PE คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] PE เป็นวิธีการประเมินมูลค่าหุ้น จากมุมมอง “กำไรสุทธิ”
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นักลงทุนมักจะนำมาใช้ประเมินว่าหุ้นตัวไหน ถูก หรือ แพงกว่ากัน
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นักลงทุนมักจะนำมาใช้ประเมินว่าหุ้นตัวไหน ถูก หรือ แพงกว่ากัน
PE หรือถ้าเขียนให้ถูกต้องคือ P/E มี 2 รูปแบบ คือ
- P/E ย้อนหลัง (Trailing P/E) เป็นการคำนวณโดยใช้กำไรในอดีต
- P/E ล่วงหน้า (Forward P/E) เป็นการคำนวณโดยใช้กำไรในอนาคต
- P/E ย้อนหลัง (Trailing P/E) เป็นการคำนวณโดยใช้กำไรในอดีต
- P/E ล่วงหน้า (Forward P/E) เป็นการคำนวณโดยใช้กำไรในอนาคต
P/E (Price to Earnings Ratio) เป็นวิธีการประเมินมูลค่าหุ้น จากมุมมอง “กำไรสุทธิ”
โดยความหมายตรงตัวของตัวเลข P/E ก็คือ หากซื้อหุ้น ณ ราคา P บาท ต้องใช้ระยะเวลานานกี่ปี กว่าจะทำกำไรได้ถึงจุดคุ้มทุน
โดยความหมายตรงตัวของตัวเลข P/E ก็คือ หากซื้อหุ้น ณ ราคา P บาท ต้องใช้ระยะเวลานานกี่ปี กว่าจะทำกำไรได้ถึงจุดคุ้มทุน
ซึ่ง P/E จะสะท้อน “ความคาดหวัง” ของนักลงทุน
ว่าจะยอมซื้อหุ้นแพงกว่าเป็นกี่เท่าของ “กำไรสุทธิ”
ว่าจะยอมซื้อหุ้นแพงกว่าเป็นกี่เท่าของ “กำไรสุทธิ”
ถ้าตัวเลข P/E ยิ่งสูง ก็จะหมายความว่า ตลาดยอมให้ราคาที่แพง เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิล่าสุดของบริษัท เพราะตลาดคาดหวังว่า กำไรของบริษัทนั้นจะเติบโตขึ้นมากในอนาคต
ซึ่งเราสามารถแบ่ง P/E ออกมาได้ 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 คือ P/E ย้อนหลัง (Trailing P/E)
มาจากการคำนวณกำไร หรือ กำไรต่อหุ้นย้อนหลังไป 4 ไตรมาส
มาจากการคำนวณกำไร หรือ กำไรต่อหุ้นย้อนหลังไป 4 ไตรมาส
แบบที่ 2 คือ P/E ล่วงหน้า (Forward P/E)
มาจากการประมาณการว่าในอนาคต บริษัทนั้นจะทำกำไรสุทธิ หรือ กำไรต่อหุ้นได้เท่าไร
มาจากการประมาณการว่าในอนาคต บริษัทนั้นจะทำกำไรสุทธิ หรือ กำไรต่อหุ้นได้เท่าไร
ดังนั้น การคำนวณ P/E ในแบบที่ 2 นี้จะขึ้นอยู่กับ “มุมมองของแต่ละบุคคล” ว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิหรือกำไรต่อหุ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าเป็นเท่าใด
ซึ่งวิธีการหาตัวเลข P/E นั้นมีอยู่ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
มูลค่าบริษัท หารด้วย กำไรสุทธิ
มูลค่าบริษัท หารด้วย กำไรสุทธิ
วิธีที่ 2
ราคาหุ้น หารด้วย กำไรต่อหุ้น
ราคาหุ้น หารด้วย กำไรต่อหุ้น
ยกตัวอย่างเช่น หุ้นบริษัท A มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 73 ล้านล้านบาท
และมีกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท
และมีกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท
ดังนั้น หุ้น A จะมี P/E อยู่ที่ 36.5 เท่า
และถ้าหากเราอยากรู้ว่า P/E เท่านี้ สูง หรือ ต่ำ
ให้เรานำ P/E ของบริษัทที่เราอยากรู้ ไปเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือค่าเฉลี่ย P/E ของทั้งอุตสาหกรรม เพื่อดูว่าราคาของหุ้นที่เรากำลังพิจารณามี P/E สูงหรือต่ำกว่า เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ
ให้เรานำ P/E ของบริษัทที่เราอยากรู้ ไปเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือค่าเฉลี่ย P/E ของทั้งอุตสาหกรรม เพื่อดูว่าราคาของหุ้นที่เรากำลังพิจารณามี P/E สูงหรือต่ำกว่า เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ
ซึ่งข้อควรระวังของการใช้วิธีประเมินมูลค่าหุ้นแบบ P/E ก็คือ
เราไม่สามารถนำมาใช้ประเมินบริษัท ที่มีผลประกอบการเป็น “ขาดทุน” ได้
เราไม่สามารถนำมาใช้ประเมินบริษัท ที่มีผลประกอบการเป็น “ขาดทุน” ได้
นอกจากนี้ เรายังไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัวว่าหุ้นที่ P/E สูง จะแปลว่าราคาแพงเสมอไป
เพราะบางครั้ง บริษัทอาจมีรายจ่ายครั้งเดียว หรือกำไรที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ชั่วคราวบางอย่างมากระทบ หรือแม้กระทั่งบริษัทที่เติบโตสูง นักลงทุนก็อาจให้ค่า P/E ที่สูงได้เหมือนกัน
ดังนั้น การประเมินมูลค่าหุ้นจึงต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกัน
ดังนั้น การประเมินมูลค่าหุ้นจึงต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกัน