Wage-price Spiral คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] Wage-price Spiral คือ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายความสัมพันธ์การเพิ่มขึ้นของค่าแรง ตามราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นไปในลักษณะวนเวียนไปเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังของเงินเฟ้อที่ยากจะแก้ไข
Wage-price Spiral คือ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายความสัมพันธ์การเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง ตามราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า เงินเฟ้อ
โดยเป็นผลมาจากการที่ค่าครองชีพหรือเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่บรรดาลูกจ้างยังคงได้รับค่าจ้างเท่าเดิม
แปลว่า อำนาจในการซื้อสินค้าและบริการของลูกจ้างลดลง
แปลว่า อำนาจในการซื้อสินค้าและบริการของลูกจ้างลดลง
ซึ่งเมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จนค่าจ้างที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
ทำให้ลูกจ้าง เรียกร้องให้นายจ้างปรับขึ้นค่าแรง เพื่อชดเชยอำนาจในการซื้อสินค้าที่ลดลง
ทำให้ลูกจ้าง เรียกร้องให้นายจ้างปรับขึ้นค่าแรง เพื่อชดเชยอำนาจในการซื้อสินค้าที่ลดลง
ในขณะที่ฝั่งของนายจ้าง เมื่อเจอกับการปรับตัวของค่าแรงที่สูงขึ้น เท่ากับว่า ต้นทุนของกิจการก็จะสูงขึ้น
ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น จนถึงจุดที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว หรือต้องการรักษาอัตรากำไรให้คงเดิม
ผู้ประกอบการก็จะผลักภาระต้นทุนไปให้กับผู้บริโภค ด้วยการปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น
เพื่อมาชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าที่ถูกปรับให้สูงขึ้น จากปัญหาต้นทุนค่าจ้างในธุรกิจ
ก็จะวกกลับมาลดทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคและแรงงานในระบบเศรษฐกิจ
ทำให้ลูกจ้างเรียกร้องให้มีการปรับเพิ่มค่าแรงขึ้นอีก
วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเป็นปัญหาเงินเฟ้อเรื้อรังที่ยากจะแก้ไข
สุดท้ายก็นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจในที่สุด
ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น จนถึงจุดที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว หรือต้องการรักษาอัตรากำไรให้คงเดิม
ผู้ประกอบการก็จะผลักภาระต้นทุนไปให้กับผู้บริโภค ด้วยการปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น
เพื่อมาชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าที่ถูกปรับให้สูงขึ้น จากปัญหาต้นทุนค่าจ้างในธุรกิจ
ก็จะวกกลับมาลดทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคและแรงงานในระบบเศรษฐกิจ
ทำให้ลูกจ้างเรียกร้องให้มีการปรับเพิ่มค่าแรงขึ้นอีก
วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเป็นปัญหาเงินเฟ้อเรื้อรังที่ยากจะแก้ไข
สุดท้ายก็นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจในที่สุด