3 มหาวิทยาลัยไทย ผนึก KBTG Kampus สร้างหลักสูตรปริญญาโท ปั้นคนไทยสายไอที
KBTG x ลงทุนแมน
“โลกเปลี่ยน การทำงานเปลี่ยน การศึกษาไทยก็ต้องเปลี่ยนด้วย”
นี่คือแนวคิดสรุปสั้น ๆ ของ KBTG ที่ตั้งเป้ามากกว่าการเป็นแค่บริษัทเทคโนโลยี แต่ยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการปั้นคนไทยเก่งไอที เพื่อมาเป็นกำลังหลักของประเทศ
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเปลี่ยนแปลงวงการการศึกษาไทย จึงกลายเป็นที่มาของ KBTG ที่ไปจับมือกับ 3 มหาวิทยาลัยของไทยเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ให้เกิดขึ้น
การจับมือของ 3 มหาวิทยาลัยไทยและ KBTG น่าสนใจแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของการจับมือครั้งนี้ คุณกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล หัวเรือใหญ่ของ KBTG ได้เล่าให้ฟังว่า เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลาตั้งแต่อดีต จนมาถึงยุคที่สังคมพูดถึงเรื่อง AI กันเป็นปกติไปแล้ว
เพราะปัจจุบัน คนทั่วไปยอมรับการใช้ AI ในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งยิ่งเร่งให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ด้วยเม็ดเงินมหาศาลไปพร้อมกัน จนกลายเป็นการพัฒนา Generative AI ที่ให้เราออกมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่องเต็มไปหมด
และการใช้ AI ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้เราสามารถทำอะไรได้มากขึ้น หรือที่ในทางเศรษฐศาสตร์ชอบพูดกันว่า เราจะมีผลิตภาพ หรือ Productivity เพิ่มขึ้น จนมีการคาดการณ์ว่าการมาของ AI ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของโลกกว่า 15.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573
แต่การที่เราสามารถทำอะไรได้มากขึ้น นั่นแปลว่า AI เข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานของเราภายใต้เวลาที่จำกัดเหมือนเดิม หรือพูดอีกอย่างคือ ขั้นตอนการทำงานของเราบางอย่างจะถูกแทนที่ด้วย AI
เช่น การให้ Generative AI เป็นทั้งคู่คิดในการปรึกษาไอเดีย เป็นผู้ช่วยการทำงาน และเพื่อนทำงานในการเขียน Coding ต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
ซึ่งเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว AI ไม่ได้เข้ามาแย่งงานเรา แต่เข้ามาช่วยเราเติมเต็มงานบางอย่างให้เป็นเรื่องของ AI และทำให้เรารู้อีกครั้งว่า จริง ๆ แล้วเราต้องทำงานอะไรเป็นหลัก
แต่นี่แหละคือปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะเมื่อเราต้องนิยามใหม่ว่า เราต้องทำงานอะไรเป็นหลัก
สุดท้ายสิ่งที่เราเรียนมาทั้งหมดเพื่อมาทำงาน กลับตามไม่ทันงานอนาคตที่รออยู่
สุดท้ายสิ่งที่เราเรียนมาทั้งหมดเพื่อมาทำงาน กลับตามไม่ทันงานอนาคตที่รออยู่
และนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานไอทีจำเป็น โดยเฉพาะสายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่อาจขาดแคลนมากถึง 2.5 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย
พอเป็นแบบนี้ ทำให้ KBTG มองเห็นว่า สิ่งที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงงานให้ตามทันเทคโนโลยี นั่นคือ ระบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ในมุมหนึ่ง ก็ต้องทำให้ AI กลายเป็นผู้ช่วยในระบบการศึกษา เช่น การเป็นผู้ช่วยสอนให้กับคุณครู
การออกแบบหลักสูตรให้ตรงตามนักเรียนแต่ละคน ที่ช่วยนักเรียนเข้าถึงระบบการศึกษาได้ดีขึ้น
การออกแบบหลักสูตรให้ตรงตามนักเรียนแต่ละคน ที่ช่วยนักเรียนเข้าถึงระบบการศึกษาได้ดีขึ้น
ส่วนอีกมุมหนึ่ง ก็ต้องวางแผนพัฒนาการศึกษาของผู้เรียน ให้พร้อมสำหรับยุคของ AI ไปด้วยกัน
และตรงนี้เอง ก็เป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือระหว่าง KBTG Kampus กับ 3 มหาวิทยาลัยไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อเปิดตัว 3 หลักสูตรระดับปริญญาโทด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย นั่นคือ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์ธุรกิจ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระยะเวลาเรียน 2 ปี
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะเวลาเรียน 2 ปี
- หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาเรียน 1 ปี
ระยะเวลาเรียน 1 ปี
โดย KBTG ผ่าน KBTG Kampus เข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่การคัดเลือกผู้สนใจเข้าสมัคร ไปจนถึงการดูแลหลักสูตรตั้งแต่เริ่มต้นเรียนไปจนถึงเรียนจบอีกด้วย
ซึ่งมีการลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้เอง
สะท้อนว่าไม่ใช่ KBTG Kampus ฝั่งเดียวที่เข้าไปช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาไทย
เพราะทั้ง 3 มหาวิทยาลัยไทยที่ว่ามานี้ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงภายในมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน
เพราะทั้ง 3 มหาวิทยาลัยไทยที่ว่ามานี้ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงภายในมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งเป้าให้อาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงการใช้ AI แบบพรีเมียมได้ทุกคน เพื่อให้สามารถประยุกต์กับงานของตัวเองได้มากขึ้น
หรือในฝั่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเอง ก็ไม่ได้ห้ามให้นักศึกษาใช้ AI ในการทำงานหรือการบ้านของอาจารย์ เพราะรู้ดีว่าเป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้
แต่หันไปให้โจทย์กับอาจารย์แทนว่า ต้องทำให้งานหรือการบ้านมีความท้าทายสำหรับผู้เรียนมากขึ้น ไม่ใช่การบ้านแบบเดิม ๆ อีกต่อไป
ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มองว่า ความท้าทายในยุค AI ทำให้เราต้องเน้นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้มากขึ้น รวมทั้งยังมีการสอนความรู้พื้นฐานให้นักศึกษาอยู่ เพื่อให้เอาตรงนี้ไปต่อยอดในยุค AI ได้
แล้วถ้าถามว่า อะไรคือความท้าทายของระบบการศึกษากับการเข้ามาของ AI บ้าง ?
ทาง KBTG Kampus มองว่า AI ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ต้องมาจากความเข้าใจในหลากหลายสาขาวิชาเพื่อออกแบบการใช้ AI กับเรื่องต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้เอง KBTG ก็พยายามทำให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยในไทยกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกได้
ส่วนฝั่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มองว่าเราต้องเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
และนำเอา AI มาใช้แก้ปัญหาจริงในสังคมไทย โดยเฉพาะเทรนด์สังคมผู้สูงอายุที่กำลังมา เพื่อช่วยให้คนไทยกลุ่มนี้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างดีขึ้น
และนำเอา AI มาใช้แก้ปัญหาจริงในสังคมไทย โดยเฉพาะเทรนด์สังคมผู้สูงอายุที่กำลังมา เพื่อช่วยให้คนไทยกลุ่มนี้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างดีขึ้น
ในขณะที่ฝั่งมหาวิทยาลัยมหิดล มองตรงกันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เราอยู่ในยุคที่ต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพราะเราต้องการความรู้ที่หลากหลายสาขาวิชามาสร้างผลกระทบในวงกว้างได้ เช่น ถ้าเราทำ AI เกี่ยวกับการแพทย์ เราก็ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายและจริยธรรมอื่น ๆ ด้วย
โดยกุญแจสำคัญที่ทำให้เรารับมือกับความท้าทายในยุค AI ได้ นั่นคือ ความร่วมมือระหว่างองค์กรในด้านที่ตัวเองไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกัน
และฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้เสริมว่า AI มีประโยชน์ในหลายด้านก็จริง แต่เราก็ต้องไปเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนอื่นผ่านสังคมความเป็นจริงบ้าง เพราะบางครั้งก็อาจเข้าใจในมุมที่เราไม่เคยเห็นปัญหามาก่อน และนำสิ่งที่เห็นไปแก้ปัญหาด้วยการประยุกต์ใช้ AI เข้ามาช่วยเพิ่มเติมได้
อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจสำหรับความร่วมมือครั้งนี้ นั่นคือ การเห็นภาพชัดว่ามหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน
สามารถร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้
สามารถร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้
โดยการเรียนปริญญาโท ก็คงหนีไม่พ้นการค้นคว้าวิจัยอิสระหรือการทำวิทยานิพนธ์ ทำให้ KBTG Kampus มหาวิทยาลัย และตัวผู้เรียนเอง สามารถเน้นงานวิจัยเชิงลึกจากโจทย์ที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ เผชิญอยู่
ที่สามารถนำไปต่อยอดจริง ๆ ได้
ที่สามารถนำไปต่อยอดจริง ๆ ได้
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง ดร.เจริญชัย บวรธรรมรัตน์ Senior Venture Director ของ KBTG ก็เน้นย้ำความร่วมมือครั้งนี้ว่า ทำให้งานวิจัยที่ออกมาจากมหาวิทยาลัย สามารถนำไปใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แถมยังช่วยสร้างมูลค่าให้กับงานวิจัยต่าง ๆ นั้นด้วยการแก้ปัญหาให้กับธุรกิจได้จริง
สุดท้ายแล้ว ก็ไม่ใช่แค่การออกแบบหลักสูตรด้านเทคโนโลยีเชิงลึกให้กับประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นการเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมของไทยให้ไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง
ไม่ต่างอะไรจากประเทศชั้นนำของโลกหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ที่ให้ภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ออกมาให้ตอบโจทย์และใช้งานได้จริง
ถึงตรงนี้ ก็น่าสนใจดีว่า แล้วก้าวต่อไปของ KBTG จะเป็นอย่างไร ในการเป็นมากกว่าบริษัทเทคโนโลยี
แต่ยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวงการเทคโนโลยีของเมืองไทย
แต่ยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวงการเทคโนโลยีของเมืองไทย
โดยตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ก็มี KBTG Kampus ที่มี 3 โปรแกรมหลัก เช่น KBTG Kampus ClassNest ร่วมมือกับพันธมิตรในการออกแบบหลักสูตรสร้างคนเทคโนโลยีรุ่นใหม่, KBTG Kampus Apprentice ให้นักศึกษามาฝึกงานทดแทนการเรียนในห้อง และ KBTG Kampus Co-Research กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ
มาวันนี้ ก็เปิดตัวหลักสูตรปริญญาโทร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยไทยที่พูดไปทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งถ้าใครสนใจ ก็สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของ www.kbtgkampus.tech ได้เลย
Reference
- งานแถลงข่าว KBTG Kampus: Future of Higher Education in the Age of AI and Tech Revolution วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567
- งานแถลงข่าว KBTG Kampus: Future of Higher Education in the Age of AI and Tech Revolution วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567
#KBTG #KBTGKampus #BeyondEducation #AI #MAD #CyberSecurity