กรณีศึกษา โตชิบาก้าวผิด จนต้องขายธุรกิจตัวเอง
กรณีศึกษา โตชิบาก้าวผิด จนต้องขายธุรกิจตัวเอง /โดย ลงทุนแมน
“โตชิบา นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เป็นหนึ่งในสโลแกนของแบรนด์ ที่น่าจะคุ้นหูคนไทยมาหลายยุคหลายสมัย
ซึ่งก็คงไม่แปลกอะไร เพราะโตชิบา ทำธุรกิจบนโลกนี้มายาวนานถึง 147 ปี
“โตชิบา นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เป็นหนึ่งในสโลแกนของแบรนด์ ที่น่าจะคุ้นหูคนไทยมาหลายยุคหลายสมัย
ซึ่งก็คงไม่แปลกอะไร เพราะโตชิบา ทำธุรกิจบนโลกนี้มายาวนานถึง 147 ปี
แม้ว่าเราจะรู้จักแบรนด์โตชิบา ในฐานะผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า
แต่ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทแห่งนี้ ยังมีธุรกิจผลิตชิปเซต ผลิตลิฟต์
แถมยังทำโรงงานบำบัดน้ำ ไปจนถึงโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์..
แต่ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทแห่งนี้ ยังมีธุรกิจผลิตชิปเซต ผลิตลิฟต์
แถมยังทำโรงงานบำบัดน้ำ ไปจนถึงโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์..
รู้หรือไม่ว่า โตชิบา เคยมีมูลค่ามากถึง 1 ล้านล้านบาท ในปี 2007
แต่ในวันนี้ กลับมีมูลค่าเหลือเพียง 6 แสนล้านบาท
แล้วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับโตชิบาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
1. เจอการแข่งขัน แถมตกแต่งบัญชี
แต่ในวันนี้ กลับมีมูลค่าเหลือเพียง 6 แสนล้านบาท
แล้วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับโตชิบาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
1. เจอการแข่งขัน แถมตกแต่งบัญชี
เมื่อเราย้อนกลับไปในช่วงปี 2000 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า, โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์สินค้าจากประเทศญี่ปุ่น
แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา บริษัทญี่ปุ่นกลับมีคู่แข่งหน้าใหม่ อย่างบริษัทจากประเทศจีน เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แม้ว่าคุณภาพอาจจะยังไม่ดีเท่า แต่แบรนด์จีนมักมีจุดขาย คือการนำเสนอราคาที่ต่ำกว่าตลาด ตัวอย่างก็เช่น
- แบรนด์ทีวีจีน TCL และ Hisense
- แบรนด์แอร์ Haier
- แบรนด์คอมพิวเตอร์ Lenovo
- แบรนด์สมาร์ตโฟน Huawei และ Xiaomi
- แบรนด์แอร์ Haier
- แบรนด์คอมพิวเตอร์ Lenovo
- แบรนด์สมาร์ตโฟน Huawei และ Xiaomi
แบรนด์เหล่านี้ ได้เข้ามาแข่งขันกับบริษัทจากญี่ปุ่นโดยตรง
และเมื่อใดก็ตามที่เกิดการแข่งขัน
ความสามารถในการทำกำไร ในอุตสาหกรรมนั้น ก็จะลดลงทันที
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโตชิบาก็คือ บริษัทเริ่มขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
ความสามารถในการทำกำไร ในอุตสาหกรรมนั้น ก็จะลดลงทันที
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโตชิบาก็คือ บริษัทเริ่มขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
แต่แทนที่บริษัทจะปรับกลยุทธ์ในเชิงผลิตภัณฑ์ ให้มีความโดดเด่นมากขึ้น หรือหันไปควบคุมค่าใช้จ่าย
โตชิบา กลับเลือกเส้นทางที่เลวร้ายที่สุด อย่างการ “ตกแต่งบัญชี” เพื่อปกปิดการขาดทุน..
โตชิบา กลับเลือกเส้นทางที่เลวร้ายที่สุด อย่างการ “ตกแต่งบัญชี” เพื่อปกปิดการขาดทุน..
ซึ่งกว่านักลงทุนและตลาดจะรับรู้เรื่องดังกล่าว
ก็กินระยะเวลาไปกว่า 7 ปี ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปี 2015
ซึ่งก็มีการค้นพบภายหลังว่า บริษัทระบุกำไรเกินจริงไปมากกว่า 42,611 ล้านบาท..
ก็กินระยะเวลาไปกว่า 7 ปี ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปี 2015
ซึ่งก็มีการค้นพบภายหลังว่า บริษัทระบุกำไรเกินจริงไปมากกว่า 42,611 ล้านบาท..
2. วางเดิมพันในธุรกิจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ธุรกิจดั้งเดิมกำลังเผชิญกับการแข่งขัน
อีกหนึ่งการตัดสินใจที่ผิดพลาดของโตชิบา ก็คือการเข้าไปลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
อีกหนึ่งการตัดสินใจที่ผิดพลาดของโตชิบา ก็คือการเข้าไปลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
เพราะมองว่าแหล่งพลังงานหลักอย่าง ถ่านหินและน้ำมัน ไม่ใช่พลังงานที่ยั่งยืนในระยะยาว
อีกทั้งโซลาร์เซลล์ หรือพลังงานน้ำ ก็ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งานได้
โตชิบา จึงเลือกลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
เพราะมองว่าแหล่งพลังงานนี้เป็นอนาคต
แถมยังให้กำเนิดพลังงานได้เป็นจำนวนมาก และเป็นพลังงานสะอาด
อีกทั้งโซลาร์เซลล์ หรือพลังงานน้ำ ก็ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งานได้
โตชิบา จึงเลือกลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
เพราะมองว่าแหล่งพลังงานนี้เป็นอนาคต
แถมยังให้กำเนิดพลังงานได้เป็นจำนวนมาก และเป็นพลังงานสะอาด
โดยโตชิบาตัดสินใจเข้าซื้อ Westinghouse บริษัทโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา
ด้วยมูลค่ามากกว่า 191,735 ล้านบาท โดยคิดว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
จะกลายเป็นพลังงานหลักของโลกในอนาคต
ด้วยมูลค่ามากกว่า 191,735 ล้านบาท โดยคิดว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
จะกลายเป็นพลังงานหลักของโลกในอนาคต
จริง ๆ แล้ว การลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ในสมัยนั้น
แต่โตชิบากลับโชคร้าย เพราะประเทศญี่ปุ่นกลับประสบภัยน้ำท่วมใหญ่จากสึนามิ ในปี 2011
แต่โตชิบากลับโชคร้าย เพราะประเทศญี่ปุ่นกลับประสบภัยน้ำท่วมใหญ่จากสึนามิ ในปี 2011
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้ง 3 เตาของบริษัทหลอมละลาย และก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยรอบบริเวณ
จนรัฐบาลญี่ปุ่น รวมถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ตระหนักถึงความเสี่ยงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงใหม่ ๆ ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก
ทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงใหม่ ๆ ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างที่ล่าช้า, เงินลงทุนที่หายไป และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
จากทั้งระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานใหม่ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด
โครงสร้างอาคารจะต้องแข็งแรงขึ้น
ไปจนถึง ราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น และค่าแรงกับค่าเสี่ยงภัยของพนักงานก่อสร้าง ที่ต้องเพิ่มขึ้นตามมา
จากทั้งระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานใหม่ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด
โครงสร้างอาคารจะต้องแข็งแรงขึ้น
ไปจนถึง ราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น และค่าแรงกับค่าเสี่ยงภัยของพนักงานก่อสร้าง ที่ต้องเพิ่มขึ้นตามมา
ทำให้ CB&I Stone บริษัทก่อสร้างซึ่งเป็นคู่สัญญากับ Westinghouse ตัดสินใจขายบริษัทลูก
ที่กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในขณะนั้นออกมา
ที่กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในขณะนั้นออกมา
Westinghouse ซึ่งไม่มีทางเลือกมากนัก จึงเข้าซื้อแผนกก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต่อจากบริษัท CB&I Stone เพื่อไม่ให้กระทบกับการก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด
ทำให้ Westinghouse มีสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในสหรัฐอเมริกามากถึง 4 เตา
บวกกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และหนี้สินจำนวนมาก ในที่สุดบริษัทก็ต้องยื่นล้มละลายในปี 2017..
บวกกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และหนี้สินจำนวนมาก ในที่สุดบริษัทก็ต้องยื่นล้มละลายในปี 2017..
เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้โตชิบาที่เป็นบริษัทแม่
ต้องบันทึกขาดทุนจาก Westinghouse มากถึง 319,594 ล้านบาท
และการบันทึกขาดทุนครั้งนี้เอง ทำให้กำไรสะสมของบริษัทหายไปทั้งหมด
กระทบไปยังส่วนผู้ถือหุ้นที่ปรับตัวลดลงเรื่อย ๆ
ต้องบันทึกขาดทุนจาก Westinghouse มากถึง 319,594 ล้านบาท
และการบันทึกขาดทุนครั้งนี้เอง ทำให้กำไรสะสมของบริษัทหายไปทั้งหมด
กระทบไปยังส่วนผู้ถือหุ้นที่ปรับตัวลดลงเรื่อย ๆ
เมื่อบริษัทเจอปัญหาขาดทุนอย่างหนัก และขาดสภาพคล่อง
โตชิบาจึงจำเป็นต้องขายกิจการต่าง ๆ ออกมา เพื่อความอยู่รอด
โตชิบาจึงจำเป็นต้องขายกิจการต่าง ๆ ออกมา เพื่อความอยู่รอด
ปี 2015 โตชิบาขายหุ้น 4.6% ในธุรกิจลิฟต์ ด้วยมูลค่า 33,533 ล้านบาท
และธุรกิจ Image Sensor ให้ Sony ด้วยมูลค่า 5,497 ล้านบาท
และธุรกิจ Image Sensor ให้ Sony ด้วยมูลค่า 5,497 ล้านบาท
ปี 2016 ขายธุรกิจเครื่องมือทางการแพทย์ทั้งหมดให้ Canon ด้วยมูลค่า 209,273 ล้านบาท
รวมถึงขายหุ้น 80% ของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าให้บริษัท Midea จากประเทศจีน
ด้วยมูลค่า 16,777 ล้านบาท อีกทั้งยังให้สิทธิ์ใช้ชื่อแบรนด์โตชิบา เป็นระยะเวลา 40 ปี
รวมถึงขายหุ้น 80% ของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าให้บริษัท Midea จากประเทศจีน
ด้วยมูลค่า 16,777 ล้านบาท อีกทั้งยังให้สิทธิ์ใช้ชื่อแบรนด์โตชิบา เป็นระยะเวลา 40 ปี
ปี 2018 ออกจากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ด้วยการขายบริษัท Westinghouse
ด้วยมูลค่า 163,162 ล้านบาท ให้กับบริษัท Brookfield
และขายหุ้นในธุรกิจคอมพิวเตอร์ให้กับ Sharp 80% ด้วยมูลค่า 1,278 ล้านบาท
ด้วยมูลค่า 163,162 ล้านบาท ให้กับบริษัท Brookfield
และขายหุ้นในธุรกิจคอมพิวเตอร์ให้กับ Sharp 80% ด้วยมูลค่า 1,278 ล้านบาท
อีกทั้งยังขายธุรกิจชิปความจำ ที่เดิมทีเป็นอีกธุรกิจหลักให้กับ Bain Capital
ด้วยมูลค่า 639,306 ล้านบาท และกลายเป็นเพียงผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 40% เท่านั้น
ด้วยมูลค่า 639,306 ล้านบาท และกลายเป็นเพียงผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 40% เท่านั้น
โดยในปีนี้ โตชิบาก็ยังมีแผนที่จะขายหุ้นที่เคยลงทุนใน Carrier บริษัทผู้ผลิตแอร์ในสัดส่วน 55%
ทำให้หลังจากดีลนี้สำเร็จ โตชิบาจะเหลือสัดส่วนการถือหุ้นเพียงแค่ 5% เท่านั้น
ทำให้หลังจากดีลนี้สำเร็จ โตชิบาจะเหลือสัดส่วนการถือหุ้นเพียงแค่ 5% เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า แม้จะเป็นบริษัทระดับโลก และทำธุรกิจมายาวนานเกินกว่าร้อยปี
บริษัทก็ยังเผชิญกับความเสี่ยง จากทั้งคู่แข่งหน้าใหม่ รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ทั้งนั้น
อย่างโตชิบาในวันนี้
ที่ต้องแก้ไขความผิดพลาดในอดีต
ด้วยการทยอยขายกิจการของตัวเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.reuters.com/article/us-toshiba-accounting-board-idUSKBN17006K
-https://www.powermag.com/how-westinghouse-symbol-of-u-s-nuclear-power-collapsed/
-https://asia.nikkei.com/Business/Companies/Backed-by-Foxconn-Sharp-returns-to-PCs-with-Toshiba-unit-purchase
-https://qz.com/968747/it-took-toshiba-70-years-to-reach-its-peak-and-just-a-decade-to-fall-into-an-abyss/
-https://www.theindianwire.com/business/the-fall-of-a-giant-toshiba-wraps-up-its-laptop-business-281985/
-https://www.nationthailand.com/in-focus/30282939
-https://www.japantimes.co.jp/news/2015/07/22/business/corporate-business/troubled-toshiba-sell-1-billion-stake-finnish-elevator-maker-kone/
-https://asia.nikkei.com/Business/Where-did-Toshiba-go-wrong-and-where-does-it-go-now
-https://asia.nikkei.com/Spotlight/Toshiba-in-turmoil/Westinghouse-bankruptcy-leaves-Toshiba-facing-1tn-yen-net-loss
บริษัทก็ยังเผชิญกับความเสี่ยง จากทั้งคู่แข่งหน้าใหม่ รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ทั้งนั้น
อย่างโตชิบาในวันนี้
ที่ต้องแก้ไขความผิดพลาดในอดีต
ด้วยการทยอยขายกิจการของตัวเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.reuters.com/article/us-toshiba-accounting-board-idUSKBN17006K
-https://www.powermag.com/how-westinghouse-symbol-of-u-s-nuclear-power-collapsed/
-https://asia.nikkei.com/Business/Companies/Backed-by-Foxconn-Sharp-returns-to-PCs-with-Toshiba-unit-purchase
-https://qz.com/968747/it-took-toshiba-70-years-to-reach-its-peak-and-just-a-decade-to-fall-into-an-abyss/
-https://www.theindianwire.com/business/the-fall-of-a-giant-toshiba-wraps-up-its-laptop-business-281985/
-https://www.nationthailand.com/in-focus/30282939
-https://www.japantimes.co.jp/news/2015/07/22/business/corporate-business/troubled-toshiba-sell-1-billion-stake-finnish-elevator-maker-kone/
-https://asia.nikkei.com/Business/Where-did-Toshiba-go-wrong-and-where-does-it-go-now
-https://asia.nikkei.com/Spotlight/Toshiba-in-turmoil/Westinghouse-bankruptcy-leaves-Toshiba-facing-1tn-yen-net-loss