อิชิตัน กำไร 1,100 ล้าน โต 72% เพราะขายดี จนเกิด Economies of scale

อิชิตัน กำไร 1,100 ล้าน โต 72% เพราะขายดี จนเกิด Economies of scale

อิชิตัน กำไร 1,100 ล้าน โต 72% เพราะขายดี จนเกิด Economies of scale /โดย ลงทุนแมน
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของคุณตัน ภาสกรนที เพิ่งรายงานผลประกอบการปี 2566 ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับผลประกอบการปีก่อน ๆ
ปี 2564 รายได้ 5,251 ล้านบาท กำไร 547 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 6,360 ล้านบาท กำไร 642 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 8,085 ล้านบาท กำไร 1,100 ล้านบาท
ตัวเลขที่น่าสนใจคือ กำไรสุทธิปี 2566 ของอิชิตัน เติบโตประมาณ 72% เมื่อเทียบกับปีก่อน
โดย อิชิตัน ให้เหตุผลสำคัญที่ทำให้กำไรเพิ่มได้มาก คืออิชิตัน มีอัตราส่วนต้นทุนขายต่อรายได้ ที่ลดลง
ปี 2565 ต้นทุนขายต่อรายได้ 81.3%
ปี 2566 ต้นทุนขายต่อรายได้ 76.6%
และบริษัทอธิบายว่า ที่ต้นทุนขายต่อรายได้ ลดลง เพราะมีการผลิตสินค้าที่มากขึ้น ตามความต้องการตลาด จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Economies of Scale”
ซึ่งเรื่องนี้คุณตัน เคยเล่าในรายการ THE BRIEFCASE ของลงทุนแมน ว่าแม้จะมีโรงงานที่ผลิตน้ำได้วันละ 100 ล้านขวด แต่ก็มีบางช่วงที่ออเดอร์พีกมาก จนผลิตไม่ทัน..
แล้วคำว่า Economies of Scale หมายความว่าอะไร ?
Economies of scale แปลเป็นภาษาไทยคือ การประหยัดต่อขนาด
คอนเซปต์ของคำนี้อธิบายง่าย ๆ คือ การที่ “ต้นทุนต่อหน่วยลดลง จากการผลิตสินค้าที่มากขึ้น”
โดยต้นทุนของการทำธุรกิจ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
- ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือ ต้นทุนที่ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย ก็ยังต้องจ่ายเท่าเดิม
- ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ต้นทุนที่แปรผันไป ตามจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
ตัวอย่างของการผลิตที่เกิด Economies of scale ก็เช่น
ถ้าเราผลิตน้ำ 100,000 ขวดต่อวัน มีต้นทุนรวม 300,000 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร 200,000 บาท และเป็นต้นทุนคงที่ 100,000 บาท
หมายความว่า ต้นทุนรวมต่อขวด คือ 3 บาท
คือเป็นต้นทุนคงที่ต่อขวด เท่ากับ 1 บาท
และต้นทุนผันแปรต่อขวด เท่ากับ 2 บาท
ต่อมาเราผลิตน้ำเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็น 200,000 ขวด ต่อวัน
ทำให้ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเช่นกัน เป็น 400,000 บาท
ขณะที่ต้นทุนคงที่เท่าเดิม ที่ 100,000 บาท
หมายความว่า ตอนนี้ น้ำดื่มที่เราผลิต จะมีต้นทุนรวมเท่ากับ 500,000 บาท
แต่ต้นทุนรวมต่อขวด ลดลงเหลือเท่ากับ 2.5 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนผันแปรต่อขวดที่ 2 บาท
และต้นทุนคงที่ต่อขวดที่ 0.5 บาท
เราจะเห็นว่า ต้นทุนคงที่ต่อขวดนั้น ลดลง เมื่อเราเพิ่มการผลิตน้ำดื่มมากขึ้น
เพราะรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ ถูกกระจายไปยังน้ำดื่มแต่ละขวดได้มากขึ้น
ซึ่งนี่ก็คือวความหมายของการเกิด Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด
แบบที่เกิดขึ้นกับเคสของ อิชิตัน ในตอนนี้ จนทำให้มีกำไร 1,100 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา..
และในวันที่ 30 มีนาคม เป็นโอกาสอันดี ที่จะได้พบกับ คุณตัน ภาสกรนที เจ้าของ อิชิตัน พร้อมกับผู้ประกอบการระดับสุดของประเทศอีกหลายท่าน
เช่น คุณโอ๊ต ปราโมทย์ จากโคตรคูล, คุณรัส จากชาไทย Karun, คุณนาม จากโทฟุซัง และอีกนับสิบผู้ก่อตั้งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเป็นระดับร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน ในเวลานี้
งาน The Entrepreneur Forum 2024 เสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 สถานที่ Samyan Mitrtown Hall, ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ชั้น 5
งานนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้ต้องการ insight จากธุรกิจจริง เพื่อต่อยอดทำจริง
- หาแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ
- ผู้ต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง
บัตรมีจำนวนจำกัด เรียงลำดับตามเวลาจอง
สามารถดูรายละเอียดและซื้อบัตรได้ที่
https://www.zipeventapp.com/e/The-Entrepreneur-Forum-2024
แล้วคุณจะพบว่า การสร้างธุรกิจแบบ คุณตัน ภาสกรนที เจ้าของ อิชิตัน มันมีรายละเอียด และถ้าตั้งใจทำเราก็อาจเป็นคนนั้นได้..
Reference
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2566 บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon