ทำไม SINGER มูลค่าหายไป 40,000 ล้าน ใน 2 ปี

ทำไม SINGER มูลค่าหายไป 40,000 ล้าน ใน 2 ปี

ทำไม SINGER มูลค่าหายไป 40,000 ล้าน ใน 2 ปี /โดย ลงทุนแมน
SINGER นับเป็นหนึ่งในหุ้นร้อนแรง โดยมูลค่าบริษัทเคยขึ้นไปสูงสุดถึง 48,000 ล้านบาท เมื่อปีก่อน
แต่ต่อมาก็เริ่มเผชิญปัญหา จากบริษัทที่เคยมีกำไรเกือบพันล้านบาท กลับมาขาดทุน มูลค่าบริษัทลดลงเหลือเพียงแค่ 8,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปี
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับ SINGER ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
SINGER เป็นบริษัทลูกของ JMART เจ้าของร้านโทรศัพท์มือถือที่เรารู้จักกันดี
SINGER ทำธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ซิงเกอร์ เช่น จักรเย็บผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ และยังมีธุรกิจปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถอีกด้วย
โดยโมเดลธุรกิจของบริษัท เริ่มแรกคือการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อน ผ่านตัวแทนขายกว่า 2,000 สาขา
ต่อมาขยายธุรกิจไปทำจำนำทะเบียนรถ ตั้งแต่ รถมอเตอร์ไซค์ รถกระบะ จนไปถึงรถบรรทุก
สรุปได้ว่า รายได้ของบริษัท จะมาจาก
- รายได้จากการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า
- รายได้จากดอกเบี้ยปล่อยกู้
โดยในช่วงที่บริษัทเติบโต จากการเร่งปล่อยสินเชื่อจำนวนมาก หากเราย้อนกลับไปดูรายได้และกำไรของ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 3,658 ล้านบาท กำไร 443 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 4,397 ล้านบาท กำไร 701 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 5,205 ล้านบาท กำไร 935 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า SINGER มีกำไรเติบโตเป็นเท่าตัว ภายในระยะเวลา 3 ปี
จึงไม่น่าแปลกใจที่มูลค่าบริษัท ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว จนทำจุดสูงสุดที่ 48,000 ล้านบาท จากความคาดหวังว่าบริษัทจะเติบโตต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ
แต่แล้วเมื่อไม่นานมานี้ จากการเติบโตของบริษัทที่เราเห็นนั้น ก็ได้ถูกเฉลยว่า มาจากการเร่งปล่อยสินเชื่อ โดยไม่ควบคุมคุณภาพหนี้
เมื่อไม่มีการควบคุม หนี้เสียจึงเพิ่มขึ้น และบริษัทต้องตั้งสำรองเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
หากเราเข้าไปดูว่าในงบการเงิน 6 เดือน ของปี 2566 บริษัทมีรายได้ 1,680 ล้านบาท ขาดทุน 3,813 ล้านบาท
โดยผลขาดทุนหลัก ๆ มาจากการตั้งสำรองไปแล้วกว่า 3,800 ล้านบาท เท่ากับว่ากำไรที่บริษัทเคยทำมาตลอดระยะเวลา 3 ปี หายไปทั้งหมด ภายในครึ่งปีนี้
ซึ่งในช่วงที่บริษัทเติบโต ก็มีเหตุการณ์ที่สำคัญกับบริษัท หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มทุน และการนำบริษัทลูกอย่าง SGC เข้าตลาดหุ้น
เมื่อช่วงปีก่อน SINGER ได้มีการเพิ่มทุนจำนวน 305 ล้านหุ้น โดยในการเพิ่มทุนครั้งนั้น เป็นการเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 5 หุ้นเดิม แลก 1 หุ้นใหม่ และเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง
ในราคา 36.30 บาท การเพิ่มทุนครั้งนั้น ทำให้บริษัทมีเงินเพิ่มขึ้นราว ๆ 10,000 ล้านบาท
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ SINGER ได้แยกบริษัทลูกอย่าง SGC ออกมา
ซึ่งบริษัทลูกนี้เอง ทำธุรกิจ ให้สินเชื่อ โดยแบ่งออกเป็น
1. สินเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
หลังจากเพิ่มทุน และนำบริษัทลูกเข้าตลาดหุ้น SINGER ยังมีรายได้จากการขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ผ่านตัวแทนกว่า 2,000 ร้านอยู่
และจะได้รับส่วนแบ่งกำไรและขาดทุน จากการถือหุ้นใน SGC ที่ถือสูงถึง 74.92%
ถึงตรงนี้ เราคงจะเห็นแล้วว่า ในช่วงที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับ SINGER ซึ่งก็น่าติดตามเหมือนกันว่า บริษัทจะกลับมาเติบโตเหมือนเมื่อก่อน ได้หรือไม่
เรื่องราวของ SINGER ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่ดีสำหรับนักลงทุน ที่ต้องเข้าใจให้ดีว่า การเติบโตของบริษัทนั้น มีเหตุผลมาจากอะไร
หากเราดูเพียงแค่ว่าบริษัท มีรายได้และกำไร เติบโตเท่าไร แต่ไม่ได้เข้าใจในธุรกิจ เราก็อาจจะพลาดได้ โดยที่กว่าจะมารู้อีกที เราก็ขาดทุนไปแล้ว โดยไม่ทันตั้งตัว..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-งบการเงิน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 24/08/2566
-https://www.ryt9.com/s/prg/3268227
Tag: SINGER

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon