างสื่อสังเคราะห์ เพื่อปลอมแปลงลักษณะของบุคคลต่าง ๆ ทำให้เกิดความสับสนอยู่บ่อยครั้ง
แล้วทางออกของปัญหาเหล่านี้คืออะไร ?
คุณสรุจ ทิพเสนา กล่าวว่า Cybersecurity หรือการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ คือหนึ่งในธุรกิจที่จะเติบโตควบคู่กับเทคโนโลยี AI เพราะการโจมตีทางไซเบอร์รุนแรงขึ้นทุกวัน
ซึ่งการโจมตีทางไซเบอร์ อธิบายง่าย ๆ คือ การที่มีผู้ไม่หวังดี พยายามเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา เพื่อดัดแปลง ขโมย ทำลาย บิดเบือน รวมถึงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลของเรา
โดยในปี 2022 มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 350,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
พอเป็นแบบนี้ ทาง STelligent จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชัน SIEM & Security Operation หรือการนำข้อมูลทั้งหมดของบริษัท ทั้งด้าน IT Infrastructure และ Application มาวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบด้านความปลอดภัย หรือการโจมตีที่กำลังเกิดขึ้น
แล้วในมุมมองของคุณทัชพล ไกรสิงขร CTO ของ Amity Solution เจ้าของแพลตฟอร์ม Chatbot AI ชั้นนำของไทย มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ?
ปัจจุบัน AI วิวัฒนาการมาไกลมาก สามารถโต้ตอบบทสนทนาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์
จนบางครั้งเราอาจจะแยกไม่ออกเลยว่า คนที่เราคุยด้วยอยู่นั้น คือหุ่นยนต์จริง ๆ หรือเปล่า
จนบางครั้งเราอาจจะแยกไม่ออกเลยว่า คนที่เราคุยด้วยอยู่นั้น คือหุ่นยนต์จริง ๆ หรือเปล่า
ที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ Amity Solution ได้นำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ทำให้บริษัทมี Productivity เพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า
ต่างจากเมื่อก่อน เวลาที่บริษัทจะขยายบริการ จำเป็นต้องจ้างบุคลากร หรือลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
พอเป็นแบบนี้ การลงทุนในเทคโนโลยี AI จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลาย ๆ องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนขององค์กรได้อีกด้วย
แล้วถ้าเราอยากลงทุนเพื่อเติบโตไปพร้อม ๆ กับอุตสาหกรรม AI มีวิธีไหนบ้าง ?
Session 4 คุณมทินา วัชรวราทร หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ในหัวข้อ “Future Investment and Asset Allocation”
แน่นอนว่า เมื่อพูดถึง AI ต้องนึกถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำในด้าน AI และมีบริษัทที่เป็นผู้นำด้าน AI และเทคโนโลยีเบื้องหลังการสร้าง AI อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- Microsoft ผู้ให้บริการ Software ระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก คือ ระบบ Windows และ Office
- Alphabet เจ้าของแพลตฟอร์มเซิร์ชเอนจินยอดนิยมอย่าง Google
- Lam Research บริษัทผู้สร้างซอฟต์แวร์ ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบริษัทเทคโนโลยี อย่างเช่น Apple
- Alphabet เจ้าของแพลตฟอร์มเซิร์ชเอนจินยอดนิยมอย่าง Google
- Lam Research บริษัทผู้สร้างซอฟต์แวร์ ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบริษัทเทคโนโลยี อย่างเช่น Apple
แล้วถ้าเราอยากเป็นเจ้าของบริษัทเหล่านี้ มีวิธีไหนบ้าง ?
ต้องบอกว่า หนึ่งในกองทุนที่กำลังทำผลตอบแทนอย่างโดดเด่นคือ กองทุนเปิดเค โกลบอล เทคโนโลยี หุ้นทุน หรือ K-GTECH
โดย K-GTECH เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก และหุ้นเติบโตสูง ผ่านกองทุนหลัก Threadneedle (Lux) Global Technology, Class IU USD
ซึ่งกระจายการลงทุนไปยังหุ้นระดับโลกอย่าง Apple, Alphabet, Microsoft และ Synopsys
รวมทั้งหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงอย่าง Lam Research ที่เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์การออกแบบชิปขั้นสูง
รวมทั้งหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงอย่าง Lam Research ที่เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์การออกแบบชิปขั้นสูง
และ Analog Devices บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่เชี่ยวชาญด้านการแปลงข้อมูล และการประมวลผลสัญญาณ
สุดท้ายแล้ว ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนแบบนี้ ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด แนะนำกลยุทธ์การลงทุนแบบ Core & Satellite Portfolio
แบ่งเป็น Core Portfolio ประมาณ 80% ของพอร์ต เน้นลงทุนในกองทุน หรือสินทรัพย์ที่เราเชื่อมั่นว่าจะให้ผลตอบแทนดี สม่ำเสมอ และมีการเติบโต เช่น กองทุน K-GTECH, K-VIETNAM และ K-INDIA
โดยเน้นลงทุนระยะยาว และ Rebalance ทุกไตรมาส หรือจะใช้ตัวช่วยวางแผนการลงทุนอย่าง Wealth PLUS ที่ได้คัดสรรแผนการลงทุนที่เหมาะสม กับแต่ละระดับความเสี่ยง ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
อีก 20% ของพอร์ตแบ่งเป็น Satellite Portfolio เน้นลงทุนระยะสั้น สามารถจับจังหวะตลาด หรือใช้กลยุทธ์ Trading ได้ เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุน
ที่สำคัญ อย่าลืมว่า กลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดเสมอมา คงหนีไม่พ้นการกระจายความเสี่ยง และติดตามศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนตัดสินใจลงทุน นั่นเอง
มาถึงตรงนี้ เราคงพอสรุปได้ว่า AI ได้กลายมาเป็นเมกะเทรนด์ของโลก ที่กำลังเติบโตแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยี AI มีแต่จะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะเก่งกว่ามนุษย์ในทุก ๆ มิติ
ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยี AI มีแต่จะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะเก่งกว่ามนุษย์ในทุก ๆ มิติ
ถึงขั้นที่คุณ Sundar Pichai CEO ของบริษัท Google ยังเคยพูดว่า AI จะมีผลกระทบต่อมนุษยชาติ
ทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการทำงาน มากกว่าไฟฟ้า และอินเทอร์เน็ต อีกด้วย..
ทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการทำงาน มากกว่าไฟฟ้า และอินเทอร์เน็ต อีกด้วย..
References:
-https://www.nasdaq.com/articles/why-did-google-invest-$300-million-in-a-chatgpt-competitor-while-launching-bard
-https://www.bbc.com/news/technology-65102150
-https://www.kasikornasset.com/Pages/K-GTECH/k-gtech.html
-https://stelligence.com/solutions/
-https://www.agileit.com/news/biggest-cyberattacks-2022/
-https://www.nasdaq.com/articles/why-did-google-invest-$300-million-in-a-chatgpt-competitor-while-launching-bard
-https://www.bbc.com/news/technology-65102150
-https://www.kasikornasset.com/Pages/K-GTECH/k-gtech.html
-https://stelligence.com/solutions/
-https://www.agileit.com/news/biggest-cyberattacks-2022/