ต้นทุนจม คืออะไร ? ทำไม คนทำธุรกิจ ต้องระวัง

ต้นทุนจม คืออะไร ? ทำไม คนทำธุรกิจ ต้องระวัง

ต้นทุนจม คืออะไร ? ทำไม คนทำธุรกิจ ต้องระวัง /โดย ลงทุนแมน
พูดถึงเรื่องต้นทุนการทำธุรกิจ หลายคนอาจนึกถึงพวก ค่าวัตถุดิบ ค่าเช่า ค่าเงินเดือนพนักงาน ฯลฯ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ยังมีต้นทุนที่หลายคนมักมองข้ามไป ซึ่งหลาย ๆ ครั้งสร้างความเสียหายให้ธุรกิจได้มหาศาล นั่นคือ “ต้นทุนจม” หรือ “Sunk Cost”
ต้นทุนจมคืออะไร ?
ทำไม คนทำธุรกิจถึงต้องระวัง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
อธิบายคอนเซปต์ของต้นทุนจมอย่างง่าย ๆ ผ่านการทำธุรกิจร้านขายน้ำผลไม้

นาย A ต้องการเปิดร้านขายน้ำผลไม้เล็ก ๆ จึงตกลงทำสัญญาเช่าพื้นที่เดือนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 3 เดือน
หลังจากขายไปได้ 1 เดือน ปรากฏว่า ยอดขายไม่ดีอย่างที่คิด จนนาย A มีความคิดที่จะปิดร้าน
ซึ่งค่าเช่า 2 เดือนที่เหลือ คิดเป็นเงิน 2,000 บาท ที่นาย A จ่ายเงินไปแล้วนี้เอง ถือเป็นต้นทุนจม ที่ไม่ว่านาย A จะตัดสินใจขายต่อไป หรือปิดร้าน ก็ไม่สามารถเรียกคืนมาได้
หรืออีกกรณีหนึ่ง สมมติเราใช้จ่ายค่าโฆษณาไป 10,000 บาท เพื่อกระตุ้นยอดขายในอนาคต แม้ว่ายอดขายจะเป็นตามที่เราหวัง หรือไม่เป็นอย่างที่หวัง เงิน 10,000 บาท ที่เสียไปนั้น ก็ถือเป็นต้นทุนจมเช่นกัน
ซึ่งถ้าสรุปง่าย ๆ ต้นทุนจมก็คือ ค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจจ่ายออกไปแล้ว และไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ไม่ว่าจะตัดสินใจดำเนินการต่อ หรือยกเลิกโครงการและกิจกรรมนั้น ๆ
แล้วจุดไหนของธุรกิจ มีความเสี่ยงกลายเป็นต้นทุนจม อีกบ้าง ?
ต้นทุนจมที่ธุรกิจต้องระวัง ตัวอย่างเช่น
- สินค้าคงเหลือ
สำหรับธุรกิจที่ต้องมีการสต๊อกสินค้า รวมถึงวัตถุดิบในการผลิตสินค้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ร้านค้าปลีก หรือร้านอาหาร ซึ่งรวมถึงสินค้าเทคโนโลยี ที่มักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สินค้าคงเหลือเหล่านี้ หากหมดอายุ ไม่สามารถนำไปหาประโยชน์ได้ หรือขายออกไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นต้นทุนจมของธุรกิจในที่สุด
ดังนั้น บริษัทก็จะต้องวางแผนให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในลักษณะนี้ที่อาจทำให้มีต้นทุนจมเกิดขึ้น เพราะต้นทุนตรงนี้ สามารถทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง
หรือทำให้ธุรกิจที่มีกำไรดี พลิกมาเป็นขาดทุนได้เลย..
- ลูกหนี้การค้า
ปกติแล้ว การทำธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม มักจะมีการให้เครดิตเวลา ในการขายสินค้าหรือบริการ
ซึ่งลูกค้าที่ได้รับสินค้าหรือบริการไปแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ก็จะมีสถานะเป็นลูกหนี้การค้าของบริษัท
อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้เหล่านั้น ผิดนัดชำระหนี้ และไม่ว่าทางใด บริษัทไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
สุดท้าย กลายเป็นหนี้สูญ ซึ่งเป็นต้นทุนจมในที่สุด
เพราะบริษัทมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าหรือให้บริการลูกค้าไปแล้วนั่นเอง
ดังนั้นในกรณีของลูกหนี้ รวมถึงการที่บริษัทมีการปล่อยกู้แก่ผู้อื่น แล้วถูกเบี้ยวหนี้ ไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ กลายเป็นหนี้สูญ ก็เป็นต้นทุนจม ด้วยเช่นเดียวกัน
- เงินลงทุน
หากบริษัท มีการนำเงินเข้าไปลงทุนในโครงการใหม่ ๆ
แต่บริษัทไม่สามารถเรียกคืนเงินลงทุน หรือหาประโยชน์จากโครงการนั้นได้อีก
เพราะว่าโครงการนั้น ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท หรือมีแนวโน้มที่จะขาดทุนแน่ ๆ ถ้าฝืนทำต่อไป
เงินลงทุนที่บริษัทจ่ายไปนั้น ก็จะถือเป็นต้นทุนจมนั่นเอง
ซึ่งในกรณีของเงินลงทุนนั้น รวมถึงการทำ R&D ลิขสิทธิ์ และสัมปทาน ที่ล้มเหลวด้วย ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ ก็มีความเสี่ยงทางธุรกิจ ที่อาจนำไปสู่ต้นทุนจมได้เช่นกัน
ซึ่งต้นทุนจมในการลงทุนโครงการต่าง ๆ มีความน่ากลัว
เพราะมักเป็นเงินลงทุนก้อนใหม่ และมักมีการวางแผนมาอย่างดี
ทำให้ตอนเริ่มลงทุนไปแล้ว แม้ต่อมาจะได้ข้อมูลใหม่ว่า โครงการไม่เวิร์ก และเสี่ยงขาดทุน ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
คนลงทุนก็ยังฝืนทำหรือลงทุนต่อไปไม่รู้จบ เพราะรู้สึกยึดติดกับโครงการนั้น ๆ และเสียดายเงินที่ลงทุนไปแล้ว
ซึ่งจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมบาดแผลให้ลึกขึ้นอีก..
ในทางที่ดี คนทำธุรกิจ คนทำโครงการ ควรประเมินสถานการณ์ด้วยเหตุผลเชิงธุรกิจ ลดอคติจากต้นทุนจมลงให้ได้มากที่สุด
และคำนึงถึงค่าเสียโอกาส
ว่าถ้าเราเอาเวลาและทรัพยากรที่เหลืออยู่ หรือยังไม่ได้ใช้ไปกับโครงการนี้
แล้วไปทำอย่างอื่นแทน อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทำกำไรได้มากกว่า
มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงเห็นแล้วว่า จุดไหนบ้างของธุรกิจ มีความเสี่ยงเป็นต้นทุนจม
ต้องบอกว่า ทั้งสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้า ไปจนถึงเงินลงทุน เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยต้นทุนจมสามารถเกิดขึ้นในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน ซึ่งบางครั้งอาจมีความจำเป็น หรือหลีกเลี่ยงได้ยาก
รวมถึงยังมีเรื่องของสภาพจิตใจ อคติ หรือจิตวิทยา ที่แฝงเข้ามาอยู่กับต้นทุนจมเหล่านี้ด้วย
โดยผู้บริหาร หรือคนทำธุรกิจ ก็ต้องตระหนักและวางแผนให้ดี รวมถึงประเมินความสมเหตุสมผลทางธุรกิจ
เพื่อให้ต้นทุนจมเหล่านี้ มีน้อยที่สุด
และไม่ควรนำต้นทุนจม มาใช้พิจารณาการตัดสินใจในอนาคต
เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจทั้งหมด ต้องจมลงไปด้วย..
—-----------------------------------------
ต่อยอดความมั่งคั่ง พร้อมการเดินทางเหนือระดับ
รับฟรี ของขวัญสุดพิเศษมูลค่าสูงสุด 29,900 บาท เพียงมียอดลงทุนในกองทุนรวมที่ร่วมรายการ และ/หรือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป และ/หรือ Structured Fund ตามยอดรวมที่ธนาคารกำหนด
รับเพิ่ม ตั๋วเครื่องบินชั้น Business Class ของการบินไทย ไป-กลับ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง สูงสุด 2 ที่นั่ง มูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาท เมื่อมียอดลงทุนในกองทุนรวมที่ร่วมรายการ และ/หรือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป และ/หรือ Structured Fund ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และ ฝากเงินเพิ่มกับบัญชี ทีทีบี เงินฝากประจำพลัส 12 เดือน ตั้งแต่ 80 ล้านบาทขึ้นไป รับของขวัญและตั๋วเครื่องบินตามยอดรวมที่ธนาคารกำหนด ภายในวันที่ 17 มิ.ย. - 31 ส.ค. 67
?? ดูรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม คลิก https://www.ttbbank.com/link/fb/mftdbooster
✨ พิเศษ รับสิทธิ์สมัครบัตรเครดิต ttb reserve เมื่อมียอดรวมผลิตภัณฑ์เงินฝาก เงินลงทุน ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมรับฟรี คะแนนสะสมประจำปีสูงสุด 180,000 คะแนน เมื่อมียอดรวมทุกผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด
ใช้เท่าที่จำเป็น และชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% - 16% ต่อปี
ลงทุนง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch คลิก https://www.ttbbank.com//ttb/touch/mf
? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
—-----------------------------------------
Reference
-https://www.investopedia.com/terms/s/sunkcost.asp

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon