P/BV คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] P/BV หรือ Price/Book Value คือ อัตราส่วนราคาตลาดของหุ้น หารกับมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น เพื่อดูว่า ราคาหุ้น ณ เวลานั้นแพงหรือถูก เมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของส่วนของเจ้าของ
P/BV หรือ Price/Book Value คือ อัตราส่วนราคาตลาดของหุ้น หารกับมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
เพื่อดูว่า ราคาหุ้น ณ เวลานั้นแพงหรือถูก เมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของส่วนของเจ้าของ
โดย
- P คือ ราคาตลาดของหุ้น
- BV คือ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น หรือส่วนของผู้ถือหุ้นต่อหุ้น คำนวณได้จาก สินทรัพย์รวม หักด้วยหนี้สินรวม แล้วหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท
ยกตัวอย่าง บริษัท A มีหุ้นอยู่ 100 ล้านหุ้น มีราคาหุ้นอยู่ที่ 5 บาทต่อหุ้น
มีสินทรัพย์รวม 1,000 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 500 ล้านบาท เท่ากับว่า บริษัท A มีมูลค่าทางบัญชี 5 บาทต่อหุ้น
จะได้ว่า บริษัท A มี P/BV = 5/5 เท่ากับ 1 เท่า แปลว่า ราคาหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชี
ในอนาคต ถ้า P/BV เปลี่ยนไป จนน้อยกว่า 1 เท่า แปลว่า ราคาหุ้นถูกกว่ามูลค่าทางบัญชี
หรือถ้ามากกว่า 1 เท่า แปลว่า ราคาหุ้นแพงกว่ามูลค่าทางบัญชี
โดยหลักการทั่วไปสำหรับการดู P/BV ก็คือ
- ถ้า P/BV ยิ่งสูง หมายถึง หุ้นนั้นยิ่งแพง
- ถ้า P/BV ยิ่งต่ำ หมายถึง หุ้นนั้นยิ่งถูก
เพื่อดูว่า ราคาหุ้น ณ เวลานั้นแพงหรือถูก เมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของส่วนของเจ้าของ
โดย
- P คือ ราคาตลาดของหุ้น
- BV คือ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น หรือส่วนของผู้ถือหุ้นต่อหุ้น คำนวณได้จาก สินทรัพย์รวม หักด้วยหนี้สินรวม แล้วหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท
ยกตัวอย่าง บริษัท A มีหุ้นอยู่ 100 ล้านหุ้น มีราคาหุ้นอยู่ที่ 5 บาทต่อหุ้น
มีสินทรัพย์รวม 1,000 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 500 ล้านบาท เท่ากับว่า บริษัท A มีมูลค่าทางบัญชี 5 บาทต่อหุ้น
จะได้ว่า บริษัท A มี P/BV = 5/5 เท่ากับ 1 เท่า แปลว่า ราคาหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชี
ในอนาคต ถ้า P/BV เปลี่ยนไป จนน้อยกว่า 1 เท่า แปลว่า ราคาหุ้นถูกกว่ามูลค่าทางบัญชี
หรือถ้ามากกว่า 1 เท่า แปลว่า ราคาหุ้นแพงกว่ามูลค่าทางบัญชี
โดยหลักการทั่วไปสำหรับการดู P/BV ก็คือ
- ถ้า P/BV ยิ่งสูง หมายถึง หุ้นนั้นยิ่งแพง
- ถ้า P/BV ยิ่งต่ำ หมายถึง หุ้นนั้นยิ่งถูก
ซึ่งข้อดีของการใช้ P/BV หากเปรียบเทียบกับ P/E อัตราส่วนที่นิยมใช้ดูความถูกหรือแพงของหุ้นอีกตัวหนึ่ง
ก็คือ ส่วนของเจ้าของบริษัท หรือมูลค่าทางบัญชีที่นำมาคำนวณนั้นมีความผันผวนน้อย
ก็คือ ส่วนของเจ้าของบริษัท หรือมูลค่าทางบัญชีที่นำมาคำนวณนั้นมีความผันผวนน้อย
ในขณะที่ P/E มีตัวหารเป็นกำไรต่อหุ้น ซึ่งมีความผันผวนมากกว่า
และในบางกรณีที่กำไรต่อหุ้นติดลบ ก็จะส่งผลให้ P/E ที่คำนวณได้มีค่าติดลบไปด้วย ซึ่งไม่สามารถใช้คำนวณต่อไปได้
และในบางกรณีที่กำไรต่อหุ้นติดลบ ก็จะส่งผลให้ P/E ที่คำนวณได้มีค่าติดลบไปด้วย ซึ่งไม่สามารถใช้คำนวณต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม การนำ P/BV ไปใช้ก็ควรคำนึงถึงมูลค่าของกิจการที่สะท้อนมายังราคาหุ้นในปัจจุบัน
เช่น การที่หุ้นมี P/BV ต่ำ อาจเป็นผลมาจากการที่หุ้นนั้น ๆ อยู่ในอุตสาหกรรมที่อิ่มตัว หรือกำลังถดถอย
ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนให้ค่าหุ้นนั้นน้อย และสะท้อนมายัง P/BV ของหุ้นที่ต่ำนั่นเอง
หรืออย่างกรณีที่หุ้น P/BV สูง อาจเป็นเพราะว่า มูลค่าทางบัญชีไม่ได้สะท้อนศักยภาพของบริษัทที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ เช่น ความภักดีในตราสินค้าบริษัทของลูกค้า ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน เป็นต้น ทำให้หุ้นนั้นอาจมี P/BV ที่สูงได้เช่นกัน
เช่น การที่หุ้นมี P/BV ต่ำ อาจเป็นผลมาจากการที่หุ้นนั้น ๆ อยู่ในอุตสาหกรรมที่อิ่มตัว หรือกำลังถดถอย
ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนให้ค่าหุ้นนั้นน้อย และสะท้อนมายัง P/BV ของหุ้นที่ต่ำนั่นเอง
หรืออย่างกรณีที่หุ้น P/BV สูง อาจเป็นเพราะว่า มูลค่าทางบัญชีไม่ได้สะท้อนศักยภาพของบริษัทที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ เช่น ความภักดีในตราสินค้าบริษัทของลูกค้า ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน เป็นต้น ทำให้หุ้นนั้นอาจมี P/BV ที่สูงได้เช่นกัน
Tag: P/BV คืออะไร ?