ROA คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] ROA (Return on Assets) เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสามารถในการใช้สินทรัพย์ของบริษัท โดยคำนวณจากการเอากำไรสุทธิ มาหารด้วยสินทรัพย์รวม
ROA จะมีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีการใช้ทรัพยากรหรือสินทรัพย์ในการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน
ROA ย่อมาจาก Return on Assets เป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม
โดยคำนวณจากการเอากำไรสุทธิมาหารด้วยสินทรัพย์รวม
โดยคำนวณจากการเอากำไรสุทธิมาหารด้วยสินทรัพย์รวม
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัท A มีกำไรสุทธิ 150 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 1,500 ล้านบาท
จะได้ว่า บริษัท A จะมีค่า ROA = 150/1,500 = 0.10 หรือ 10%
จะได้ว่า บริษัท A จะมีค่า ROA = 150/1,500 = 0.10 หรือ 10%
พูดง่าย ๆ ว่า บริษัท A ใช้สินทรัพย์รวม 100 บาท ในการสร้างกำไรสุทธิ 10 บาท
แต่ในบางกรณี เราสามารถนำกำไรก่อนภาษี หรือ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ใช้แทนกำไรสุทธิได้เช่นกัน
เพื่อตัดเรื่องหนี้และภาษีที่จะมีผลกระทบต่อการชี้วัดออกไป
เพื่อตัดเรื่องหนี้และภาษีที่จะมีผลกระทบต่อการชี้วัดออกไป
ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทที่มีค่า ROA สูง แสดงถึง บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูง เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัท สะท้อนถึงการที่บริษัทใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในทางกลับกัน บริษัทที่มีค่า ROA ต่ำ สะท้อนถึงการที่บริษัทใช้สินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ซึ่งวิธีดูค่า ROA มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่า ROA ในอดีตที่ผ่านมาของตัวบริษัทเอง เพื่อดูแนวโน้มของบริษัทว่า มีพัฒนาการการใช้สินทรัพย์ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้ การดูค่า ROA ยังควรพิจารณาธรรมชาติของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมประกอบอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโรงแรมก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องอาศัยสินทรัพย์จำนวนมากในการสร้างผลกำไร เพราะต้องลงทุนในที่ดิน อาคาร และสถานที่ด้วยเงินจำนวนมาก ส่งผลให้ค่า ROA ที่ได้มีค่าต่ำกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ
แต่สำหรับธุรกิจที่ใช้สินทรัพย์น้อย ๆ อย่างเช่น
ธุรกิจให้บริการซอฟต์แวร์ที่มักจะมีสินทรัพย์ในการทำธุรกิจน้อย
หรือธุรกิจที่ต้องอาศัยแรงงานคนจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้บันทึกอยู่ในรูปของสินทรัพย์แต่อย่างใด
ก็อาจจะทำให้ ROA ที่ได้มีค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ แม้จะมีกำไรเท่ากันก็ตาม
หรือธุรกิจที่ต้องอาศัยแรงงานคนจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้บันทึกอยู่ในรูปของสินทรัพย์แต่อย่างใด
ก็อาจจะทำให้ ROA ที่ได้มีค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ แม้จะมีกำไรเท่ากันก็ตาม
ดังนั้น การเปรียบเทียบค่า ROA ก็ควรเปรียบเทียบกับธุรกิจที่คล้าย ๆ กัน หรือบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย เพราะว่าแต่ละธุรกิจมีความต้องการใช้สินทรัพย์ไม่เหมือนกันนั่นเอง
อ่านถึงตรงนี้ ก็พอสรุปได้ว่า บริษัทที่ดีควรมีค่า ROA ที่สูง สะท้อนการนำสินทรัพย์ไปสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ตัวธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของบริษัทก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กำหนดว่า ค่า ROA ที่เหมาะสมหรือเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมจะเป็นเท่าไร
รวมถึงเราสามารถนำค่า ROA ในปัจจุบันไปเทียบกับค่า ROA ในอดีตที่ผ่านมาของตัวบริษัทเอง เพื่อดูพัฒนาการการใช้สินทรัพย์ของบริษัทได้อีกด้วย
Tag: ROA คืออะไร ?