ดุลการชำระเงิน คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] ดุลการชำระเงิน คือ ผลสุทธิของรายรับและรายจ่าย จากการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ทั้งในภาคเศรษฐกิจจริง และภาคการเงิน ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศให้แข็งหรืออ่อนได้
ดุลการชำระเงิน อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือ รายรับของประเทศ หักด้วย รายจ่ายของประเทศ
โดยรายได้และรายจ่ายของแต่ละประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่สะท้อน ภาคเศรษฐกิจจริง
- ดุลบัญชีเงินทุน ที่สะท้อน ภาคการเงิน
- ดุลบัญชีเงินทุน ที่สะท้อน ภาคการเงิน
โดย “ดุลบัญชีเดินสะพัด” ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
1. ดุลการค้า คือ มูลค่าการส่งออกสินค้า หักด้วย มูลค่าการนำเข้าสินค้ารวมของประเทศ
การค้าที่ไทยส่งออก เช่น ส่งออกรถยนต์
การค้าที่ไทยนำเข้า เช่น นำเข้าน้ำมันดิบ
การค้าที่ไทยส่งออก เช่น ส่งออกรถยนต์
การค้าที่ไทยนำเข้า เช่น นำเข้าน้ำมันดิบ
2. ดุลบริการ คือ มูลค่าการส่งออกบริการ หักด้วย มูลค่าการนำเข้าบริการรวมของประเทศ
บริการที่ไทยส่งออก เช่น คนต่างชาติมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ส่วนรายจ่ายด้านการบริการ ก็เช่น รายจ่ายในการไปศึกษาในต่างประเทศของคนไทย
บริการที่ไทยส่งออก เช่น คนต่างชาติมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ส่วนรายจ่ายด้านการบริการ ก็เช่น รายจ่ายในการไปศึกษาในต่างประเทศของคนไทย
3. รายได้-รายจ่าย จากการทำงานและลงทุน
รายได้จากการทำงานและลงทุน เช่น คนไทยไปทำงานในต่างประเทศ หรือลงทุนในต่างประเทศแล้วได้รับผลตอบแทนมา จึงส่งเงินกลับมาไทย
รายจ่ายจากการทำงานและลงทุน เช่น คนต่างประเทศที่มาทำงานในไทย หรือลงทุนในไทยแล้วได้รับผลตอบแทน จึงส่งเงินกลับไปต่างประเทศ
รายได้จากการทำงานและลงทุน เช่น คนไทยไปทำงานในต่างประเทศ หรือลงทุนในต่างประเทศแล้วได้รับผลตอบแทนมา จึงส่งเงินกลับมาไทย
รายจ่ายจากการทำงานและลงทุน เช่น คนต่างประเทศที่มาทำงานในไทย หรือลงทุนในไทยแล้วได้รับผลตอบแทน จึงส่งเงินกลับไปต่างประเทศ
4. รายได้-รายจ่าย จากเงินโอนและเงินบริจาค
เช่น ประเทศไทยมอบเงินช่วยเหลือให้ต่างชาติ ก็ถือเป็นรายจ่าย
ส่วนถ้าประเทศไทยได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็ถือเป็นรายรับ
เช่น ประเทศไทยมอบเงินช่วยเหลือให้ต่างชาติ ก็ถือเป็นรายจ่าย
ส่วนถ้าประเทศไทยได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็ถือเป็นรายรับ
ส่วน “ดุลบัญชีเงินทุน” ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. บัญชีทุน ประกอบไปด้วย
- กิจกรรมการโอนหรือย้ายเงินทุนทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
เช่น การโอนสิทธิสินค้าทุน การโอนสิทธิในสินทรัพย์ถาวรระหว่างประเทศ
- กิจกรรมการโอนหรือย้ายเงินทุนทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
เช่น การโอนสิทธิสินค้าทุน การโอนสิทธิในสินทรัพย์ถาวรระหว่างประเทศ
- การซื้อ-ขายทรัพย์สินที่ผลิตขึ้นไม่ได้
เช่น การซื้อขายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน ระหว่างประเทศ
ถ้าประเทศเราซื้อก็เป็นรายจ่ายของประเทศ ถ้าขายก็เป็นรายรับของประเทศ
เช่น การซื้อขายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน ระหว่างประเทศ
ถ้าประเทศเราซื้อก็เป็นรายจ่ายของประเทศ ถ้าขายก็เป็นรายรับของประเทศ
2. บัญชีการเงิน ประกอบไปด้วย
- การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้
- การลงทุนในอนุพันธ์ทางการเงิน (คิดจากผลกำไรหรือขาดทุนจากสัญญาอนุพันธ์)
- การลงทุนอื่น ๆ เช่น เงินกู้ และเงินฝาก
- การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้
- การลงทุนในอนุพันธ์ทางการเงิน (คิดจากผลกำไรหรือขาดทุนจากสัญญาอนุพันธ์)
- การลงทุนอื่น ๆ เช่น เงินกู้ และเงินฝาก
เมื่อรวมรายได้และรายจ่ายทั้งหมดของประเทศนี้เข้าด้วยกัน ก็เขียนออกมาเป็นสมการได้ว่า
ดุลการชำระเงิน = ดุลบัญชีเดินสะพัด + ดุลบัญชีเงินทุน
ถ้ารายได้ของประเทศ มากกว่า รายจ่ายของประเทศ (ดุลการชำระเงินเป็น +)
เราเรียกว่า ดุลการชำระเงิน “เกินดุล”
เราเรียกว่า ดุลการชำระเงิน “เกินดุล”
ถ้ารายได้ของประเทศ น้อยกว่า รายจ่ายของประเทศ (ดุลการชำระเงินเป็น -)
เราเรียกว่า ดุลการชำระเงิน “ขาดดุล”
เราเรียกว่า ดุลการชำระเงิน “ขาดดุล”
ถ้ารายได้ของประเทศ เท่ากับ รายจ่ายของประเทศ
เราเรียกว่า ดุลการชำระเงิน “สมดุล”
เราเรียกว่า ดุลการชำระเงิน “สมดุล”
ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีคือ ดุลการชำระเงินที่เกินดุล หรือขาดดุล ไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่า เศรษฐกิจของประเทศนั้น ดีหรือแย่
ตัวอย่างเช่น
ประเทศที่มีดุลการชำระเงินขาดดุล อาจเป็นไปได้ว่า การส่งออกของประเทศ (รายได้) ไม่ได้ลดลง
แต่รายจ่ายของประเทศเพิ่มขึ้น จากการนำเข้าเครื่องจักรจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต
ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าศักยภาพของเศรษฐกิจประเทศจะแย่ลง
ประเทศที่มีดุลการชำระเงินขาดดุล อาจเป็นไปได้ว่า การส่งออกของประเทศ (รายได้) ไม่ได้ลดลง
แต่รายจ่ายของประเทศเพิ่มขึ้น จากการนำเข้าเครื่องจักรจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต
ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าศักยภาพของเศรษฐกิจประเทศจะแย่ลง
สรุปคือ การที่ดุลการชำระเงินเกินดุลหรือขาดดุลนั้น บอกได้เพียงว่า ณ ช่วงเวลานั้น ประเทศมีรายรับเข้ามา มากกว่าหรือน้อยกว่า รายจ่ายที่ประเทศจ่ายออกไป
ซึ่งถ้ามีรายรับเข้าประเทศมากกว่ารายจ่าย ก็จะทำให้มีความต้องการเงินบาทที่สูงกว่าเงินตราต่างประเทศ และก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีรายรับเข้าประเทศน้อยกว่ารายจ่าย ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้เช่นกัน..