จับประเด็นสำคัญ 2025 “ตลาดหุ้นผู้ชนะของโลก” อยู่ที่ไหน ?
K Wealth x ลงทุนแมน
ตลอดปีที่ผ่านมา มีสินทรัพย์ทางการเงินหลายประเภทที่สร้างผลตอบแทนได้ดีจนทำสถิติสูงสุดใหม่
เช่น หุ้นสหรัฐอเมริกา และทองคำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสินทรัพย์อีกหลายประเภทที่ให้ผลตอบแทนติดลบ
เช่น หุ้นสหรัฐอเมริกา และทองคำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสินทรัพย์อีกหลายประเภทที่ให้ผลตอบแทนติดลบ
เลยนำมาสู่คำถามที่ทุกคนน่าจะอยากรู้คือ
แล้วปี 2025 “ตลาดหุ้นผู้ชนะของโลก” อยู่ที่ไหน ?
แล้วปี 2025 “ตลาดหุ้นผู้ชนะของโลก” อยู่ที่ไหน ?
วันนี้ลงทุนแมนจะมาเจาะลึกมุมมองการลงทุนปี 2025 ครบทุกมิติ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ และกองทุนเฮดจ์ฟันด์
พร้อมวิเคราะห์ความน่าสนใจกับผู้เชี่ยวชาญ คุณศิริพร สุวรรณการ, CFA, CFP® Senior Managing Director, Financial Advisory Head จาก KBank Private Banking ครบจบในที่เดียว
พร้อมวิเคราะห์ความน่าสนใจกับผู้เชี่ยวชาญ คุณศิริพร สุวรรณการ, CFA, CFP® Senior Managing Director, Financial Advisory Head จาก KBank Private Banking ครบจบในที่เดียว
“สหรัฐอเมริกา : ยังคงเป็น Top Performer”
- ปีหน้าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะเป็น “High-Octane Economy” หรือเศรษฐกิจที่มีความเคลื่อนไหวโดดเด่น และน่าตื่นเต้น โดยจะเป็นจุดสนใจสำคัญตลอดปี 2025 และแทบไม่มีประเทศใดที่สามารถแข่งขันในระดับเดียวกับสหรัฐอเมริกาได้
- ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จะลดลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตแบบ Soft Landing ที่ประมาณ 2% กว่า ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับนักลงทุน มากกว่าการเติบโตอย่างร้อนแรงที่อาจนำไปสู่เงินเฟ้อ และผลกระทบทางเศรษฐกิจในภายหลัง
- เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงทำงานได้ดีต่อเนื่อง ทั้งในภาคการบริโภคที่ได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และการเติบโตของค่าจ้าง รวมถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายของทรัมป์ ซึ่งช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับ SME ตลอดจนการลงทุนในเทคโนโลยี R&D และ AI โดยบริษัทต่าง ๆ
- นโยบายของทรัมป์ช่วยกระตุ้นทั้งการบริโภคของประชาชนที่มีความมั่นใจในการใช้จ่ายมากขึ้น และการลงทุนของนักธุรกิจผ่านการลดกฎระเบียบ เช่น แนวทาง One-In-Two-Out
- ควรระวังความเป็นผู้นำที่คาดเดาได้ยากของทรัมป์ รวมถึงผลกระทบจากนโยบาย Protectionism ที่อาจกระตุ้นให้ประเทศอื่นตอบโต้หรือดำเนินมาตรการตอบสนองเชิงลบ
“จีน : ยังมีปัญหาความเชื่อมั่น”
- ทางการจีนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุด ด้วยงบประมาณมหาศาล โดยเป้าหมายหลักคือการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ แต่ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนได้ แม้มาตรการจะดูได้ผลในช่วงแรก แต่เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะซบเซาอีกครั้ง
- คนจีนยังมีเงิน แต่ไม่กล้าใช้จ่าย สะท้อนจากอัตราการออมที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากภาคอสังหาริมทรัพย์ หากประชาชนยังไม่มั่นใจว่า Wealth Effect จะฟื้นกลับมา มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็อาจไม่ได้ผลตามเป้าหมาย
- เศรษฐกิจจีนยังพึ่งพาภาคการผลิตเป็นเครื่องจักรสำคัญ แต่นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาอาจทำให้ GDP ของจีนลดลง 0.5-1% หากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาลดลง จีนจำเป็นต้องหาตลาดส่งออกใหม่ เช่น ประเทศในเอเชีย รวมถึงไทย
- การเพิ่มการส่งออกมายังประเทศอื่น อาจกระทบผู้ผลิตในประเทศเหล่านั้น เนื่องจากสินค้าจากจีนมีต้นทุนต่ำ ทำให้บางประเทศอาจตั้งกำแพงภาษีตอบโต้ ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของจีนในตลาดส่งออกโลกลดลง
- การที่ทรัมป์พุ่งเป้ามาที่จีนจะกดดันค่าเงินหยวน และอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางจีน รวมถึงมาตรการลดสัดส่วนกันสำรอง (Reserve Requirement Ratio) ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง
- GDP ของจีนมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่า 5% ในปีนี้และปีหน้า คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังคงมีต่อเนื่องอีกหลายปี เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมายาวนาน
- ไม่แนะนำการลงทุนในจีนโดยตรง แต่ควรลงทุนผ่านตลาดในภูมิภาคเอเชีย เช่น หุ้น และตราสารหนี้ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า และมีโอกาสการเติบโตที่ดีกว่า
“ยุโรป : แนวโน้มเศรษฐกิจซึมยาว”
- เศรษฐกิจยุโรปอยู่ในภาวะซบเซาแบบ 3L : เติบโตต่ำ (Low Growth), เงินเฟ้อต่ำ (Low Inflation) และดอกเบี้ยต่ำ (Low Rate)
- ในระยะสั้น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหลายประเทศมีหนี้สาธารณะสูง ประกอบกับความไม่เสถียรทางการเมือง
- ระยะยาว บริษัทยุโรปเผชิญปัญหาด้านความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการลงทุนในนวัตกรรมและ R&D อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดที่ทรัมป์กำหนด ห้ามพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาส่งสินค้าไฮเทคให้จีน
- คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้ และปีหน้าจะเติบโตเพียง 1% ขณะที่นโยบายลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปอาจไม่ได้ผลมากนัก หากประชาชน นักธุรกิจ และนักลงทุนยังไม่กล้าใช้จ่าย
- แม้ผลประกอบการของหลายบริษัท และตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมจะยังคงดูดีในบางส่วน เพราะมีรายได้จากทั่วโลก แต่ตลาดหุ้นอยู่ในโหมด Risk-On ด้วยปัจจัยลบหลายด้าน และขาดแรงกระตุ้นในระยะสั้น การลงทุนในยุโรปยังเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
“ตลาดเกิดใหม่ เน้นภูมิภาคเอเชีย”
- ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียยังคงมีความน่าสนใจ ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และความใกล้ชิดที่ช่วยให้เข้าใจบริบทและผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ง่ายกว่า
- เวียดนามถือเป็นจุดเด่น เนื่องจากได้ประโยชน์จากการที่สินค้าจีนต้องเผชิญภาษีสูงในสหรัฐอเมริกา และยังเป็นฐานการผลิตทดแทนจีน ด้วยข้อได้เปรียบด้านทำเลและค่าแรงที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม ควรจับตาความเสี่ยง หากเวียดนามเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามากเกินไป อาจกลายเป็นเป้าหมายของสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน
- อีกประเทศที่น่าจับตามองคืออินเดีย แม้ศักยภาพระยะยาวจะสูง และได้รับผลกระทบน้อยจากนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ลงทุน เนื่องจาก Valuation อยู่ในระดับสูง
“ตราสารหนี้ไทย และเอเชีย ควรมีติดพอร์ต”
- ปี 2025 เป็นปีที่เหมาะกับการลงทุนในตราสารหนี้ที่มี Coupon Rate (อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว) สูง โดยแนะนำให้นักลงทุนล็อกอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนี้ไว้ เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ขาลง
- ตราสารหนี้ไทยน่าสนใจจากปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจ และมีตัวเลือกหุ้นกู้ที่หลากหลาย แนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนรวม เนื่องจากมีผู้จัดการกองทุนช่วยคัดสรรคุณภาพ และราคาได้ดีกว่า
- ตราสารหนี้เอเชียก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ด้วย Yield ที่สูงกว่าตราสารหนี้ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่อัตรา Default Rate ลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ตราสารหนี้ High Yield ในเอเชีย มี Default Rate เพียง 1.5% ซึ่งต่ำมาก
- แนะนำลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ทั้ง High Yield และ Investment Grade เนื่องจากมีอายุเฉลี่ยสั้น Coupon Rate สูง และมี Buffer รองรับความเสี่ยง ส่วนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวไม่แนะนำ เพราะอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายดอกเบี้ย
- คาดว่า Fed และธนาคารกลางทั่วโลก (ยกเว้นธนาคารกลางญี่ปุ่น) จะมีทิศทางลดดอกเบี้ย สิ่งที่ต้องจับตาไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamentals) แต่เป็น Sentiment ของตลาดว่าตรงกับความคาดหวังของนักลงทุนหรือไม่
“ทองคำ : แนะนำทยอยสะสม”
- ทองคำยังคงน่าสนใจสำหรับการทยอยสะสม ด้วยปัจจัยหลายด้าน เช่น ปัญหาหนี้รัฐบาลทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ความเปราะบางของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การที่ธนาคารกลางหลายประเทศสะสมทองคำมากขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนจากภาวะสงคราม
- ในสหรัฐอเมริกาเอง หนี้สาธารณะสูงเป็นประวัติการณ์ (Debt to GDP อยู่ที่ 120%) ซึ่งอาจจำกัดความสามารถในการดำเนินนโยบายของทรัมป์
- สำหรับ Bitcoin ยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการ หากลูกค้าสนใจลงทุน ควรพิจารณาการกระจายพอร์ต และประเมินความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้
“Hedge Fund : ตัวเลือกที่น่าสนใจ”
- Hedge Fund เป็นกองทุนทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูง มีกลยุทธ์การลงทุนหลากหลาย และมีข้อจำกัดทางกฎหมายน้อยกว่ากองทุนรวมทั่วไป เหมาะสำหรับนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจลงทุน
- ปีหน้า Hedge Fund จะมีบทบาทมากขึ้น ทาง KBank Private Banking มี Hedge Fund หลากหลาย เช่น Hedge Fund ที่ Long เงินดอลลาร์สหรัฐ และ Short สกุลเงินอื่น
- Global Macro Hedge Fund ที่ลงทุนแบบ Active ในสินทรัพย์หลากหลาย จับจังหวะทำกำไรจากตลาดที่ผันผวนด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ และการเมือง
- Hedge Fund ที่ลงทุนใน Private Assets หรือบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหลายแห่งมีศักยภาพ และราคาน่าสนใจ
- แนะนำให้มีสัดส่วน Hedge Fund ประมาณ 15% ในพอร์ตลงทุน โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนใน Private Assets ซึ่งเป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพในระยะยาว
“กลยุทธ์กระจายการลงทุนแบบ Core & Satellite”
- กระจายการลงทุนด้วยกลยุทธ์ Core & Satellite โดยส่วน Core แนะนำลงทุนใน Global Balance Fund ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย ช่วยลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์เฉพาะหน้า เหมาะสำหรับนักลงทุนทั่วไป โดยแนะนำให้จัดสัดส่วน Core อยู่ที่ 50-80% ของพอร์ต
- สำหรับพอร์ต Satellite แนะนำลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีความโดดเด่นในฐานะ “Best in Class” ด้วยกำไรที่เติบโตดีอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปีหน้ากำไรจะเติบโต 13% และ ROE อยู่ที่ 19%
- แม้หุ้นสหรัฐอเมริกาจะมีแนวโน้มสดใส แต่ควรระวังเรื่อง Valuation ที่อยู่ในระดับสูง ส่วนอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจการเงิน ซึ่งมีโอกาสได้รับประโยชน์จากนโยบายของ Fed และนโยบายของพรรครีพับลิกัน
สามารถรับชมรายการ TALK ลงทุนแมน ปีหน้า “ตลาดหุ้นผู้ชนะของโลก” อยู่ที่ไหน จะมีดาวรุ่งมาแซงสหรัฐฯ ได้หรือไม่ ? ได้ที่ลิงก์ https://youtu.be/ecAppdQQuvM
Tag: K WEALTH