งบกำไร-ขาดทุน คืออะไร ?
[ประเด็นสำคัญ] งบกำไร-ขาดทุน จะเป็นตัวช่วยบอกเราว่า ผลดำเนินงานของบริษัทในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นอย่างไร ทำให้เรารู้ว่า บริษัทมีรายได้เท่าไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และธุรกิจมีกำไรเท่าไร
งบการเงิน จะมีหลายประเภท เช่น งบดุล, งบกระแสเงินสด และงบกำไร-ขาดทุน
ซึ่งงบการเงินที่นักธุรกิจส่วนใหญ่สนใจมากที่สุด ก็คือ “งบกำไร-ขาดทุน”
ซึ่งงบการเงินที่นักธุรกิจส่วนใหญ่สนใจมากที่สุด ก็คือ “งบกำไร-ขาดทุน”
โดยทั่วไปแล้ว หากพูดถึงภาพกว้าง ๆ หน้าตาของ งบกำไร-ขาดทุน ก็จะเป็น รายได้ - ค่าใช้จ่ายทั้งหมด = กำไร
แต่แน่นอนว่า หากเราลองกาง งบกำไร-ขาดทุน ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ออกมาแล้ว
ก็จะพบว่า หน้าตามันไม่ได้ง่ายเหมือนที่กล่าวมาสักเท่าไร
ก็จะพบว่า หน้าตามันไม่ได้ง่ายเหมือนที่กล่าวมาสักเท่าไร
แล้วมันมีอะไรบ้าง เรามาเริ่มกันที่ส่วนแรก ซึ่งก็คือ “รายได้”
รายได้ จะบอกให้เรารู้ว่า รายได้ของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ซึ่งหากเรานำไปเทียบกับรายได้ในช่วงที่ผ่านมา เช่น รายได้ในปีก่อนหน้า
ก็จะช่วยให้เราเห็นถึงแนวโน้มรายได้ของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น
ก็จะช่วยให้เราเห็นถึงแนวโน้มรายได้ของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น
ต่อมาคือในส่วนของ “ค่าใช้จ่าย” ซึ่งหลัก ๆ แล้ว
เราสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายออกมาได้เป็น
เราสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายออกมาได้เป็น
- ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนขาย เช่น ค่าวัตถุดิบ
- ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา
- ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าสถานที่
- ค่าใช้จ่ายบริหาร เช่น เงินเดือนผู้บริหารและพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืม
- ค่าใช้จ่ายทางภาษี
- ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา
- ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าสถานที่
- ค่าใช้จ่ายบริหาร เช่น เงินเดือนผู้บริหารและพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืม
- ค่าใช้จ่ายทางภาษี
นอกจากนี้ จะยังมีค่าใช้จ่ายหลายรายการที่เป็นประมาณการทางบัญชี โดยไม่ได้สัมพันธ์กับเงินสดที่จ่ายไปในงวดนั้น เช่น ค่าเสื่อมราคา, การด้อยค่าของสินทรัพย์
โดยหลังจากที่นำค่าใช้จ่ายมาหักออกจากรายได้แล้ว ก็จะได้กำไรในแต่ละขั้น ซึ่งแบ่งเป็น
1. กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
กำไรขั้นต้น = รายได้ - ต้นทุนขาย
ในส่วนนี้ อาจเป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่า สินค้าและบริการของบริษัท สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าต้นทุนมากน้อยเพียงใด
ซึ่งก็จะมีปัจจัยในหลายเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเสียงของแบรนด์, คุณภาพสินค้า, อุตสาหกรรมของธุรกิจนั้น, การแข่งขันของตลาดที่บริษัททำธุรกิจอยู่
ซึ่งก็จะมีปัจจัยในหลายเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเสียงของแบรนด์, คุณภาพสินค้า, อุตสาหกรรมของธุรกิจนั้น, การแข่งขันของตลาดที่บริษัททำธุรกิจอยู่
2. กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit)
กำไรจากการดำเนินงาน = รายได้ - ต้นทุนขาย - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
กำไรจากการดำเนินงานจะเป็นตัวช่วยสะท้อนให้เราเห็นภาพ การทำธุรกิจของบริษัทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น ในบางครั้งบริษัทอาจมีกำไรขั้นต้นที่สูง แต่มีกำไรจากการดำเนินงานที่ต่ำ
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทต้องการโปรโมตสินค้าใหม่ จึงมีค่าโฆษณามากกว่าปกติ ซึ่งก็จะส่งผลมายังกำไรจากการดำเนินงานนั่นเอง
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทต้องการโปรโมตสินค้าใหม่ จึงมีค่าโฆษณามากกว่าปกติ ซึ่งก็จะส่งผลมายังกำไรจากการดำเนินงานนั่นเอง
3. กำไรสุทธิ (Net Profit)
กำไรสุทธิ = รายได้ - ต้นทุนขาย - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร - ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย - ภาษี
หรือพูดง่าย ๆ ว่า กำไรสุทธิ คือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ซึ่งกำไรสุทธิในบรรทัดสุดท้าย จะเป็นการสะท้อนภาพการทำกำไรของบริษัท
ว่าท้ายที่สุดแล้ว หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด บริษัทของเราจะมีกำไรเหลือเท่าไร
ว่าท้ายที่สุดแล้ว หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด บริษัทของเราจะมีกำไรเหลือเท่าไร
สรุปแล้ว งบกำไร-ขาดทุน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยทำให้เราเห็นภาพว่าในช่วงเวลานั้น ๆ บริษัทของเรามีรายได้เท่าไร มีค่าใช้จ่ายอะไร หลังจากหักลบกันแล้ว เหลือออกมาเป็นกำไรมากน้อยแค่ไหน
หรือที่เราเรียกกันว่า ผลดำเนินงานนั่นเอง..
หรือที่เราเรียกกันว่า ผลดำเนินงานนั่นเอง..