“Contract Farming” สัญญาที่บริษัทใหญ่ ใช้กับเกษตรกร คืออะไร ?
“Contract Farming” สัญญาที่บริษัทใหญ่ ใช้กับเกษตรกร คืออะไร ? /โดย ลงทุนแมน
“ราคาผันผวน คุณภาพไม่ได้ ผลผลิตไม่พอ”
นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ของเกษตรกรไทย ที่ต้องเจอในแต่ละฤดูกาล
“ราคาผันผวน คุณภาพไม่ได้ ผลผลิตไม่พอ”
นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ของเกษตรกรไทย ที่ต้องเจอในแต่ละฤดูกาล
ธุรกิจในอุตสาหกรรมเกษตร จึงเลือกที่จะใช้วิธี Contract Farming กับเกษตรกร โดยการรับซื้อด้วยราคา และปริมาณผลผลิต “ที่แน่นอน”
เรื่องนี้ก็เหมือนจะดี ตรงที่เกษตรกรจะมีรายได้และตลาดที่แน่นอน แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ..
เพราะเกษตรกรที่เลือกใช้วิธีนี้ ก็อาจมีผลเสียได้เช่นเดียวกัน
Contract Farming คืออะไร ?
ข้อดีและข้อเสีย ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ข้อดีและข้อเสีย ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โดยทั่วไป เกษตรกร จะเป็นผู้แบกรับการลงทุนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าอาหารสัตว์
จากนั้นเมื่อได้ผลผลิต จึงค่อยนำมาขายให้กับคนที่อยากได้
แต่การผลิตแบบนี้ ทำให้เกษตรกรต้องเจอกับความเสี่ยงมากมาย ตัวอย่างเช่น
- ความเสี่ยงด้านราคา
เกษตรกรจะไม่รู้ราคาขายที่แน่นอน ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน หากในปีนั้นราคาผลผลิตตกต่ำ
เกษตรกรจะไม่รู้ราคาขายที่แน่นอน ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน หากในปีนั้นราคาผลผลิตตกต่ำ
- ความเสี่ยงด้านตลาด
หากในปีนั้น ตลาดมีความต้องการน้อยลง กลายเป็นว่าผลผลิตล้นตลาด และเกษตรกรเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องนำผลผลิตไปขายที่ไหน
หากในปีนั้น ตลาดมีความต้องการน้อยลง กลายเป็นว่าผลผลิตล้นตลาด และเกษตรกรเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องนำผลผลิตไปขายที่ไหน
- ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ
น้ำน้อย น้ำมาก แห้งแล้ง เป็นเรื่องธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ และทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมเสียหายได้
น้ำน้อย น้ำมาก แห้งแล้ง เป็นเรื่องธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ และทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมเสียหายได้
- ความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ
ในแต่ละปี ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนสูง เช่น
ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ทำให้เกษตรกรควบคุมต้นทุนการผลิตในแต่ละปีได้ยากมาก
ในแต่ละปี ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนสูง เช่น
ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ทำให้เกษตรกรควบคุมต้นทุนการผลิตในแต่ละปีได้ยากมาก
ในอีกฝั่ง ด้านคนที่อยากรับซื้อผลผลิต เช่น บริษัทแปรรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม ก็ไม่อยากที่จะรับความผันผวนของราคารับซื้อมากเกินไป
จึงเป็นที่มาของระบบ Contract Farming หรือเกษตรพันธสัญญา ซึ่งบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่ ตกลงกับเกษตรกรว่า จะรับซื้อในปริมาณและราคาผลผลิตที่แน่นอนไว้
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เกษตรกรทุกราย จะมีความพร้อมเหมือนกันหมด ทำให้ในปัจจุบัน ระบบซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า มีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน
รูปแบบแรกเลย คือ “ระบบประกันรายได้”
ระบบนี้จะเหมาะกับเกษตรกรรายย่อย ที่ไม่มีเงินทุนสูง เพราะบริษัทใหญ่จะเป็นผู้ลงทุนวัตถุดิบให้ทั้งหมด เกษตรกรมีหน้าที่แค่ผลิตและดูแลให้ก็พอ
การทำแบบนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการเช่าพื้นที่ฟาร์ม ซึ่งบริษัทใหญ่ลงทุนเองทั้งหมด รับความเสี่ยงส่วนใหญ่ไว้เอง และจ่ายเงินรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรด้วย
รูปแบบต่อมา คือ “ระบบประกันราคา”
ในระบบนี้ ต้องเป็นเกษตรกรที่มีเงินทุนอยู่บ้าง โดยบริษัทใหญ่จะจัดหาวัตถุดิบและขายให้เกษตรกร จากนั้นจึงจ่ายเงินส่วนต่างระหว่างราคารับซื้อและต้นทุน จึงได้รับการประกันราคาผลผลิตที่แน่นอน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวัตถุดิบมีราคาทั้งหมด 6,000 บาท และบริษัทใหญ่รับซื้อจากเกษตรกรทั้งหมด 10,000 บาท
เท่ากับว่า เกษตรกรก็จะได้รับเงิน 4,000 บาทนั่นเอง
เท่ากับว่า เกษตรกรก็จะได้รับเงิน 4,000 บาทนั่นเอง
และรูปแบบสุดท้าย คือ “ระบบประกันตลาด”
ระบบนี้จะใช้กับเกษตรกรที่มีเงินทุน และมีความพร้อมสูง เพราะบริษัทใหญ่จะไม่จำเป็นต้องจัดหาวัตถุดิบให้แก่เกษตรกร แต่สามารถมารับซื้อผลผลิตหน้าฟาร์มกับเกษตรกรได้เลย
จึงเหมาะกับเกษตรกรรายใหญ่ ที่มีความพร้อมในทุกด้าน แต่ขาดเพียงแค่ตลาดในการรองรับผลผลิตเท่านั้น
จากทั้ง 3 รูปแบบของ Contract Farming จะเห็นได้ว่าเกษตรกรสามารถลดความเสี่ยงไปได้มาก โดยเฉพาะการหาตลาดและราคารับซื้อ
และข้อดีอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ เกษตรกรก็สามารถแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เทคนิคการผลิต การจัดการฟาร์มจากบริษัทใหญ่ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้นได้
ซึ่งในประเทศไทย ก็มีบริษัทจดทะเบียนเพื่อทำสัญญาเกษตรในระบบนี้มากกว่า 400 ราย กระจายทั้งในกลุ่มพืชสวน พืชไร่ ปศุสัตว์ หรือสัตว์น้ำ
ตัวอย่างก็เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ก็ใช้ระบบนี้ในการซื้อเนื้อสัตว์ล่วงหน้ากับเกษตรกรมากกว่า 5,900 รายเลยทีเดียว
แต่ระบบนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะหากราคาสินค้าเกษตรปรับขึ้นมากกว่าราคาในสัญญา เกษตรกรเองก็เสียโอกาสที่จะได้เงินเพิ่มเติมเช่นกัน
นอกจากนี้ เกษตรกรจำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้การผลิตได้มาตรฐาน ตามที่บริษัทใหญ่ต้องการ จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
โดยหากเป็นเกษตรกรรายเล็ก หรือผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ก็จะไม่มีโอกาสทำได้มากนัก ด้วยข้อจำกัดด้านเงินลงทุนและค่าเช่าที่ต้องจ่าย
อย่างไรก็ตาม Contract Farming ก็เป็นระบบที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายธุรกิจที่สามารถควบคุมต้นทุนอาหารผ่านราคาและคุณภาพรับซื้อ
และเกษตรกรก็ได้ตลาดรับซื้อและรายได้ที่แน่นอน เรียกได้ว่า ลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน เพราะไม่ต้องเจอปัญหาความผันผวนของราคารับซื้อ
แต่ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่เกษตรกรทุกคนที่จะเหมาะกับระบบนี้ เพราะจริง ๆ แล้ว ระบบนี้ก็มีความท้าทายซ่อนอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับเกษตรกรเองว่า จะเลือกวิธีไหน ที่เหมาะสมกับตนเอง..
References
-https://contractfarming.moac.go.th/v2/index.php?module=biz&view=html&handle=listb&menutop=biz
-https://repaythailand.com
-https://mgronline.com/business/detail/9650000007493
-https://qsds.go.th/wp-content/uploads/2020/09/1FileN.pdf
-http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/all/all60.pdf
-https://www.cpfworldwide.com/th/media-center/906
-https://contractfarming.moac.go.th/v2/index.php?module=biz&view=html&handle=listb&menutop=biz
-https://repaythailand.com
-https://mgronline.com/business/detail/9650000007493
-https://qsds.go.th/wp-content/uploads/2020/09/1FileN.pdf
-http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/all/all60.pdf
-https://www.cpfworldwide.com/th/media-center/906