เงิน USDT คืออะไร ? สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ
เงิน USDT คืออะไร ? สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ /โดย ลงทุนแมน
USDT เป็นคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin
การจะเข้าใจ USDT ต้องเข้าใจคำว่า Stablecoin ก่อน
USDT เป็นคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin
การจะเข้าใจ USDT ต้องเข้าใจคำว่า Stablecoin ก่อน
Stablecoin ถูกผู้สร้างออกแบบให้เป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าคงที่ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อ้างอิง โดยส่วนใหญ่แล้วจะอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างเช่น เหรียญ USDT ที่ผู้สร้างอยากให้มีราคาเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ อยู่เสมอ
โดยปกติแล้ว คริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ เช่น Bitcoin ราคาของมันผันผวนรุนแรงเกินไป จึงทำให้มี Stablecoin เกิดขึ้นมา ซึ่งคนที่สร้างเหรียญประเภทนี้ ต้องการให้มันเป็นเหรียญที่มีมูลค่าค่อนข้างคงที่
ด้วยราคาที่ไม่ค่อยผันผวน จึงเป็นที่นิยมไว้เพื่อพักเงิน ในช่วงที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีกำลังปรับฐานหรืออยู่ในช่วงขาลง
รวมถึงเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนสาย Conservative ใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi หรือเรียกกันว่าการฟาร์ม
รวมถึงเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนสาย Conservative ใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi หรือเรียกกันว่าการฟาร์ม
ซึ่งหลัก ๆ Stablecoin มี 3 ประเภท
1. Fiat-Backed Stablecoin คือ คริปโทเคอร์เรนซีที่ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1
ตามหลักการ คริปโทเคอร์เรนซีประเภทนี้จะถูกผลิตขึ้น เมื่อเรานำเงิน Fiat อย่างเงินบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ ไปล็อกกับตัวกลางที่ทำหน้าที่ผลิตคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ๆ ออกมา
เช่น หากนำเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปล็อกไว้กับบริษัท Tether เพื่อสร้าง USDT
หรือหากไปล็อกกับบริษัท Centre ก็จะได้เป็น USDC ออกมานั่นเอง
หรือหากไปล็อกกับบริษัท Centre ก็จะได้เป็น USDC ออกมานั่นเอง
Stablecoin ประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด
แต่มีข้อน่ากังวลอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่สร้างเหรียญพวกนี้ขึ้นมา มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
แต่มีข้อน่ากังวลอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่สร้างเหรียญพวกนี้ขึ้นมา มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
เพราะต้องไม่ลืมว่า หากบริษัทนำเงินที่ควรจะเก็บกลับไปใช้ทำอย่างอื่น เช่น ปล่อยกู้ต่อ หรือซื้อตราสารหนี้เอกชน นั่นก็ถือว่า Stablecoin ไม่ได้ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1 แล้ว
อย่าง USDT ที่ออกโดย Tether ก็มีความกังวลด้านความโปร่งใสเกี่ยวกับเงินที่นำมาสำรอง เพราะจากข้อมูลที่เปิดเผย ณ ไตรมาส 2 ปี 2024 สินทรัพย์ที่หนุน USDT ประกอบไปด้วย
-เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 84.24%
(ซึ่งในจำนวนนี้เป็น ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ 81.13%, กองทุน Money Market 6.37%, เงินสดและเงินฝากธนาคาร เพียง 0.11%)
(ซึ่งในจำนวนนี้เป็น ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ 81.13%, กองทุน Money Market 6.37%, เงินสดและเงินฝากธนาคาร เพียง 0.11%)
-สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 5.55%
-Bitcoin 4.00%
-โลหะมีค่า 3.22%
-หุ้นกู้ 0.01%
-การลงทุนอื่น ๆ 2.98%
-Bitcoin 4.00%
-โลหะมีค่า 3.22%
-หุ้นกู้ 0.01%
-การลงทุนอื่น ๆ 2.98%
จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเงินที่สำรองส่วนใหญ่ คือ ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ และทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น สินเชื่อ รวมถึง Bitcoin
ในขณะที่เงินสดและเงินฝากธนาคาร ที่ถืออยู่จริง ๆ มีสัดส่วนน้อยมาก
ในขณะที่เงินสดและเงินฝากธนาคาร ที่ถืออยู่จริง ๆ มีสัดส่วนน้อยมาก
หรือก็คือ บริษัทได้นำเงินที่หนุนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ปัจจุบัน Stablecoin กลุ่มนี้ยังไม่เจอปัญหาการขาดความเชื่อมั่น จึงยังสามารถครองใจนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดได้อยู่
2. Crypto-Backed Stablecoin คือ Stablecoin ที่ค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซี
Stablecoin ประเภทนี้สามารถทำได้ด้วยการเอาคริปโทเคอร์เรนซีทั่วไป เช่น BTC, ETH ไปวางค้ำประกัน เพื่อแลกเหรียญแทนได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเงิน Fiat อีกต่อไป
เรียกได้ว่าเป็น Stablecoin ของโลกคริปโทเคอร์เรนซีอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ราคาของคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละสกุลนั้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง
นั่นทำให้เกิดข้อเสียคือ การวางเงินค้ำประกันจำเป็นต้องใช้จำนวนเงินที่สูงกว่าเงินที่จะได้รับ
นั่นทำให้เกิดข้อเสียคือ การวางเงินค้ำประกันจำเป็นต้องใช้จำนวนเงินที่สูงกว่าเงินที่จะได้รับ
เช่น หากอยากได้ Dai ที่เป็น Stablecoin มูลค่ารวม 100 ดอลลาร์สหรัฐ จากโปรเจกต์ MakerDAO เราจะต้องนำคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ เช่น Ether มาวางค้ำประกันที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อเสียอีกอย่างที่ตามมา จากการใช้คริปโทเคอร์เรนซีวางค้ำประกัน คือ การโดนยึดเงินค้ำประกัน
หากมูลค่าเหรียญที่วางค้ำประกันนั้นต่ำกว่ามูลค่าหรือเกณฑ์ที่ระบบกำหนด
หากมูลค่าเหรียญที่วางค้ำประกันนั้นต่ำกว่ามูลค่าหรือเกณฑ์ที่ระบบกำหนด
ซึ่งถ้าเราไม่อยากโดนยึดเงินค้ำประกัน จะต้องวางเงินค้ำประกันเพิ่ม หรืออาจคืนเงินบางส่วนแทนก็ได้
จากข้อมูลนี้จะสังเกตได้ว่า Stablecoin ทุกเหรียญประเภทนี้ถูกค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซีจริง ส่งผลให้มีความโปร่งใส แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องการวางเงินค้ำประกันที่สูงเกินไป
3. Algorithmic Stablecoin คือ Stablecoin ที่ไม่ได้อิงมูลค่ากับสินทรัพย์ใด ๆ แต่จะควบคุมโดยอัลกอริทึม ด้วยการใช้กลไกเพิ่มและลดเหรียญตามความต้องการใช้งาน เพื่อให้ราคาคงที่
เช่น UST ที่้เคยเป็นประเด็นใหญ่ในปีก่อน ๆ..
โดย UST เป็น Algorithmic Stablecoin ของ Terra Blockchain ที่เกิดจากการนำ LUNA เหรียญที่ผันผวนเหมือนเหรียญทั่วไป มา Burn หรือทำลายลง เพื่อผลิต UST ขึ้นมาแทน
โดย UST เป็น Algorithmic Stablecoin ของ Terra Blockchain ที่เกิดจากการนำ LUNA เหรียญที่ผันผวนเหมือนเหรียญทั่วไป มา Burn หรือทำลายลง เพื่อผลิต UST ขึ้นมาแทน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้า UST มีราคาเกินกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีคนมาทำอาร์บิทราจ ด้วยการ Burn เหรียญ LUNA ทิ้ง เพื่อเอา UST มาเทขายในตลาด
ในทางกลับกัน หาก UST ราคาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะมีคน Burn เหรียญ UST เพื่อเอา LUNA กลับคืนมา ซึ่งเป็นการลดจำนวนเหรียญ UST ลง ให้ราคาดีดกลับมาที่เดิม
ข้อเสียของ Stablecoin กลุ่มนี้คือ มักมีปัญหาด้านราคาผันผวน หากแพลตฟอร์มที่ปล่อยเหรียญมีระบบไม่แข็งแกร่งพอ และมีผู้ต้องการใช้งานเหรียญจำนวนมากพร้อม ๆ กัน
รวมถึงอาจผู้ไม่ประสงค์ดี เห็นช่องโหว่ด้านสภาพคล่อง แล้วเข้าโจมตีระบบ
Stablecoin กลุ่มนี้ ก็จะไม่สามารถรักษาความเสถียรของมูลค่าเอาไว้ได้
Stablecoin กลุ่มนี้ ก็จะไม่สามารถรักษาความเสถียรของมูลค่าเอาไว้ได้
เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ LUNA และ UST มาแล้ว..
ที่ทำให้ UST พังทลายลง จากเดิมที่ควรอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ร่วงไปเหลือ 0.02 ดอลลาร์สหรัฐ
ที่ทำให้ UST พังทลายลง จากเดิมที่ควรอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ร่วงไปเหลือ 0.02 ดอลลาร์สหรัฐ
ในขณะที่ LUNA ก็แทบไม่เหลือมูลค่าอะไรเลย
ส่วน Terra Blockchain ก็ยื่นล้มละลายไป
ส่วน Terra Blockchain ก็ยื่นล้มละลายไป
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้เห็นได้ว่า การบริหารความเสี่ยงที่ดี คงไม่ใช่แค่การถือ Stablecoin เหรียญใดเหรียญหนึ่งเท่านั้น เพราะจะเห็นได้ว่า Stablecoin แต่ละสกุลจะมีจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป
การกระจายการถือ Stablecoin ในหลายเหรียญ อาจเป็นทางเลือกที่สามารถลดความเสี่ยงจากการที่เหรียญใดเหรียญหนึ่งประสบปัญหาได้ เพราะเราต้องคิดไว้เสมอว่าเหรียญ Stablecoin ที่คนสร้างคาดหวังให้มันเป็นเหรียญคงที่
แต่สิ่งที่เราคิดว่า Stable
มันอาจจะไม่ Stable เสมอไป..
มันอาจจะไม่ Stable เสมอไป..