สรุปประเด็นสำคัญจากงาน Wealth Forum Thailand 2025 : The New Frontiers of Investment Opportunity
เดอะวิสดอมกสิกรไทย x ลงทุนแมน
จบไปแล้วสำหรับงานสัมมนาครั้งสำคัญของ เดอะวิสดอมกสิกรไทย
ที่เชิญชวนทุกคนมาร่วมวิเคราะห์ เจาะลึก ปรับพอร์ตการลงทุน ต่อยอดความมั่งคั่งให้แข็งแกร่งและยั่งยืนในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2024 ที่ผ่านมา
ภายในงานครั้งนี้ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ ทั้งแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2025 รวมทั้งโอกาส ความเสี่ยง และกลยุทธ์การลงทุนปี 2025
จบไปแล้วสำหรับงานสัมมนาครั้งสำคัญของ เดอะวิสดอมกสิกรไทย
ที่เชิญชวนทุกคนมาร่วมวิเคราะห์ เจาะลึก ปรับพอร์ตการลงทุน ต่อยอดความมั่งคั่งให้แข็งแกร่งและยั่งยืนในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2024 ที่ผ่านมา
ภายในงานครั้งนี้ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ ทั้งแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2025 รวมทั้งโอกาส ความเสี่ยง และกลยุทธ์การลงทุนปี 2025
จากมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญที่ครบทุกมิติทั้งเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า และนโยบายสำคัญของทรัมป์ที่จะส่งแรงกระเพื่อมทั่วโลก โอกาสลงทุนอยู่ที่ไหน วิเคราะห์เจาะลึกโดยทีม K WEALTH ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการเงินและการลงทุนของธนาคารกสิกรไทย และได้เชิญ J.P. Morgan Asset Management กับ Lombard Odier องค์กรชั้นนำระดับโลกซึ่งเป็นพันธมิตรของธนาคารกสิกรไทย มาร่วมวงสัมมนาด้วย
แล้วนักลงทุนไทยควรรู้อะไร เพื่อเตรียมพร้อมการลงทุนในปี 2025 ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
“หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025
คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรก ของดอนัลด์ ทรัมป์
คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรก ของดอนัลด์ ทรัมป์
เช่น นโยบายการลดเงินสนับสนุนทางทหารกับชาติพันธมิตร, นโยบายกีดกันผู้อพยพเข้าเมือง, นโยบายด้านพลังงาน รวมถึงการลดภาษี
ซึ่งโดยรวมแล้วจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น
รวมถึงการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะทำให้ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามนโยบายของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่” ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ฉายภาพรวมดังกล่าว
ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามนโยบายของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่” ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ฉายภาพรวมดังกล่าว
ช่วงที่ 1 Global Economic Landscape 2025 จาก 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนสำคัญ คือ
Ms. Jin Yuejue ตำแหน่ง Managing Director, Asia Head of the Investment Specialist, Multi-Asset Solution group จาก J.P. Morgan Asset Management และ Mr. Homin Lee ตำแหน่ง Senior Macro Strategist จาก Lombard Odier
Ms. Jin Yuejue ตำแหน่ง Managing Director, Asia Head of the Investment Specialist, Multi-Asset Solution group จาก J.P. Morgan Asset Management และ Mr. Homin Lee ตำแหน่ง Senior Macro Strategist จาก Lombard Odier
- ประเด็นภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ปี 2025 จะเป็นปีที่ทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ จากที่ก่อนหน้านี้โลกของเราต้องเจอทั้งวิกฤติโรคระบาดเรื่อยมา จนสถานการณ์ภาวะดอกเบี้ยสูง เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ปี 2025 จะเป็นปีที่ทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ จากที่ก่อนหน้านี้โลกของเราต้องเจอทั้งวิกฤติโรคระบาดเรื่อยมา จนสถานการณ์ภาวะดอกเบี้ยสูง เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ถึงตอนนี้ ถ้าสังเกตจากปัจจัยการจ้างงาน, งบประมาณลงทุนภาครัฐ และการใช้จ่ายภาคประชาชน
สะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก กำลังไปได้ดีขึ้น
สะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก กำลังไปได้ดีขึ้น
เปรียบเทียบง่าย ๆ เสมือนอยู่ในสภาพอากาศแบบ Sunny ที่อาจจะมีเมฆปกคลุมบ้างจากความท้าทายและความผันผวนในภูมิภาคอื่น ๆ
เช่น ยุโรปที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง, การฟื้นตัวของญี่ปุ่นที่ตลาดไม่ได้ตอบรับ เป็นต้น
สรุปแล้วแม้ว่าภาพรวมอาจจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ภาคการลงทุนก็ยังต้องระมัดระวังด้วย
สิ่งที่คนทั่วโลกจับตาคือ การกลับมาของดอนัลด์ ทรัมป์ ที่มาพร้อมนโยบายหลากหลาย ทั้งที่สร้างผลบวกและผลลบในเวลาเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น 2T คือ Tax และ Tariff
นโยบายลดการเก็บภาษีภาคนิติบุคคลส่งผลให้ภาครัฐมีรายได้ลดลง จึงต้องวางแนวทางชดเชยด้วยการลดการสนับสนุนภาคเทคโนโลยีมาชดเชย รวมทั้งการเพิ่มภาษีนำเข้าจากต่างประเทศ
ดังนั้น ประเทศที่เป็นคู่ค้าของสหรัฐฯ และทำให้สหรัฐฯ ขาดทุนการค้า อาจต้องเจอความท้าทาย และส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก
- ประเด็นเงินเฟ้อ
ปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ คือการขึ้นภาษีการค้าที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
แต่ก็เชื่อว่าทรัมป์จะไม่ขึ้นภาษีเข้มข้นแบบที่หาเสียงไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าเงินเฟ้ออาจเกิดขึ้นในระดับที่รับมือได้ ส่วน FED มีความเป็นไปได้ที่จะชะลอการลดดอกเบี้ยลง
เช่น ยุโรปที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง, การฟื้นตัวของญี่ปุ่นที่ตลาดไม่ได้ตอบรับ เป็นต้น
สรุปแล้วแม้ว่าภาพรวมอาจจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ภาคการลงทุนก็ยังต้องระมัดระวังด้วย
สิ่งที่คนทั่วโลกจับตาคือ การกลับมาของดอนัลด์ ทรัมป์ ที่มาพร้อมนโยบายหลากหลาย ทั้งที่สร้างผลบวกและผลลบในเวลาเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น 2T คือ Tax และ Tariff
นโยบายลดการเก็บภาษีภาคนิติบุคคลส่งผลให้ภาครัฐมีรายได้ลดลง จึงต้องวางแนวทางชดเชยด้วยการลดการสนับสนุนภาคเทคโนโลยีมาชดเชย รวมทั้งการเพิ่มภาษีนำเข้าจากต่างประเทศ
ดังนั้น ประเทศที่เป็นคู่ค้าของสหรัฐฯ และทำให้สหรัฐฯ ขาดทุนการค้า อาจต้องเจอความท้าทาย และส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก
- ประเด็นเงินเฟ้อ
ปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ คือการขึ้นภาษีการค้าที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
แต่ก็เชื่อว่าทรัมป์จะไม่ขึ้นภาษีเข้มข้นแบบที่หาเสียงไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าเงินเฟ้ออาจเกิดขึ้นในระดับที่รับมือได้ ส่วน FED มีความเป็นไปได้ที่จะชะลอการลดดอกเบี้ยลง
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายอื่น ๆ ที่ต้องจับตามองอย่างนโยบายด้าน Immigration การจัดการผู้อพยพ รวมทั้ง Deregulation และ Fiscal ที่แม้จะยังไม่ได้เห็นภาพที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าจะส่งผลต่อเงินเฟ้อด้วย
- ประเด็นความเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์
มองว่าสงครามปีหน้าคงไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ก็ยังต้องติดตามทรัมป์ที่ต้องการจะยุติสงครามด้วยว่าจะลงมือทำจริงจังแค่ไหน รวมทั้งประเด็นการคว่ำบาตรอิหร่านด้วย
แต่ที่แน่ ๆ มาตรการป้องกันประเทศต่าง ๆ จะเข้มข้นมากขึ้น จากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งคนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ สหรัฐฯ ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าสงคราม
สรุปแล้วความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มองได้ทั้งมุมที่เป็นประโยชน์ และมุมที่น่ากังวลในเวลาเดียวกัน
- คำแนะนำการลงทุนในปี 2025
การมาของทรัมป์ เท่ากับ ความผันผวนที่มากขึ้น
ดังนั้น การลงทุนในช่วงเวลานี้ จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง ซึ่งไม่ใช่แค่การกระจายในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ แต่ในแต่ละสินทรัพย์ก็ควรกระจายด้วยเช่นกัน
เช่น หุ้นในตอนนี้ อาจจะมองว่า Valuation อยู่ในโซนแพง แต่จริง ๆ สิ่งนี้จะมาพร้อมกับ Fundamental พื้นฐานของธุรกิจนั้น ๆ
แนะนำว่าควรมองหาหุ้นที่มี Fundamental ขนาดกลางหรือเล็ก เชื่อว่าจะมีโอกาสที่หุ้นสหรัฐฯ จะกลับมาขึ้นแบบกระจายตัวมากขึ้น ไม่ได้ขึ้นแบบกระจุกตัวเหมือนที่ผ่านมา
ตราสารทุน แนะนำหุ้นสหรัฐฯ หุ้นญี่ปุ่น แต่ไม่แนะนำหุ้นยุโรป
ตราสารหนี้ แนะนำหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพ เช่น Investment-grade Bond, High Yield Bond
ค่าเงิน แนะนำฟรังก์สวิส เยนญี่ปุ่น สินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ เช่น ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์ในสวิตเซอร์แลนด์
อย่างไรก็ตาม ควรติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา เพื่อปรับเปลี่ยนพอร์ตลงทุน พร้อมกระจายความเสี่ยงการลงทุนอย่างเหมาะสม
- ประเด็นความเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์
มองว่าสงครามปีหน้าคงไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ก็ยังต้องติดตามทรัมป์ที่ต้องการจะยุติสงครามด้วยว่าจะลงมือทำจริงจังแค่ไหน รวมทั้งประเด็นการคว่ำบาตรอิหร่านด้วย
แต่ที่แน่ ๆ มาตรการป้องกันประเทศต่าง ๆ จะเข้มข้นมากขึ้น จากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งคนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ สหรัฐฯ ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าสงคราม
สรุปแล้วความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มองได้ทั้งมุมที่เป็นประโยชน์ และมุมที่น่ากังวลในเวลาเดียวกัน
- คำแนะนำการลงทุนในปี 2025
การมาของทรัมป์ เท่ากับ ความผันผวนที่มากขึ้น
ดังนั้น การลงทุนในช่วงเวลานี้ จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง ซึ่งไม่ใช่แค่การกระจายในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ แต่ในแต่ละสินทรัพย์ก็ควรกระจายด้วยเช่นกัน
เช่น หุ้นในตอนนี้ อาจจะมองว่า Valuation อยู่ในโซนแพง แต่จริง ๆ สิ่งนี้จะมาพร้อมกับ Fundamental พื้นฐานของธุรกิจนั้น ๆ
แนะนำว่าควรมองหาหุ้นที่มี Fundamental ขนาดกลางหรือเล็ก เชื่อว่าจะมีโอกาสที่หุ้นสหรัฐฯ จะกลับมาขึ้นแบบกระจายตัวมากขึ้น ไม่ได้ขึ้นแบบกระจุกตัวเหมือนที่ผ่านมา
ตราสารทุน แนะนำหุ้นสหรัฐฯ หุ้นญี่ปุ่น แต่ไม่แนะนำหุ้นยุโรป
ตราสารหนี้ แนะนำหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพ เช่น Investment-grade Bond, High Yield Bond
ค่าเงิน แนะนำฟรังก์สวิส เยนญี่ปุ่น สินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ เช่น ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์ในสวิตเซอร์แลนด์
อย่างไรก็ตาม ควรติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา เพื่อปรับเปลี่ยนพอร์ตลงทุน พร้อมกระจายความเสี่ยงการลงทุนอย่างเหมาะสม
ช่วงที่ 2 Investment Opportunities and Strategies 2025 จาก 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนสำคัญ
- คุณวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์, CFA, รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย
มองว่า การลงทุนในปีหน้า สำหรับกลุ่ม AI และเทคโนโลยียังดีอยู่ แต่อาจจะไม่ได้โตแรงเหมือนปีที่ผ่านมา แต่จะมาในลักษณะการเติบโตแบบกระจายตัว ไม่ได้กระจุกตัวเหมือนเดิม
แนะนำการลงทุนในรูปแบบ Building a Resilience Portfolio เช่น
K-FIXEDPLUS เน้นลงทุนตราสารหนี้ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง
K-GSELECT เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่งทั่วโลก
K-PROPI เน้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กอง REIT ทั่วโลก
- คุณวีระพล บดีรัฐ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย
แนะนำแบ่งพอร์ตลงทุนเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Core และ Satellite
โดย Core สัดส่วน 70%
เน้นลงทุนระยะยาวผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาช่วยบริหารพอร์ตลงทุน
เช่น กลุ่ม Multi Asset ผ่านกองทุน K-WealthPLUS Series, K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-WPULTIMATE
ส่วน Satellite สัดส่วน 30%
เน้นจับจังหวะเข้าลงทุน สามารถบริหารการลงทุนได้ด้วยตนเอง
เช่น กลุ่ม Fixed Income ผ่านกองทุน K-GINCOME-A(A)*, K-FIXEDPLUS-A, K-FIXED-A
และ กลุ่ม Equity ผ่านกองทุน K-VIETNAM, K-GINFRA-A(D), K-HIT-A(A), K-GHEALTH, K-USA-A(A), K-GOLD-A(A)
- คุณสรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย
ประเมินว่าปี 2025 ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสอยู่ที่ 1,520 จุด พร้อมแนะนำการลงทุนหุ้นไทยควรคัดเลือกจากธุรกิจที่มีความสามารถในการควบคุมต้นทุนได้ดี เช่น
มองว่า การลงทุนในปีหน้า สำหรับกลุ่ม AI และเทคโนโลยียังดีอยู่ แต่อาจจะไม่ได้โตแรงเหมือนปีที่ผ่านมา แต่จะมาในลักษณะการเติบโตแบบกระจายตัว ไม่ได้กระจุกตัวเหมือนเดิม
แนะนำการลงทุนในรูปแบบ Building a Resilience Portfolio เช่น
K-FIXEDPLUS เน้นลงทุนตราสารหนี้ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง
K-GSELECT เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่งทั่วโลก
K-PROPI เน้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กอง REIT ทั่วโลก
- คุณวีระพล บดีรัฐ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย
แนะนำแบ่งพอร์ตลงทุนเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Core และ Satellite
โดย Core สัดส่วน 70%
เน้นลงทุนระยะยาวผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาช่วยบริหารพอร์ตลงทุน
เช่น กลุ่ม Multi Asset ผ่านกองทุน K-WealthPLUS Series, K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-WPULTIMATE
ส่วน Satellite สัดส่วน 30%
เน้นจับจังหวะเข้าลงทุน สามารถบริหารการลงทุนได้ด้วยตนเอง
เช่น กลุ่ม Fixed Income ผ่านกองทุน K-GINCOME-A(A)*, K-FIXEDPLUS-A, K-FIXED-A
และ กลุ่ม Equity ผ่านกองทุน K-VIETNAM, K-GINFRA-A(D), K-HIT-A(A), K-GHEALTH, K-USA-A(A), K-GOLD-A(A)
- คุณสรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย
ประเมินว่าปี 2025 ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสอยู่ที่ 1,520 จุด พร้อมแนะนำการลงทุนหุ้นไทยควรคัดเลือกจากธุรกิจที่มีความสามารถในการควบคุมต้นทุนได้ดี เช่น
TASCO ที่ได้รับประโยชน์จากดีมานด์ภาครัฐ และแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง
OSP ที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มต้นทุนก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบอื่น ๆ ลดลง
TIDLOR ที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
CPALL กลุ่มค้าปลีกที่เน้นขายอาหารเป็นหลัก จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าจีนจะเข้ามาแทนที่
PR9 ที่มีโอกาสเติบโตทั้งจาก Capacity และการรองรับผู้ป่วย OPD และ IPD
ถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่าทุกช่วงเวลาในโลกของการลงทุน มักจะมีช่องว่างที่เป็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าตัวเรามีความเข้าใจมากเพียงใด
หลังจากนี้ สัมมนาดี ๆ จาก เดอะวิสดอมกสิกรไทย ครั้งต่อไปจะเป็นเรื่องใด ก็น่าติดตามไม่น้อย..
Reference
- สัมมนา Wealth Forum Thailand 2025 : The New Frontiers of Investment Opportunity
OSP ที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มต้นทุนก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบอื่น ๆ ลดลง
TIDLOR ที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
CPALL กลุ่มค้าปลีกที่เน้นขายอาหารเป็นหลัก จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าจีนจะเข้ามาแทนที่
PR9 ที่มีโอกาสเติบโตทั้งจาก Capacity และการรองรับผู้ป่วย OPD และ IPD
ถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่าทุกช่วงเวลาในโลกของการลงทุน มักจะมีช่องว่างที่เป็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าตัวเรามีความเข้าใจมากเพียงใด
หลังจากนี้ สัมมนาดี ๆ จาก เดอะวิสดอมกสิกรไทย ครั้งต่อไปจะเป็นเรื่องใด ก็น่าติดตามไม่น้อย..
Reference
- สัมมนา Wealth Forum Thailand 2025 : The New Frontiers of Investment Opportunity