ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] ดอกเบี้ยทบต้น หมายถึง ดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนที่คิดจากเงินต้น บวกกับดอกเบี้ยที่เราได้รับจากงวดก่อนหน้า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยกให้ “ดอกเบี้ยทบต้น” เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก
โดยบอกว่าคนที่เข้าใจมัน จะหาเงินจากมันได้ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจมัน จะต้องจ่ายเงินให้กับมัน
โดยบอกว่าคนที่เข้าใจมัน จะหาเงินจากมันได้ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจมัน จะต้องจ่ายเงินให้กับมัน
ยกตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย
หากเรานำเงิน 100,000 บาทไปลงทุน และได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
เราจะได้ดอกเบี้ยปีละ 1,500 บาทเท่ากันทุกปี
รวมดอกเบี้ย 10 ปี เท่ากับ 15,000 บาท
เราจะได้ดอกเบี้ยปีละ 1,500 บาทเท่ากันทุกปี
รวมดอกเบี้ย 10 ปี เท่ากับ 15,000 บาท
โดยตัวอย่างของ ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้, เงินปันผลที่ได้จากหุ้นหรือกองทุน
แบบที่สอง ถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบทบต้น
สิ้นปีที่ 1 ได้ดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 1 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 101,500 บาท
สิ้นปีที่ 1 ได้ดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 1 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 101,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 ได้ดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 2 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 103,022.5 บาท
สิ้นปีที่ 2 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 103,022.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 ได้ดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
สิ้นปีที่ 3 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 104,567.8 บาท
สิ้นปีที่ 3 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 104,567.8 บาท
และทบแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อสิ้นปีที่ 10 เงินต้นรวมดอกเบี้ยจะเป็น 116,054 บาท
นับเฉพาะดอกเบี้ยเท่ากับ 16,054 บาท เทียบกับแบบแรกที่ได้ 15,000 บาท
นับเฉพาะดอกเบี้ยเท่ากับ 16,054 บาท เทียบกับแบบแรกที่ได้ 15,000 บาท
โดยสูตรการคำนวณเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกเบี้ยต่อปี) ยกกำลังจำนวนปี
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกเบี้ยต่อปี) ยกกำลังจำนวนปี
โดยตัวอย่างของดอกเบี้ยแบบทบต้น คือเงินฝากออมทรัพย์
รวมถึงการลงทุนที่มีหลักการคล้ายกับดอกเบี้ยทบต้น เช่น
- การซื้อกองทุนรวมชนิดสะสมมูลค่า ซึ่งผลตอบแทนจะทบรวมเข้าไปในกองทุนเรื่อย ๆ แทนที่จะถูกจ่ายเป็นปันผลออกมา
- การนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ได้รับ ไปลงทุนต่อที่อัตราผลตอบแทนเท่าเดิม
- การนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ได้รับ ไปลงทุนต่อที่อัตราผลตอบแทนเท่าเดิม
นอกจากในด้านรายรับแล้ว พลังของดอกเบี้ยทบต้นก็ยังส่งผลต่อด้านรายจ่ายด้วยเช่นกัน
ซึ่งเราก็สามารถแบ่งได้ 2 แบบเหมือนเดิม
ซึ่งเราก็สามารถแบ่งได้ 2 แบบเหมือนเดิม
ยกตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเรามีหนี้ 100,000 บาท ถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี และเรายังไม่ได้จ่ายคืนเงินต้นเลย
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เราก็จะเสียดอกเบี้ย ปีละ 1,500 บาท เท่ากันทุกปี
เราก็จะเสียดอกเบี้ย ปีละ 1,500 บาท เท่ากันทุกปี
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยกู้ซื้อรถยนต์
แบบที่สอง คำนวณแบบดอกเบี้ยทบต้น
สิ้นปีที่ 1 เสียดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 เสียดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 เสียดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
สิ้นปีที่ 2 เสียดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 เสียดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต และดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน
อย่างที่ได้บอกไปว่าดอกเบี้ยแบบทบต้น จะคำนวณจากฐานเงินต้นใหม่เสมอ
นั่นแปลว่า ยิ่งเราจ่ายเงินต้นคืนช้าเท่าไร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งทวีคูณมากเท่านั้น
นั่นแปลว่า ยิ่งเราจ่ายเงินต้นคืนช้าเท่าไร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งทวีคูณมากเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราจ่ายเงินต้นคืนมาก ก็จะทำให้ฐานเงินต้นใหม่มีค่าน้อยลง และดอกเบี้ยก็จะน้อยลงตามไปด้วย