เมื่อ PCE อาณาจักรปาล์มยักษ์ใหญ่จากแดนใต้ กำลังจะ IPO

เมื่อ PCE อาณาจักรปาล์มยักษ์ใหญ่จากแดนใต้ กำลังจะ IPO

เมื่อ PCE อาณาจักรปาล์มยักษ์ใหญ่จากแดนใต้ กำลังจะ IPO
PCE x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่? ประเทศไทย มีผลผลิตน้ำมันปาล์มสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
โดย 85.9% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันทั่วประเทศไทย (Harvested Area) อยู่ในภาคใต้ โดยเฉพาะในสุราษฎร์ธานี กระบี่ และชุมพร
ซึ่งในภาคใต้ตอนนี้ก็มีอยู่หนึ่งผู้ประกอบการธุรกิจปาล์มยักษ์ใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจครบลูปทั้ง Ecosystem ตั้งแต่กระบวนการผลิต ขนส่ง และแปรรูป จนในปี 2566 มีรายได้รวมสูงถึง 24,723 ล้านบาท
ผู้ประกอบการรายนี้มีชื่อว่า บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ “PCE” ที่กำลังจะ IPO เร็ว ๆ นี้

ความน่าสนใจของ ธุรกิจน้ำมันปาล์ม คืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไป 40 ปีก่อน ในปี 2527 ตระกูลประสิทธิ์ศุภผล เข้าสู่วงการธุรกิจภายใต้ PC หรือ เพชรศรีวิชัย เพื่อทำธุรกิจขนส่งสินค้าทางบก ทั้งสินค้าเหลว และสินค้าแห้งในประเทศ
ต่อมาในปี 2533 เริ่มขยายธุรกิจในนาม PKM หรือ พี.เค.มารีน เทรดดิ้ง เข้าสู่วงการคลังน้ำมันปาล์ม, คลังสินค้า, ลานเทกองสินค้า รวมทั้งบริการท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้า
และเพื่อทำให้บริการขนส่งทางเรือครบลูป ในปี 2535 จึงได้ก่อตั้ง PCM หรือ พี.ซี.มารีน (1992) เพื่อทำธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ซึ่งหนึ่งสินค้าในการขนส่งนั้นก็คือ น้ำมันปาล์ม..
ใครจะไปคิดว่าจุดนี้เอง ทำให้ธุรกิจขนส่งของ PCE เริ่มโฟกัสธุรกิจน้ำมันปาล์มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในช่วงเวลานั้น PCE พยายามสร้างอาณาจักรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมันปาล์มมากมาย ภายใต้บริษัทในเครือ ไม่ว่าจะเป็น
- ปี 2538 ก่อตั้ง PACO หรือ ปาโก้เทรดดิ้ง เพื่อซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ปี 2547 เข้าซื้อธุรกิจ GRL หรือ กรีน กลอรี่ ซึ่งเป็นธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม
- ปี 2549 ก่อตั้ง NBD หรือ นิว ไบโอดีเซล ธุรกิจโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มดิบและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล รวมถึง น้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค

- ปี 2553 ก่อตั้ง NBD Agro หรือ เอ็นบีดี อะโกร ธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชแบรนด์ “รินทิพย์”
จนมาในปี 2556 ได้ก่อตั้ง PCE เพื่อเป็น Holding Company ของตระกูลประสิทธิ์ศุภผล
ก่อนจะขยายอีกหนึ่งธุรกิจในเครือในปี 2562 คือ SVC หรือ บริษัท ศรีวิชัย นาวี จํากัด เพื่อขนส่งสินค้าและน้ำมันทางเรือในประเทศ
ที่สุดแล้วในปี 2564 PCE ก็ได้จัดโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่..
- NBD ได้ควบรวม GRL และ NBD Agro เข้ามารวมกัน
- PCM ได้ควบรวม SVC เข้ามารวมกัน
และในปี 2565 ถัดมา ได้จัดโครงสร้างกลุ่มบริษัททั้งหมดอยู่ภายใต้ PCE
เท่ากับว่า PCE ได้เข้าสู่วงการน้ำมันปาล์มครบวงจรทั้ง Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เรียบร้อยแล้ว
ถึงตรงนี้สรุปง่าย ๆ โมเดลธุรกิจ PCE ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก คือ
1. กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภค รวมถึงดําเนินธุรกิจซื้อและจําหน่ายน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ลูกค้าทั้งไทยและต่างประเทศ และการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า โดยบริษัทย่อย NBD และ PACO โดย NBD มีกําลังการผลิตไบโอดีเซล 1.3 ล้านลิตรต่อวัน สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และ PACO ก็เป็นผู้ส่งออกสินค้าน้ำมันปาล์มให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่มีปริมาณส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย
2. กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ ดำเนินการโดย PKM ซึ่งมีคลังสินค้าและลานเทกองสินค้ากว่า 50,000 ตารางเมตร คลังน้ำมันขนาด 240,000 เมตริกตัน และท่าเทียบเรือในสุราษฎร์ธานี และฉะเชิงเทรา
3. กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ ดำเนินการโดย PC ด้วยจํานวนรถกว่า 140 คัน สามารถให้บริการขนส่งสินค้าได้กว่า 1.4 ล้านตันต่อปี
4. กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ดำเนินการโดย PKM โดยสามารถขนส่งสินค้าทั่วไปไม่ต่ำกว่า 1.3 ล้านตันต่อปี และสามารถขนส่งน้ำมันกว่า 600,000 ตันต่อปี ในเส้นทางสุราษฎร์ธานี-บางปะกงเป็นหลัก
ด้วยความแข็งแกร่งนี้เอง ทำให้ PCE ครองใจลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งในสิงคโปร์ ที่สามารถค้าขายน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (CPKO) มานานกว่า 20 ปี เลยทีเดียว
แล้วโครงสร้างรายได้ PCE เป็นอย่างไร?
ปี 2566 PCE มีรายได้รวม 24,723 ล้านบาท กำไรสุทธิ 331 ล้านบาท
โดยมีฐานลูกค้าหลักเป็นลูกค้าภายในประเทศ 63.67% และเป็นลูกค้าต่างประเทศ 36.33%
ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะว่าสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างประเทศจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อปริมาณน้ำมันปาล์มดิบออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการใช้ในประเทศ นั่นเอง
และอีกหนึ่งจุดเด่นของ PCE ต้องยกให้เรื่อง ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ..
สังเกตได้จากทำเลที่ตั้งของโรงงานและคลังน้ำมันของ PCE อยู่ในสุราษฎร์ธานี
ถือเป็นจุดศูนย์กลางที่สามารถรับซื้อวัตถุดิบจากคู่ค้าในพื้นที่รอบข้างได้ง่าย ทั้งในสุราษฎร์ธานีเอง รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เช่น ชุมพร กระบี่ ตรัง ยะลา สตูล ฯลฯ
ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ด้าน Supply ที่ส่งผลประโยชน์ต่อ PCE
แต่ด้าน Demand ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้น้ำมันปาล์มดิบ มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซล หรือน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงเพื่อการผลิตน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค
ขณะเดียวกัน ผลพลอยได้จากการผลิต เช่น น้ำเสียจากการผลิต ทะลายปาล์มเปล่า กะลาปาล์ม เป็นต้น
PCE ยังสามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายได้อีกด้วย
แล้วสงสัยไหมว่า ทำไม PCE ต้องการ IPO ในปีนี้..
คำตอบง่าย ๆ ที่ PCE ต้องการ IPO จำนวน 750,000,000 หุ้น คิดเป็น 27.27% ของทั้งหมด เพื่อเป็นทุนสร้างการเติบโตของธุรกิจ
- ลงทุนในกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมันปาล์มของบริษัท เช่น โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการจัดหาวัตถุดิบน้ำมันปาล์มดิบ ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
- ลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อขยายกำลังการผลิต และเพื่อปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน NBD
- เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของ PCE
ภายใต้วิสัยทัศน์ของ PCE ที่ต้องการจะเป็นผู้นำอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เพื่อผลิตไบโอดีเซล ในธุรกิจพลังงาน พร้อมผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปาล์มที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Consumer Product
หลังจากเข้า IPO ต่อไปจะเป็นอย่างไร ก็น่าจับตามองเลยทีเดียว..

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon