บทเรียนหุ้น Meta 10 ปีที่แล้ว มี P/E 1,000 เท่า
บทเรียนหุ้น Meta 10 ปีที่แล้ว มี P/E 1,000 เท่า /โดย ลงทุนแมน
โดยปกติแล้ว ท่าประจำเวลาเราประเมินมูลค่าบริษัท ว่า “ถูก” หรือ “แพง” ขนาดไหน
เรามักจะนำมูลค่าบริษัท มาเทียบกับ กำไรที่ทำได้ในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด หรือที่เราเรียกกันว่า P/E
โดยปกติแล้ว ท่าประจำเวลาเราประเมินมูลค่าบริษัท ว่า “ถูก” หรือ “แพง” ขนาดไหน
เรามักจะนำมูลค่าบริษัท มาเทียบกับ กำไรที่ทำได้ในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด หรือที่เราเรียกกันว่า P/E
แต่ในหลาย ๆ กรณี การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี P/E อาจไม่เวิร์กเท่าไร โดยเฉพาะกับบริษัทเทคโนโลยีหน้าใหม่
รู้หรือไม่ว่า 10 ปีก่อน หุ้นระดับโลกในปัจจุบัน ก็เคยมี P/E สูงเสียดฟ้า ยกตัวอย่างเช่น
- Amazon เคยมี P/E 2,500 เท่า
- Meta หรือ Facebook เดิม เคยมี P/E 1,277 เท่า
- Amazon เคยมี P/E 2,500 เท่า
- Meta หรือ Facebook เดิม เคยมี P/E 1,277 เท่า
เห็นได้ว่าอัตราส่วน P/E นั้นไม่ได้ใช้งานได้เสมอไป โดยเฉพาะธุรกิจเหล่านี้ ที่เพิ่งเริ่มจะมีกำไร
ถ้าบอกว่า P/E ใช้งานไม่ได้ ยังดูมูลค่าทั้งตลาดไม่ค่อยออก
แล้วเราจะใช้วิธีไหนได้บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้วเราจะใช้วิธีไหนได้บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริง ๆ แล้ว มันก็ยังพอมีอีกวิธี ที่ช่วยให้เราพอมองเห็นภาพของ “มูลค่าทั้งตลาด” ได้ เราเรียกกันว่า TAM
TAM ย่อมาจาก Total Addressable Market
แปลตรงตัวว่า มูลค่าตลาดที่เป็นไปได้ โดยมีวิธีมองด้วยกัน 3 วิธี
TAM ย่อมาจาก Total Addressable Market
แปลตรงตัวว่า มูลค่าตลาดที่เป็นไปได้ โดยมีวิธีมองด้วยกัน 3 วิธี
1. แบบ Top Down หรือ บนลงล่าง
จะเป็นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจากภาพใหญ่ก่อนว่า ตลาดใหญ่ขนาดไหน เช่น
- ประชากรมีกี่คน
- ประชากรพร้อมที่จะใช้สินค้าและบริการเท่าไร
- ผู้ใช้งานที่ยอมจ่ายให้ มีเท่าไร
- ประชากรมีกี่คน
- ประชากรพร้อมที่จะใช้สินค้าและบริการเท่าไร
- ผู้ใช้งานที่ยอมจ่ายให้ มีเท่าไร
ตัวอย่างกลุ่มธุรกิจ ที่ประเมินด้วยวิธีนี้ ก็เช่น โซเชียลมีเดีย อย่าง Google, Facebook และ YouTube
หลังจากนั้น ก็นำจำนวนผู้ใช้งานจริง คูณกับมูลค่ารายได้ที่ผู้ใช้งานจ่าย หรือ มูลค่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท
หลังจากนั้น ก็นำจำนวนผู้ใช้งานจริง คูณกับมูลค่ารายได้ที่ผู้ใช้งานจ่าย หรือ มูลค่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท
2. แบบ Bottom Up
วิเคราะห์จากล่างขึ้นบน โดยใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วของบริษัท เพื่อหามูลค่าตลาด
ตัวอย่างแบบง่าย ๆ เช่น โค้ก มีรายได้จากธุรกิจน้ำอัดลมในประเทศไทยราว 29,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 51%
ตัวอย่างแบบง่าย ๆ เช่น โค้ก มีรายได้จากธุรกิจน้ำอัดลมในประเทศไทยราว 29,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 51%
นั่นหมายความว่า มูลค่าตลาดน้ำอัดลมทั้งหมดในประเทศไทย อยู่ที่ราว 57,000 ล้านบาท
3. แบบ Value Theory
ใช้สำหรับประเมินสินค้าหรือบริการ ที่ยังไม่มีตลาด เช่น
- Spotify ตอนเจาะตลาดสตรีมมิงเพลง ก็ใช้ราคาค่าสมาชิก คูณกับจำนวนคนฟังเพลง เพื่อหามูลค่าตลาด
- Spotify ตอนเจาะตลาดสตรีมมิงเพลง ก็ใช้ราคาค่าสมาชิก คูณกับจำนวนคนฟังเพลง เพื่อหามูลค่าตลาด
- กลุ่มธุรกิจส่งอาหาร ก็ใช้ค่าธรรมเนียมบริการ คูณกับจำนวนออร์เดอร์ เพื่อหามูลค่าที่เป็นไปได้มากที่สุดของตลาด
จากทั้ง 3 วิธี เราจะเห็นได้ว่า การประเมินมูลค่าตลาดด้วย TAM จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมมูลค่าตลาดได้
พอรู้แบบนี้แล้ว เราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินมูลค่าธุรกิจได้เหมือนกัน อย่างในกรณีของ Meta ที่มี P/E 1,000 เท่า เมื่อ 10 ปีก่อน
เรามาดูสถิติเมื่อ 10 ปีที่แล้วกัน
- โลกมีประชากร 7,100 ล้านคน
- มีคนเล่นโซเชียลมีเดีย 1,700 ล้านบัญชี
- มีคนเล่น Facebook 980 ล้านบัญชี
- Facebook มีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน 182 บาทต่อบัญชีต่อปี
- โลกมีประชากร 7,100 ล้านคน
- มีคนเล่นโซเชียลมีเดีย 1,700 ล้านบัญชี
- มีคนเล่น Facebook 980 ล้านบัญชี
- Facebook มีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน 182 บาทต่อบัญชีต่อปี
จากข้อมูลชุดนี้ หากเรามองว่าอีกหน่อย ต่อไปประชากรครึ่งโลกจะเล่น Facebook
เราก็อาจจะลองนำ ประชากรครึ่งโลก ราว 3,500 ล้านคน เป็นตัวตั้ง คูณกับรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน
เราก็อาจจะลองนำ ประชากรครึ่งโลก ราว 3,500 ล้านคน เป็นตัวตั้ง คูณกับรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน
ยกตัวอย่างเช่น Facebook ก็จะเป็น 182 บาทต่อบัญชี หมายความว่ารายได้ที่ Facebook จะทำได้หากมีคนเล่นครึ่งโลก ก็จะเท่ากับ 637,000 ล้านบาทต่อปี
แล้ว ณ วันนี้ Meta เป็นอย่างไร ?
ซึ่งบทสรุป ณ วันนี้
- Facebook มีผู้ใช้งาน 3,065 ล้านบัญชีต่อเดือน
- แพลตฟอร์มในเครือ Meta ทั้ง Facebook, Instagram, Messenger, WhatsApp มีผู้ใช้งาน 3,270 ล้านบัญชีต่อวัน
- มีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งานสูงถึง 1,535 บาทต่อบัญชีต่อปี
- Facebook มีผู้ใช้งาน 3,065 ล้านบัญชีต่อเดือน
- แพลตฟอร์มในเครือ Meta ทั้ง Facebook, Instagram, Messenger, WhatsApp มีผู้ใช้งาน 3,270 ล้านบัญชีต่อวัน
- มีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งานสูงถึง 1,535 บาทต่อบัญชีต่อปี
ผู้ใช้งาน เติบโตเป็น 3 เท่า
รายได้ต่อผู้ใช้งาน เติบโตเป็น 8 เท่า
รายได้ต่อผู้ใช้งาน เติบโตเป็น 8 เท่า
จะเห็นได้ว่าผู้ใช้งาน Facebook และแพลตฟอร์มเครือ Meta เติบโตขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกันกับประชากรครึ่งโลก แต่แตกต่างกันตรงที่ รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งานเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
เนื่องจากสามารถหารายได้เพิ่มเติมได้จากแพลตฟอร์ม ทั้งการขึ้นราคาโฆษณา, การเพิ่มความถี่ในการโฆษณา เพิ่มรูปแบบในการแทรก เช่น โพสต์ วิดีโอ สตอรี หรือ Reels รวมถึงช่องทางใหม่ ๆ จากกิจการที่เข้าซื้อมาอย่าง Instagram
บทสรุปก็คือ Meta สามารถเติบโตจาก P/E 1,000 เท่า เมื่อ 10 ปีก่อน กลายมาเป็นธุรกิจโซเชียลมีเดีย ที่ทำรายได้ถึง 4.9 ล้านล้านบาทต่อปี ทำกำไร 1.7 ล้านล้านบาทต่อปี และมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 49.4 ล้านล้านบาท
ในขณะที่ P/E ก็ได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากตัวหาร หรือกำไร ที่บริษัททำได้ เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดกว่ารายได้ จนปัจจุบัน หุ้น Meta ซื้อขายกันอยู่ที่ P/E 30 เท่า..
ซึ่งใครที่ซื้อหุ้น Meta เมื่อ 10 ปีก่อน ด้วยเงิน 1 ล้านบาท และถือไว้ไม่ยอมขาย
วันนี้เงินก้อนนั้น จะกลายเป็น 8 ล้านบาท
วันนี้เงินก้อนนั้น จะกลายเป็น 8 ล้านบาท
ถึงตรงนี้ ก็ต้องเบรกไว้ก่อนว่า
แม้ P/E จะเป็นการมองภาพใน “อดีต” ว่าธุรกิจเป็นอย่างไร
TAM ก็จะกลับข้างกัน เพราะเป็นการมอง “อนาคต” ว่าธุรกิจจะเติบโตได้มากแค่ไหน
แม้ P/E จะเป็นการมองภาพใน “อดีต” ว่าธุรกิจเป็นอย่างไร
TAM ก็จะกลับข้างกัน เพราะเป็นการมอง “อนาคต” ว่าธุรกิจจะเติบโตได้มากแค่ไหน
ซึ่งทั้ง 2 ตัวเลขนี้ หากเรามองเพียงตัวใดตัวหนึ่ง มันก็จะมีจุดอ่อน โดยเฉพาะ TAM นั้น มันจะไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าผู้บริหารและบริษัท พาตัวเองไปยืนในจุดที่เราประเมินไว้ไม่ได้..
ถ้าจะสรุปการใช้ TAM จึงถือได้ว่าเป็นการใช้มองภาพตลาดโดยรวม โดยที่หน้าที่ของเราหากนำไปใช้ ก็ต้องศึกษาและประเมินว่าบริษัทที่เราสนใจ จะเข้าไปกินส่วนแบ่งตลาดได้มากขนาดไหน ในอนาคต
โดยแก่นสำคัญสำหรับการลงทุนก็ยังคงต้องเป็นการศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เข้าใจกิจการ รู้จักแนวทางของผู้บริหารให้ได้มากที่สุด
ก่อนที่จะมาไล่ดูอัตราส่วนต่าง ๆ เช่น P/E หรือ TAM เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ
โดยแก่นสำคัญสำหรับการลงทุนก็ยังคงต้องเป็นการศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เข้าใจกิจการ รู้จักแนวทางของผู้บริหารให้ได้มากที่สุด
ก่อนที่จะมาไล่ดูอัตราส่วนต่าง ๆ เช่น P/E หรือ TAM เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ
อย่างในกรณีของ Meta เมื่อ 10 ปีก่อน หากเราศึกษาจนมั่นใจได้แล้วว่า ธุรกิจยังคงเติบโตต่อไปได้อีก มูลค่าตลาดยังมีพื้นที่ให้บริษัทเติบโตได้
แม้ว่ามันแพงเกินไป ในมุมของใครหลายคน
แต่ก็อาจจะเป็นโอกาสการลงทุนสำหรับบางคน ที่มองเห็นศักยภาพของมัน ได้เหมือนกัน..
แม้ว่ามันแพงเกินไป ในมุมของใครหลายคน
แต่ก็อาจจะเป็นโอกาสการลงทุนสำหรับบางคน ที่มองเห็นศักยภาพของมัน ได้เหมือนกัน..