กรณีศึกษา ttb กับกลยุทธ์ The Bank of Financial Well-being

กรณีศึกษา ttb กับกลยุทธ์ The Bank of Financial Well-being

ttb x ลงทุนแมน
ในช่วงปีที่ผ่านมา หนึ่งในธนาคารที่กำลังเติบโตจนเป็นที่น่าจับตามอง
นั้นก็คือ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb)
นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่ออย่างที่รู้กันดี
ณ วันนี้สถาบันการเงินกำลังถูกท้าทายจากกระแส Disruption รอบด้านจนถึงการระบาดของโควิด-19
นำมาซึ่งการปรับตัวและการแข่งขันที่ดุเดือดอย่างไม่มีใครยอมใคร
คำถามคือแล้ว ttb ปรับตัวอย่างไร ถึงก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ จนสามารถเติบโตในปีที่ผ่านมา
ข้อสงสัยเหล่านี้ ได้ถูกเฉลยในงานแถลงข่าว กลยุทธ์ของ ttb ที่เพิ่งผ่านไป
ด้วยปรากฏการณ์ที่สร้างสถิติตัวเลขเติบโตในหลายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ttb ใช้วิธีคิดในการทำธุรกิจอย่างไร ถึงเติบโตในสถานการณ์เช่นนี้
จนถึงการจัดตั้งทีมใหม่ ttb spark จะช่วยทำให้ ttb โดดเด่นในโลกการเงินดิจิทัลอย่างไร ?
ลงทุนแมน จะวิเคราะห์ให้ฟัง
หลังจากการรวมกิจการสำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ttb ก็ทะยานเป็นธนาคารที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
บัญชี ttb all free ที่มีจุดขายไม่เหมือนบัญชีอื่น ๆ คือ มีประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ฟรี
และมีจำนวนลูกค้า 1.9 ล้านราย โดยในปีที่ผ่านมามีตัวเลขเงินฝากจาก ttb all free เติบโตถึง 15%

ส่วนบัตรเครดิต ttb reserve สำหรับกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูง
ก็ได้ผลตอบรับการถือบัตรจากกลุ่มเป้าหมายถึง 60% ในช่วงเวลา 6 เดือน
หรือจะเป็นการสร้างปรากฏการณ์ ในตลาดการลงทุนด้วย ttb smart port
ซึ่งภายในสัปดาห์แรกที่เปิดตัว ทำยอด IPO สูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท
รวมทั้งการเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้ใช้รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมกว่า 750,000 ราย ผ่านมาตรการต่าง ๆ
แล้วอะไรทำให้ ttb เติบโตเร็วเกินคาด หลังการรวมกิจการ..
สังเกตไหมว่า สินค้าที่ประสบความสำเร็จได้รับความนิยมไปทั่วโลก
สินค้านั้นจะต้องมาแก้ Pain Point ในใจคน และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ttb เองก็คิดเช่นนี้ โดยนิยามแนวคิดนี้ว่า “The Bank of Financial Well-being”
หรือ การเป็นธนาคารที่เป็นผู้นำในด้านการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทุกคน
แน่นอนว่าการจะทำอย่างนี้ได้ ทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ ttb นอกจากจะต้องแข่งขันในตลาดได้
แล้วนั้น ก็ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต และทำให้ชีวิตทางการเงินดีขึ้นได้จริง
ทำให้ทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ ttb ก่อนออกสู่ตลาด
ttb จะคิดในมุมที่ว่า หากตัวเองเป็นลูกค้า 1 คน ที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินสักอย่างหนึ่ง
ความต้องการในใจจริง ๆ คืออะไร แล้วค่อยออกแบบข้อเสนอต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
เพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นั่นเอง
ด้วยวิธีคิดนี้เอง จึงนำไปสู่การพัฒนาโซลูชันทางการเงินใหม่ ๆ
และได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ แตกบริษัทลูกใหม่ที่ชื่อ ttb consumer
เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ในกลุ่มบัตรเครดิตและสินเชื่อ
เพิ่มทางเลือกและสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าได้หลากหลาย
รวมไปถึงการจับมือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งในธุรกิจประกันและการลงทุน
โดยเมื่อปลายปีที่แล้ว ttb ได้เข้าซื้อหุ้น 10% ในบริษัท ธนชาตประกันภัย และ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต
จนถึงบริษัทลูกอย่าง ttb broker ก็ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัยกว่า 20 บริษัท
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างและการหาพันธมิตรเพิ่ม
ข้อดีก็คือ นอกจาก ttb จะได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ลูกค้าเองก็จะมีตัวเลือกมากขึ้น
สามารถเปรียบเทียบได้ว่าแบบไหนที่เหมาะกับตัวเองและคุ้มค่ามากที่สุด
เรื่องถัดมาก็คือ เวลานี้สถาบันการเงินกำลังแข่งขันกันอย่างรุนแรงในโลกดิจิทัล
เมื่อลูกค้าลดการพึ่งพา Physical อย่างเห็นได้ชัด ไปทำธุรกรรมที่สาขาน้อยลง
และต้องการย่อโลกการเงินของตัวเองให้อยู่ในโทรศัพท์เครื่องเดียวผ่าน Mobile Banking Application จนถึงดิจิทัลโซลูชันอื่น ๆ
นั่นก็แปลว่า หากธนาคารไหนสร้าง Ecosystem ที่ตอบโจทย์ ก็จะได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทันที
พอรู้อย่างนี้แล้ว ก็เลยทำให้ ttb ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ
โดยได้จัดตั้ง ttb spark ที่แยกโครงสร้างการทำงานออกมาจากธนาคาร เพื่อให้เกิดความคล่องตัวสูง
เพราะในโลกการเงินดิจิทัล ใครที่รวดเร็วกว่าก็จะกลายเป็นผู้ได้เปรียบ
โดยทีม ttb spark จะรับผิดชอบพัฒนาดิจิทัลโซลูชันให้ทั้งลูกค้าทั่วไป และลูกค้าธุรกิจ
ด้วยวิธีคิด การทำงานแบบ Agile ที่จะนำคนเก่งในหลาย ๆ สายงานมาร่วมทีม ลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก แต่เน้นสร้างดิจิทัลโซลูชัน ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตัวอย่างผลงานที่เกิดขึ้นจากทีม ttb spark นั่นก็คือ
แพลตฟอร์มปันบุญ หรือ www.punboon.org ที่
ช่วยให้มูลนิธิสามารถปรับ Business Model เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริจาคใหม่ ๆ
สามารถบริจาคได้สะดวกมากขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์
โดยเพียงระยะปีกว่า ๆ มีมูลนิธิเข้าร่วมมากกว่า 180 แห่ง และมีเงินบริจาครวมกว่า 200 ล้านบาท
รวมถึง โซลูชัน ttb business one
ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้กับลูกค้าตั้งแต่ไซส์ SME จนถึงธุรกิจขนาดใหญ่
ซึ่งมีจำนวนการทำรายการผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 160% ตั้งแต่เปิดตัว
และล่าสุดเตรียมพบกับโฉมใหม่ของ ttb touch ที่จะรู้จักและรู้ใจผู้ใช้อย่างเหลือเชื่อ
ด้วยการใช้ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานแต่ละคน
เพื่อนำเสนอข้อมูล แนะนำ ช่วยเหลือ และส่งมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
รวมถึงแจ้งเตือนธุรกรรมให้กับลูกค้าได้ในระดับบุคคล (Personalization)
การแข่งขันในยุคการเงินดิจิทัล
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เส้นแบ่งระหว่าง “ธนาคารยักษ์ใหญ่” กับ “ธนาคารเล็ก” กำลังบางลงเรื่อย ๆ
อาจจะไม่ได้วัดกันที่ จำนวนสาขาหรือมูลค่าหลักทรัพย์
แต่จะวัดกันที่ใครสร้างระบบการเงินดิจิทัล ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันของลูกค้าได้ดีกว่ากัน
ธนาคารนั้นจะถือไพ่ที่ได้เปรียบในทันที
ทีนี้ ก็น่าจะหมดข้อสงสัยแล้วว่า ทำไม ttb ถึงต้องเร่งขยายศักยภาพทางด้านดิจิทัล เพื่อปักธงเป็นธนาคารที่เป็นผู้นำในด้านการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับคนไทยทุกคน..

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon