อาณาจักรพันล้าน PCL ธุรกิจผลิต-นำเข้า-ห้องแล็บ-เทคโนโลยีทางการแพทย์ กำลังจะ IPO

อาณาจักรพันล้าน PCL ธุรกิจผลิต-นำเข้า-ห้องแล็บ-เทคโนโลยีทางการแพทย์ กำลังจะ IPO

PCL x ลงทุนแมน
การเข้าสู่สังคมสูงวัย, การเกิดโรคอุบัติใหม่, การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และการเข้ามาทำงานของชาวต่างชาติในไทย (EXPAT)
รู้หรือไม่ว่า ปัจจัยเหล่านี้ กำลังส่งผลให้หนึ่งอุตสาหกรรมไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เรากำลังพูดถึง อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าในปี 2567 อาจขยายตัวถึง 7%
เครื่องมือแพทย์ชั้นนำส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ต่างชาติ จำเป็นต้องอาศัยธุรกิจไทยเป็นผู้นำเข้ามาในไทย
โดยหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มานานกว่า 30 ปีคือ บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PCL ที่กำลังจะ IPO เร็ว ๆ นี้
โครงสร้างธุรกิจของ PCL น่าสนใจเพียงใด ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปในปี 2538 คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา และหุ้นส่วนร่วมกันก่อตั้ง PCL เป็นครั้งแรก
เพื่อทำธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือและน้ำยาตรวจวิเคราะห์โรค ทั้งในสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมทั้งให้บริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
เมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจ PCL ขยายบริการมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนมี 3 กลุ่มธุรกิจหลักในตอนนี้ คือ
1. ธุรกิจผลิต นำเข้า จำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ น้ำยา ตรวจวิเคราะห์โรค และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
ลักษณะเป็นทั้งผู้จัดจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศไทย และผู้จัดจำหน่ายทั่วไป ให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 36 แบรนด์
เช่น Beckman Coulter, Arkray, Immucor, Lifotronic Technology, MGI Tech
นอกจากนี้ PCL ยังคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ๆ อีกด้วย
เช่น อุปกรณ์เชื่อมต่อกับท่อลมส่งหลอดเลือดความเร็วสูงอัตโนมัติ และเทคโนโลยีระบบสายพาน ที่ออกจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2565
ล่าสุด PCL กำลังพัฒนาเครื่องมือแขนกลอัจฉริยะสำหรับ Lab Automation ที่เชื่อมต่อระบบการตรวจวิเคราะห์แบบครบวงจร
ที่คาดว่าจะจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ได้ภายในปี 2567 นี้
โดยธุรกิจกลุ่มนี้ในปัจจุบันบริหารภายใต้ 3 บริษัท คือ
- PCN หรือ บจ.พี ซี เอ็น เฮลธ์แคร์
ธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ด้าน Molecular Diagnostics, Blood Bank และ Women Health
- DREW หรือ บจ.ดรูไบโอ (ไทยแลนด์)
ธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องมือวิเคราะห์โรค เน้นกลุ่มเบาหวาน, โรคธาลัสซีเมีย, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- RIT หรือ บจ.อาร์ไอที แอดวานซ์
ธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพและความงาม
2. ธุรกิจบริการรับตรวจวิเคราะห์โรคสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และบริการรับตรวจสุขภาพ สำหรับบุคคลทั่วไป
โดย PCL รับตรวจวิเคราะห์โรคให้โรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในกลุ่มโรคต่าง ๆ เช่น
- กลุ่มเคมีคลินิก (Chemistry)
- ภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology)
- ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
- โฟลไซโทเมทรี (Flow Cytometry)
- โลหิตวิทยา (Hematology)
- จุลชีววิทยา (Microbiology)
- อณูพันธุศาสตร์ (Molecular)
ปัจจุบันดำเนินธุรกิจกลุ่มนี้ภายใต้ 2 บริษัท คือ
- PCT หรือ บจ.พี ซี ที ลาบอราตอรี่ เซอร์วิส
คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ให้กับลูกค้าองค์กร (B2B)
- PWL หรือ บจ.พี ซี แอล เวลล์เนส แอนด์ ลองจีวิตี้
บริการตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป (B2C) ที่เน้นป้องกันก่อนเกิดโรค และใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ดูแลสุขภาพควบคู่กันไป
โดยล่าสุด แล็บแห่งที่ 2 กำลังปรับปรุงสถานที่ คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2568
3. ธุรกิจผลิต พัฒนา และจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์
รวมทั้ง การติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้บริษัท RAX หรือ แร็กซ์ อินเตอร์ไดนอสติค
ตัวอย่างก็เช่น LIS หรือ Laboratory Information System โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์ เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องมือทุกชนิดในห้องแล็บ
และฐานข้อมูลของโรงพยาบาลที่เรียกว่า HIS หรือ Hospital Information Systems
ซึ่งคาดว่าในอนาคต อาจจะขยายฐานลูกค้าสำหรับธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ไปยังต่างประเทศอย่าง มาเลเซีย, ลาว, อินโดนีเซีย อีกด้วย
ถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า อาณาจักรของ PCL ครอบคลุมทุกความต้องการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต นำเข้า บริการห้องแล็บ รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ แบบครบวงจร
แล้วโครงการรายได้ของ PCL ในปี 2566 เป็นอย่างไร ?
ปี 2566 มีรายได้รวม 2,281 ล้านบาท กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท
โดยสัดส่วนรายได้แบ่งออกเป็น
81.63% กลุ่มธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายทางการแพทย์
16.56% กลุ่มธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
0.87% กลุ่มธุรกิจโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ พร้อมบริการซ่อมแซมบำรุง
0.93% อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ยรับ
ที่น่าสนใจคือ สินค้า Routine Test มีสัดส่วนยอดขายสูงถึง 2 ใน 3 ของทั้งหมด
ซึ่งเป็นกลุ่มวิเคราะห์โรคชนิดตรวจเป็นประจำขั้นพื้นฐานทั่วไป เช่น ตรวจชีวเคมี, ตรวจภูมิคุ้มกัน, ตรวจโลหิต, ตรวจปัสสาวะ และตรวจแบคทีเรีย
ทีนี้ ลองมาดูสัดส่วนรายได้ตามกลุ่มลูกค้าในปี 2566 กันบ้าง ซึ่งพบว่า
72.99% โรงพยาบาลรัฐ
20.98% โรงพยาบาลและบริษัทเอกชน
6.03% อื่น ๆ เช่น ห้องแล็บเอกชน
แม้ว่า PCL จะพึ่งพาโรงพยาบาลภาครัฐเป็นหลัก
แต่ก็ไม่ลืมที่จะบริหารความเสี่ยงด้วยการไม่พึ่งพาลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากเกินไป
สังเกตได้จากตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่มีลูกค้ารายใดที่มียอดสั่งซื้อเกินกว่า 10% ของทั้งหมด
แล้วทำไม PCL ต้องการ IPO ในปี 2567 นี้ ?
เหตุผลที่ PCL ต้องการ IPO จำนวน 410,000,000 หุ้น คิดเป็น 26.05% ของทั้งหมด
นั่นก็เพราะ PCL ต้องการเงินทุนนำไปขยายธุรกิจภายใต้ 4 วัตถุประสงค์หลัก คือ
- ลงทุนเครื่องมือวิเคราะห์โรค เพื่อขยายส่วนแบ่งทางการตลาด
- คืนเงินกู้สถาบันการเงิน
- เงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ
- ลงทุนศูนย์ตรวจสุขภาพ PCL Wellness & Longevity รวมทั้ง การลงทุนเครื่องมือตรวจสุขภาพเพิ่มเติม และเครื่องมือเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น CTC (Circulating Tumor Cells) ตรวจหาเซลล์มะเร็ง
ถึงตรงนี้ หากใครเชื่อมั่นว่า อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ยังคงเติบโตสวยงามในอนาคต
PCL ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทที่มีโครงสร้างธุรกิจรองรับเทรนด์นี้ ไว้เรียบร้อยแล้ว
ว่าแต่หลังจาก IPO แล้ว PCL จะเติบโตเพียงใด ก็น่าติดตามไม่น้อย..
Tag: IPOPCL

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon