งบกระแสเงินสด คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] งบกระแสเงินสด เป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นว่าบริษัท หาเงินสดได้มากเท่าไร มาจากช่องทางไหน นำเงินสดไปใช้กับอะไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวชี้วัด “สภาพคล่อง” ของบริษัท
หลายคนอาจคิดว่า งบกำไรขาดทุน เพียงอย่างเดียว
ก็อาจเพียงพอแล้วที่จะทำให้เราเข้าใจบริษัทใดบริษัทหนึ่งดีพอ
แต่งบกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว ไม่อาจฉายภาพรวมของบริษัทได้ทั้งหมด
ก็อาจเพียงพอแล้วที่จะทำให้เราเข้าใจบริษัทใดบริษัทหนึ่งดีพอ
แต่งบกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว ไม่อาจฉายภาพรวมของบริษัทได้ทั้งหมด
เช่นในบางกรณีบริษัทอาจจะขายสินค้าได้ และรับรู้เป็นกำไรเข้ามาในงบกำไรขาดทุน แต่ยังไม่ได้รับเงินสดจริง ๆ เข้ามาในบริษัท หรือที่เรียกว่ามีลูกหนี้การค้า
หากเป็นเหตุการณ์เช่นนี้ อาจจะทำให้บริษัทนั้นขาดสภาพคล่อง และมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้อธิบายในจุดนี้ได้ ก็คือ “งบกระแสเงินสด”
ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้อธิบายในจุดนี้ได้ ก็คือ “งบกระแสเงินสด”
แล้วงบกระแสเงินสดสำคัญอย่างไร ?
คำตอบคือ งบกระแสเงินสด ทำให้เรารู้สภาพคล่องของบริษัทว่าเป็นอย่างไร
คำตอบคือ งบกระแสเงินสด ทำให้เรารู้สภาพคล่องของบริษัทว่าเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วงบกระแสเงินสดจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow From Operation)
เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักของธุรกิจ
หรืออาจพูดง่าย ๆ ได้ว่า กระแสเงินสดจากการทำมาค้าขายของธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็น การซื้อวัตถุดิบ, การขายสินค้า รวมถึงเงินเดือนของพนักงาน ก็จะรวมอยู่ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงานทั้งหมด
หรืออาจพูดง่าย ๆ ได้ว่า กระแสเงินสดจากการทำมาค้าขายของธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็น การซื้อวัตถุดิบ, การขายสินค้า รวมถึงเงินเดือนของพนักงาน ก็จะรวมอยู่ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงานทั้งหมด
โดยทั่วไปแล้ว หากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก ก็หมายความว่าบริษัทมีเงินสดจากการขายสินค้าและบริการ มากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป
ในกรณีที่ติดลบ นั่นก็หมายความว่า
บริษัทมีรายจ่ายที่เป็นเงินสดในการดำเนินงาน เช่น ค่าวัตถุดิบหรือค่าจ้างพนักงาน มากกว่าเงินสดที่ได้รับจากการขายสินค้าในช่วงเวลานั้นนั่นเอง
บริษัทมีรายจ่ายที่เป็นเงินสดในการดำเนินงาน เช่น ค่าวัตถุดิบหรือค่าจ้างพนักงาน มากกว่าเงินสดที่ได้รับจากการขายสินค้าในช่วงเวลานั้นนั่นเอง
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Cash Flow From Investing)
เป็นกระแสเงินสดที่แสดงให้เห็นถึงการได้มา หรือจ่ายออกไปจากการซื้อหรือขายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่น ๆ
เช่น การซื้อตึกหรืออาคาร เพื่อใช้เป็นสำนักงานของบริษัท
รวมถึงการควบรวมกิจการก็จะรวมอยู่ในงบส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
รวมถึงการควบรวมกิจการก็จะรวมอยู่ในงบส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
โดยส่วนใหญ่แล้ว หากกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน “ติดลบ” นั่นหมายความว่าบริษัทกำลังนำเงินไปลงทุน เพื่อขยายกิจการเพิ่ม
แม้การลงทุนเพิ่มเติมอาจทำให้บริษัทเติบโตได้
อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
เพราะฉะนั้นเราจึงควรติดตามว่าผลตอบแทนที่ได้นั้น คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่
อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
เพราะฉะนั้นเราจึงควรติดตามว่าผลตอบแทนที่ได้นั้น คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่
ในทางตรงกันข้าม หากกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุนมีค่าเป็นบวก ก็จะหมายถึงการที่บริษัทได้เงินสดจากการขายทรัพย์สินออกไป เช่น อาคารสำนักงาน เป็นต้น
การที่บริษัทต้องขายทรัพย์สินออกไป ก็อาจจะบอกได้ว่าบริษัทเริ่มจะไม่มีการเติบโตแล้ว หรือสภาพคล่องกำลังมีปัญหาอย่างหนัก ก็เป็นไปได้เช่นกัน
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Cash Flow From Financing)
คือ กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับการจัดหาเงินของบริษัท
เช่น การกู้ยืมจากนักลงทุน, การจ่ายปันผลให้นักลงทุน, การซื้อหุ้นคืน
เช่น การกู้ยืมจากนักลงทุน, การจ่ายปันผลให้นักลงทุน, การซื้อหุ้นคืน
หากตัวเลขเป็นบวก อาจหมายความว่าบริษัทมีการหาเงินเข้าบริษัทมากขึ้น
เช่น จากการกู้ยืมธนาคาร, การออกหุ้นกู้ และการขอเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น
เช่น จากการกู้ยืมธนาคาร, การออกหุ้นกู้ และการขอเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น
หากตัวเลขเป็นลบ นั่นหมายความว่าบริษัทกำลังจ่ายมากกว่าเงินที่ได้รับ
ตัวอย่างของกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินที่เป็นลบ เช่น การคืนเงินต้นเงินกู้, การจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น รวมถึงการซื้อหุ้นคืน
ตัวอย่างของกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินที่เป็นลบ เช่น การคืนเงินต้นเงินกู้, การจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น รวมถึงการซื้อหุ้นคืน
ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่า “งบกระแสเงินสด” เป็นตัวช่วยในการบอกเราว่าบริษัทหาเงินได้เท่าไร
หามาด้วยวิธีไหน แล้วมีการนำเงินสดไปใช้จ่ายกับอะไรบ้าง
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือช่วยให้เรารู้สภาพคล่องของบริษัทนั่นเอง
หามาด้วยวิธีไหน แล้วมีการนำเงินสดไปใช้จ่ายกับอะไรบ้าง
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือช่วยให้เรารู้สภาพคล่องของบริษัทนั่นเอง
ซึ่งหากเราเข้าใจ และนำไปใช้วิเคราะห์ร่วมกับงบกำไรขาดทุน และงบดุล
ก็จะทำให้เราเห็นภาพของบริษัทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น..
ก็จะทำให้เราเห็นภาพของบริษัทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น..
Tag: งบกระแสเงินสด