วิเคราะห์ เหตุผลที่ AIS ประมูลคลื่น 5G มากสุด
วิเคราะห์ เหตุผลที่ AIS ประมูลคลื่น 5G มากสุด /โดย ลงทุนแมน
การประมูล 5G ประเทศไทยที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้
บทสรุปคือ กสทช. รับรายได้เข้ารัฐ 100,521 ล้านบาท
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการประมูลคลื่นความถี่ที่มีมูลค่ามากสุดในโลก
บทสรุปคือ กสทช. รับรายได้เข้ารัฐ 100,521 ล้านบาท
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการประมูลคลื่นความถี่ที่มีมูลค่ามากสุดในโลก
โดยมีสัดส่วนมาจาก
AIS มูลค่ารวม 42,060 ล้านบาท
CAT มูลค่ารวม 34,306 ล้านบาท
TRUE มูลค่ารวม 21,450 ล้านบาท
TOT มูลค่ารวม 1,195 ล้านบาท
DTAC มูลค่ารวม 910 ล้านบาท
AIS มูลค่ารวม 42,060 ล้านบาท
CAT มูลค่ารวม 34,306 ล้านบาท
TRUE มูลค่ารวม 21,450 ล้านบาท
TOT มูลค่ารวม 1,195 ล้านบาท
DTAC มูลค่ารวม 910 ล้านบาท
หากเปรียบเทียบระหว่าง AIS, TRUE และ DTAC ยักษ์ใหญ่เทเลคอมประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามูลค่าการลงทุนของ AIS เป็นเกือบ 2 เท่าของการลงทุนของ TRUE
ในขณะที่ DTAC มีแนวโน้มสูงที่จะรอลงทุนในรอบถัดไป
ในขณะที่ DTAC มีแนวโน้มสูงที่จะรอลงทุนในรอบถัดไป
แล้วทำไม AIS ถึงต้องทุ่มทุนขนาดนี้?
ลงทุนแมนจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูใบอนุญาตที่แต่ละบริษัทประมูลได้กันก่อน
AIS ได้ใบอนุญาต 23 ชุด แบ่งออกเป็น 700 MHz 1 ชุด, 2600 MHz 10 ชุด และ 26 GHz 12 ชุด
TRUE ได้ใบอนุญาต 17 ชุด แบ่งออกเป็น 2600 MHz 9 ชุด และ 26 GHz 8 ชุด
TOT ได้ใบอนุญาต 4 ชุด แบ่งออกเป็น 26 GHz 4 ชุด
CAT ได้ใบอนุญาต 2 ชุด แบ่งออกเป็น 700 MHz 2 ชุด
DTAC ได้ใบอนุญาต 2 ชุด แบ่งออกเป็น 26 GHz 2 ชุด
ลงทุนแมนจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูใบอนุญาตที่แต่ละบริษัทประมูลได้กันก่อน
AIS ได้ใบอนุญาต 23 ชุด แบ่งออกเป็น 700 MHz 1 ชุด, 2600 MHz 10 ชุด และ 26 GHz 12 ชุด
TRUE ได้ใบอนุญาต 17 ชุด แบ่งออกเป็น 2600 MHz 9 ชุด และ 26 GHz 8 ชุด
TOT ได้ใบอนุญาต 4 ชุด แบ่งออกเป็น 26 GHz 4 ชุด
CAT ได้ใบอนุญาต 2 ชุด แบ่งออกเป็น 700 MHz 2 ชุด
DTAC ได้ใบอนุญาต 2 ชุด แบ่งออกเป็น 26 GHz 2 ชุด
จากใบอนุญาตที่แต่ละบริษัทประมูลได้จะเห็นได้ว่า AIS เป็นบริษัทเดียวที่ประมูลครบทุกคลื่นความถี่
ส่งผลให้ตอนนี้ AIS มีคลื่นความถี่ครบทุกย่านและมีปริมาณคลื่นความถี่ที่พร้อมให้บริการมากสุดในประเทศไทย
คำถามก็คือแต่ละคลื่นดียังไง เอาไปพัฒนาอะไรได้บ้าง?
เริ่มต้นที่คลื่นความถี่ต่ำ 700 MHz มีคุณสมบัติทะลุทะลวงเข้าไปในสิ่งกีดขวางได้ดี ซึ่งจะทำให้การบริการ 5G ครอบคลุมย่านชานเมือง และที่ห่างไกลชุมชน
คลื่นความถี่กลาง 2600 MHz มีคุณสมบัติทะลุทะลวงปานกลางเหมาะสำหรับบริการที่ต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
คลื่นความถี่สูง 26 GHz ความกว้างของสัญญาณสูงเหมาะสำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางน้อย ยกตัวอย่าง เช่น พื้นที่เขตอุตสาหกรรม
สรุปได้ว่าทุกคลื่นความถี่มีความสำคัญและประโยชน์ที่นำไปใช้ต่างกันแต่ทั้งหมดนี้ล้วนมีความสำคัญสำหรับการนำไปพัฒนาสำหรับการให้บริการทั้งผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม
แล้วตามเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ต้องมีคลื่นความถี่อะไรบ้าง?
แล้วตามเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ต้องมีคลื่นความถี่อะไรบ้าง?
สำหรับมาตรฐานสากลล่าสุดสำหรับการพัฒนา 5G จากหน่วยงาน The 3rd Generation Partnership Project ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการทั่วโลก ระบุว่าผู้ให้บริการจะสามารถให้บริการ 5G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องมี
คลื่นความถี่ 700 MHz ที่จำนวนเต็ม 30 MHz
คลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ จำนวน 100 MHz
คลื่นความถี่ 26 GHz ที่ จำนวน 400 MHz ต่อ 1 บล็อก
คลื่นความถี่ 700 MHz ที่จำนวนเต็ม 30 MHz
คลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ จำนวน 100 MHz
คลื่นความถี่ 26 GHz ที่ จำนวน 400 MHz ต่อ 1 บล็อก
เรื่องนี้จึงเป็นเหตุผลที่ AIS เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz เพิ่มอีก 1 ใบอนุญาตในรอบนี้ เดิมที่มีอยู่แล้ว 20 MHz รวมของใหม่ที่ประมูลเพิ่มอีก 10 MHz เป็น 30 MHz เพียงรายเดียวที่ได้ตามมาตรฐานสากล ในขณะที่ TRUE และ DTAC มีอยู่ 20 MHz ทำให้ AIS นำคลื่นความถี่ทั้งหมดไปพัฒนาเทคโนโลยี 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
ในขณะเดียวกัน AIS ก็ได้ประมูลคลื่น 2600 MHz ที่ประมูลได้ 10 ใบอนุญาตจำนวน 100 MHz ต่างจาก TRUE ที่เอามาเพียง 90 MHz จึงทำให้ AIS อยู่ในระดับเดียวกันกับผู้ให้บริการระดับโลกรายอื่นๆยกตัวอย่าง เช่น
บริษัท Verizon (สหรัฐอเมริกา) 100 MHz
บริษัท NTT DoCoMo (ญี่ปุ่น) 100 MHz
บริษัท KT (เกาหลี) 100 MHz
บริษัท China Unicom (จีน) 100 MHz
บริษัท NTT DoCoMo (ญี่ปุ่น) 100 MHz
บริษัท KT (เกาหลี) 100 MHz
บริษัท China Unicom (จีน) 100 MHz
สำหรับคลื่น 26 GHz ที่ AIS ประมูลได้ 12 ใบอนุญาต จำนวน 1200 MHz หรือเท่ากับ 400 MHz ทั้งหมด 3 บล็อก ในขณะที่ TRUE จำนวน 800 MHz TOT จำนวน 400 MHz และ DTAC จำนวน 200 MHz
คลื่นความถี่นี้ก็ถือเป็นคลื่นแห่งอนาคต และคาดกันว่าคลื่นย่านนี้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีสื่อสารภาคอุตสาหกรรม สำหรับประเทศไทยก็คือโซน EEC นั่นเอง
แสดงให้เห็นว่า AIS มีแนวโน้มที่จะโฟกัสกับการนำไปสร้างประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรมได้มากกว่า
ทั้งหมดนี้สามารถสรุปได้ว่า AIS ประมูลคลื่น 5G มามากที่สุด ที่ลงทุนร่วม 4 หมื่นล้านบาท ก็เพื่อที่จะสร้างประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ AIS มีความพร้อมและพัฒนาบริการออกมาได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากสุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
การประมูล 5G รอบนี้ก็ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยที่กำลังจะก้าวสู่ยุคใหม่ในฉบับที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นเอง..
----------------------
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://markets.businessinsider.com/index/s&p_500
-https://markets.businessinsider.com/index/s&p_500
-https://edition.cnn.com/2020/02/10/investing/sp-500-tech-stocks/index.html
-https://ycharts.com/stocks
----------------------
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://markets.businessinsider.com/index/s&p_500
-https://markets.businessinsider.com/index/s&p_500
-https://edition.cnn.com/2020/02/10/investing/sp-500-tech-stocks/index.html
-https://ycharts.com/stocks