AI จะเปลี่ยนโลก แต่การแห่เข้าไปลงทุนเลยตอนตลาด P/E 25 เท่า ก็อาจจะเปลี่ยนพอร์ตคุณได้เช่นกัน

AI จะเปลี่ยนโลก แต่การแห่เข้าไปลงทุนเลยตอนตลาด P/E 25 เท่า ก็อาจจะเปลี่ยนพอร์ตคุณได้เช่นกัน

AI จะเปลี่ยนโลก แต่การแห่เข้าไปลงทุนเลยตอนตลาด P/E 25 เท่า ก็อาจจะเปลี่ยนพอร์ตคุณได้เช่นกัน /โดย ลงทุนแมน
0 คูณกับอะไร ก็ได้ 0
ผลตอบแทนจากการลงทุน ต่อให้เราได้มามากมายเพียงใด หรือชนะตลาดมาแล้วกี่ครั้ง แต่ถ้าพลาดหนัก ๆ เพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้พอร์ตของเราเสียหาย จนยากที่จะกลับมา
ดังนั้น นอกจากเรื่องผลตอบแทน สิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ “ความเสี่ยง”
ถ้าอยากอยู่รอดและชนะตลาดได้ในระยะยาว
แล้วคุณศุภอรรถ ตปนียากร, ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั่วโลก
และคุณประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์, ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน, บลจ. ทาลิส
มองเรื่องความเสี่ยงอย่างไร และมีสูตรบริหารความเสี่ยง อะไรบ้าง ?
พวกเขามาให้คำตอบ ที่งาน BEAT THE MARKET
ในหัวข้อ “The Mastering of Risk Management ศาสตร์แห่งการบริหารความเสี่ยง”
คุณประภาส กล่าวว่า “โลกการลงทุนในปัจจุบัน เต็มไปด้วยความผันผวน แม้ยังไม่ถึงขั้นเกิดวิกฤติการเงิน แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้น ก็มีอยู่เสมอ และในทุกวิกฤติ ก็มักมีโอกาสซ่อนอยู่เช่นกัน”
นักลงทุนแต่ละคน มีแนวทางบริหารความเสี่ยงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
แม้ทุกคนต่างคาดหวังผลกำไร แต่ความโลภ ความมั่นใจเกินไป และการไม่กระจายความเสี่ยง อาจนำไปสู่เหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือที่เรียกว่า "Black Swan" ได้
ในมุมมองของคุณศุภอรรถ มีการชี้ให้เห็นความเสี่ยงสำคัญในตลาดทุนโลก 3 ประเด็น คือ
1. วัฏจักรของ Market P/E
Market P/E เป็นตัวชี้วัดระดับความถูกหรือแพงของตลาด ซึ่งปัจจุบันมูลค่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงเกินไป ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ ใกล้จุดต่ำสุดในประวัติการณ์
หากย้อนดูช่วงฟองสบู่เทคโนโลยี นักลงทุนเคยเชื่อว่า การปฏิวัติอินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนโลก จนทำให้ค่า P/E ตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งสูงถึง 25 เท่า ก่อนที่ฟองสบู่จะแตก และนำไปสู่วิกฤติในที่สุด
ซึ่งวันนี้ จากกระแสในเรื่อง AI ก็ผลักดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมามาก จนตอนนี้ P/E ตลาดอยู่ที่ 25 เท่าเช่นกัน และคาดการณ์ Forward P/E ได้ที่ 21 เท่า ซึ่งก็ยังค่อนข้างสูงอยู่
“AI จะเปลี่ยนโลก แต่การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ P/E ตลาดสูงถึง 25 เท่า อาจเปลี่ยนพอร์ตของคุณไปเช่นกัน”
แม้วันนี้หลายคนเชื่อว่า ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่ายุคก่อน แต่บทเรียนจากอดีตเตือนว่า "ความมั่นใจเกินไป" มักทำให้การประเมินความเสี่ยงผิดพลาด
2. ตลาดตราสารหนี้ (Bond Market)
หนี้ภาคเอกชนทั่วโลกกำลังพุ่งสูง หากตราสารหนี้ใหม่ โดยเฉพาะที่ออกเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ไม่สามารถทดแทนหนี้เดิมได้ครบ อาจก่อให้เกิดความปั่นป่วนรุนแรงในตลาดการเงิน
3. Global Recession
หากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ดัชนี S&P 500 อาจปรับตัวลงเหลือระดับ 3,000-4,000 จุด โดยทั่วไป ตลาดหุ้นมักปรับตัวลงล่วงหน้าก่อนที่ตัวเลขเศรษฐกิจจริง จะสะท้อนผลกระทบอย่างเต็มที่
ปัจจุบัน GDP ของสหรัฐฯ พึ่งพาการบริโภคภาคเอกชนมากถึง 70% หากการใช้จ่ายเริ่มชะลอตัว ก็อาจเป็นชนวนสำคัญที่นำไปสู่วิกฤติรอบใหม่ได้
แล้วเราจะบริหารความเสี่ยงอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ?
หัวใจของการบริหารความเสี่ยง คือการเตรียมตัว “ก่อน” วิกฤตจะเกิดขึ้น ไม่ใช่รอให้ตลาดปรับตัวลง แล้วค่อยหาทางแก้ไข
เครื่องมือสำคัญที่ช่วยได้ คือการทำ Asset Allocation และการใช้ Option เพื่อป้องกันพอร์ต เพราะหากสามารถรักษากำไรไว้ได้ในวันที่ตลาดร่วงแรง ก็จะมีเงินทุนพร้อมสำหรับการลงทุนในช่วงเวลานั้น
การวางแผนต้องเริ่มตั้งแต่ต้น เช่น
- คิดไว้รอว่า หากตลาดหุ้นปรับตัวลงแรง จะตัดสินใจซื้อเพิ่มหรือไม่ ?
- มีเงินสำรองเพียงพอ สำหรับการลงทุนเพิ่มเติมหรือไม่ ?
- วางกลยุทธ์รับมือในแต่ละสถานการณ์ไว้อย่างชัดเจนหรือยัง ?
เพราะไม่มีใครทำนาย "จุดต่ำสุด" ของตลาดได้ การทำการบ้านล่วงหน้า วางแผน และทยอยลงทุนอย่างระมัดระวัง คือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ในสถานการณ์เช่นนี้..
#ลงทุนแมน #BeatTheMarket
-ใครที่พลาดงานวันนี้ บัตร RERUN BEAT THE MARKET เปิดจองแล้ว มีจำนวนจำกัด จองบัตรได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/BEAT-THE-MARKET-2025

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon