การจ่าย “ปันผล” คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] การจ่าย “ปันผล” มีทั้งรูปแบบที่จ่ายเป็นเงินสด และจ่ายเป็นหุ้น ซึ่งปกติแล้วบริษัทจะจ่ายให้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ กำไรสะสม และนโยบายการจ่ายปันผล ที่แตกต่างกันไปของแต่ละบริษัท
อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สามารถคำนวณได้จาก
เงินปันผลต่อหุ้น หารด้วย ราคาหุ้น
เงินปันผลต่อหุ้น หารด้วย ราคาหุ้น
การจ่ายปันผล (Dividend) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เงินปันผล จ่ายเป็นเงินสด
2. หุ้นปันผล จ่ายเป็นหุ้นสามัญออกใหม่
2. หุ้นปันผล จ่ายเป็นหุ้นสามัญออกใหม่
โดยส่วนใหญ่แล้ว บริษัทในตลาดมักจะนิยมการจ่ายปันผลเป็น “เงินสด”
ซึ่งปกติแล้ว เงินในส่วนนี้ จะมาจาก “กำไรสะสมของบริษัท”
ซึ่งปกติแล้ว เงินในส่วนนี้ จะมาจาก “กำไรสะสมของบริษัท”
แต่ในบางกรณี บริษัทที่ขาดทุน ก็ยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้ โดยใช้กำไรสะสมมาจ่าย แต่หากบริษัทอยู่ในสถานะขาดทุนสะสม ก็จะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
แล้วเราจะคำนวณหาเงินปันผลได้อย่างไร ?
การจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทสามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้
ซึ่งขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นของบริษัท
ซึ่งขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นของบริษัท
แต่หากจะมีการจ่ายเงินปันผล
เราสามารถประมาณการได้ว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเท่าไร
โดยดูได้จากนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท
เราสามารถประมาณการได้ว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเท่าไร
โดยดูได้จากนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัท A มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น
และมีกำไรสุทธิในรอบปี 1,000 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในรอบปี 1,000 ล้านบาท
ซึ่งถ้าหากบริษัท A มี “นโยบายจ่ายปันผล” อยู่ที่ 30% ของกำไรสุทธิ
นั่นหมายความว่า บริษัท A จะจ่ายเงินปันผลทั้งสิ้น 300 ล้านบาท
หรือหุ้นละ 3 บาท นั่นเอง
นั่นหมายความว่า บริษัท A จะจ่ายเงินปันผลทั้งสิ้น 300 ล้านบาท
หรือหุ้นละ 3 บาท นั่นเอง
และถ้าหากเราอยากรู้ว่า เงินปันผลที่ได้รับ มากหรือน้อย ?
เราสามารถหาคำตอบได้จากสิ่งที่เรียกว่า “อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield)”
ซึ่งเป็นการคำนวณมาจาก
ซึ่งเป็นการคำนวณมาจาก
เงินปันผลต่อหุ้น หารด้วย ราคาหุ้น
ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นบริษัท A อยู่ที่ 100 บาท
อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก็จะเท่ากับ 3%
ซึ่งการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า เงินปันผลที่ได้รับมากหรือน้อย เมื่อเทียบกับต้นทุนที่เราลงทุนซื้อหุ้นไป
อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก็จะเท่ากับ 3%
ซึ่งการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า เงินปันผลที่ได้รับมากหรือน้อย เมื่อเทียบกับต้นทุนที่เราลงทุนซื้อหุ้นไป
ส่วนระยะเวลาในการจ่ายปันผล ก็จะแบ่งได้ 2 ช่วง คือ
1. จ่ายปันผลประจำปี
เป็นการจ่ายเงินปันผลตามปกติ ซึ่งบริษัทจะจ่ายหลังรอบระยะเวลาบัญชี
และกฎหมายกำหนดให้จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากที่มีการอนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เป็นการจ่ายเงินปันผลตามปกติ ซึ่งบริษัทจะจ่ายหลังรอบระยะเวลาบัญชี
และกฎหมายกำหนดให้จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากที่มีการอนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
2. การจ่ายปันผลระหว่างกาล
เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี
โดยบริษัทพิจารณาแล้วว่า มีกำไรพอที่จะจ่ายได้ และต้องผ่านมติจากคณะกรรมการบริษัท
เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี
โดยบริษัทพิจารณาแล้วว่า มีกำไรพอที่จะจ่ายได้ และต้องผ่านมติจากคณะกรรมการบริษัท
ในช่วงที่บริษัทประกาศจ่ายปันผล ในตลาดหลักทรัพย์จะระบุวันที่นักลงทุนไม่ได้สิทธิ์รับปันผล โดยจะมีการขึ้นเครื่องหมาย XD (Excluding Dividend) ปรากฏอยู่บนกระดานซื้อขาย