ROE คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] ROE (Return on Equity) เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสามารถในการทำกำไรของบริษัทต่อส่วนของผู้ถือหุ้น โดยคำนวณจากการนำกำไรสุทธิของบริษัท มาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งค่าที่เราได้นั้น จะออกมาในรูปของเปอร์เซ็นต์
ROE ย่อมาจาก Return on Equity เป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
โดยคำนวณจากการนำกำไรสุทธิของบริษัท มาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น หลังจากนั้นนำไปคูณกับ 100
ซึ่งค่าที่ได้นั้น จะอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์
โดยคำนวณจากการนำกำไรสุทธิของบริษัท มาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น หลังจากนั้นนำไปคูณกับ 100
ซึ่งค่าที่ได้นั้น จะอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์
โดย ROE จะเป็นการบอกว่าเงิน 100 บาทของผู้ถือหุ้น บริษัทสามารถนำไปสร้างกำไรได้กี่บาท
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัท A มีกำไร 100 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 500 ล้านบาท
จะได้ว่า บริษัท A จะมีค่า ROE = 100 / 500 = 20%
แปลง่าย ๆ ว่า บริษัท A ใช้ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท ในการสร้างกำไร 20 บาท
จะได้ว่า บริษัท A จะมีค่า ROE = 100 / 500 = 20%
แปลง่าย ๆ ว่า บริษัท A ใช้ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท ในการสร้างกำไร 20 บาท
โดยปกติแล้ว เรามักจะนำค่า ROE มาเปรียบเทียบกับค่า ROE ในอดีตของบริษัท
เพื่อดูแนวโน้มความสามารถในการทำกำไรของบริษัทว่า ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าที่ผ่านมาอย่างไร
เพื่อดูแนวโน้มความสามารถในการทำกำไรของบริษัทว่า ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าที่ผ่านมาอย่างไร
นอกจากนี้เรายังสามารถนำ ROE มาเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือค่าเฉลี่ย ROE ของทั้งอุตสาหกรรม เพื่อดูว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้มากกว่ากันอีกด้วย
ซึ่งจากสูตรก็จะสรุปได้ว่า
- บริษัทที่มีค่า ROE สูง แสดงว่า บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูง
- บริษัทที่มีค่า ROE ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต่ำ
- บริษัทที่มีค่า ROE ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต่ำ
ดังนั้น บริษัทที่ดีควรมีค่า ROE ที่สูง และมีการเติบโตของ ROE
เพราะว่า สะท้อนถึงการที่บริษัทนำเงินของผู้ถือหุ้น ไปลงทุนทำธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนได้สูง
เพราะว่า สะท้อนถึงการที่บริษัทนำเงินของผู้ถือหุ้น ไปลงทุนทำธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนได้สูง
อย่างไรก็ตาม มีข้อที่ควรระมัดระวังเช่นกัน เช่น
- ความสม่ำเสมอของกำไร
บริษัทควรมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ ถ้าหากบริษัทขาดทุนติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี แต่อยู่ ๆ บริษัทสามารถกลับมาทำกำไรจำนวนมากในปีนี้ ก็อาจจะทำให้ค่า ROE สูงเกินจริงได้เช่นกัน
บริษัทควรมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ ถ้าหากบริษัทขาดทุนติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี แต่อยู่ ๆ บริษัทสามารถกลับมาทำกำไรจำนวนมากในปีนี้ ก็อาจจะทำให้ค่า ROE สูงเกินจริงได้เช่นกัน
- กำไรจากรายการพิเศษ
ซึ่งโดยปกติแล้ว กำไรที่ว่ามักเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทออกไป, กำไรจากการขายบริษัทย่อย ซึ่งจะทำให้ค่า ROE สูงผิดปกติในปีที่มีกำไรพิเศษได้
ซึ่งโดยปกติแล้ว กำไรที่ว่ามักเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทออกไป, กำไรจากการขายบริษัทย่อย ซึ่งจะทำให้ค่า ROE สูงผิดปกติในปีที่มีกำไรพิเศษได้
- การสร้างหนี้ของบริษัท
ค่า ROE ที่สูงผิดปกติก็อาจมาจากกรณีที่บริษัทก่อหนี้สินจำนวนมาก มากกว่าพึ่งพาส่วนของผู้ถือหุ้น แปลว่าบริษัทต้องรับความเสี่ยงทางด้านการเงินมากขึ้นตามนั่นเอง
ค่า ROE ที่สูงผิดปกติก็อาจมาจากกรณีที่บริษัทก่อหนี้สินจำนวนมาก มากกว่าพึ่งพาส่วนของผู้ถือหุ้น แปลว่าบริษัทต้องรับความเสี่ยงทางด้านการเงินมากขึ้นตามนั่นเอง
สุดท้าย นอกจากการลงทุนในบริษัทที่มีค่า ROE ที่สูงแล้ว เราควรวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่มาเพิ่มเติม
รวมถึงการดูอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ประกอบ และต้องทำความเข้าใจในธุรกิจนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง..
รวมถึงการดูอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ประกอบ และต้องทำความเข้าใจในธุรกิจนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง..
Tag: ROE คืออะไร ?