สรุป สิ่งที่ไทยควรทำ เพื่อการเติบโตของประเทศ จากคำแนะนำของ World Bank
สรุป สิ่งที่ไทยควรทำ เพื่อการเติบโตของประเทศ จากคำแนะนำของ World Bank /โดย ลงทุนแมน
“ติดหล่ม โตช้า โลกลืม” นี่คือคำนิยามของเศรษฐกิจไทย ที่หลายฝ่ายตั้งให้ในช่วงที่ผ่านมา
“ติดหล่ม โตช้า โลกลืม” นี่คือคำนิยามของเศรษฐกิจไทย ที่หลายฝ่ายตั้งให้ในช่วงที่ผ่านมา
คำถามคือ แล้วเราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างไร เพื่อให้เศรษฐกิจไทย กลับมาโตได้เหมือนเดิมอีกครั้ง
“ตามติดเศรษฐกิจไทย ปลดล็อกศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง”
รายงานฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย World Bank หรือธนาคารโลก
ได้สรุปถึงทุกปัญหาที่เราต้องเจอ และได้แนะนำถึงสิ่งที่เราควรทำ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และป้องกันวิกฤติ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ได้สรุปถึงทุกปัญหาที่เราต้องเจอ และได้แนะนำถึงสิ่งที่เราควรทำ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และป้องกันวิกฤติ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แล้วรายงานนี้ มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนจะไปถึงเรื่องวิธีแก้ เรามาดูกันก่อนว่า ปัญหาที่ World Bank มองว่า ไทยกำลังเจออยู่ตอนนี้ มีเรื่องอะไรบ้าง
1. การพัฒนาเมือง มุ่งเน้นที่กรุงเทพฯ มากเกินไป
โดยเมื่อดูจาก GDP จะพบว่า GDP ของกรุงเทพฯ นั้น มากกว่าจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาอย่างชลบุรี ถึงเกือบ 40 เท่า
ซึ่งต่างจากมาเลเซีย ที่อยู่ที่เพียง 8 เท่า
อินโดนีเซีย 6 เท่า
และเวียดนามที่ 3 เท่า เท่านั้น
อินโดนีเซีย 6 เท่า
และเวียดนามที่ 3 เท่า เท่านั้น
และเมื่อความเจริญกระจุกตัวอยู่แต่ที่กรุงเทพฯ ก็ทำให้กรุงเทพฯ แออัดมากขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้เกิดหลายปัญหาตามมา
ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการเดินทางและการขนส่ง ที่ต้องใช้เวลานานขึ้น และยังมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงราคาที่ดินและที่อยู่อาศัย ก็เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ภาระทางการเงินของทั้งลูกจ้างและนายจ้างเพิ่มขึ้นตาม
โดยเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เห็นถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย จากการที่อุตสาหกรรมสำคัญกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ
เพราะ 70% ของความเสียหายจากน้ำท่วมในครั้งนั้น มาจากภาคการผลิตในกรุงเทพฯ และบริเวณโดยรอบ
นอกจากนี้ ความแออัดของกรุงเทพฯ ยังทำให้เกิดปัญหามลภาวะตามมา ซึ่งกระทบต่อทั้งคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้คนในเมือง
2. หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
โดยหนี้ครัวเรือนไทย สูงถึง 91.6% ของ GDP เมื่อ ณ สิ้นปี 2566 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
และในเรื่องหนี้ครัวเรือน ก็มีสิ่งที่น่าเป็นกังวลอยู่ 2 ประเด็น
- หนี้ครัวเรือนไทย เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันสูงถึง 44% ของ GDP
- อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของคนลดลง และอาจทำให้การบริโภคลดลงตาม
- หนี้ครัวเรือนไทย เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันสูงถึง 44% ของ GDP
- อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของคนลดลง และอาจทำให้การบริโภคลดลงตาม
3. อัตราการเกิดลดลง และจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น
โดยจำนวนบุตรต่อครอบครัวของคนไทย ลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2513 จากแต่ก่อนที่คนไทย มีบุตรกันถึง 6 คนต่อ 1 ครอบครัว ตอนนี้เหลือเฉลี่ยเพียงแค่ 1.3 คนต่อ 1 ครอบครัวเท่านั้น
ซึ่งเมื่อคนเกิดใหม่ลดลง และประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น สิ่งที่จะตามมาก็คือ กำลังแรงงานที่ลดลง และภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มขึ้น จนกระทบต่อฐานะการคลังของรัฐ
และทั้ง 3 ข้อที่พูดมานี้ ก็คือสาเหตุที่ทำให้ศักยภาพการเติบโต (Potential Growth) ของไทยลดลง โดยจากปกติที่เรามีศักยภาพในการเติบโตได้ถึง 3.2% ในช่วงปี 2554 ถึงปี 2564
แต่ในวันนี้ ศักยภาพในการเติบโตของไทย เหลืออยู่เพียง 2.7% ต่อปีเท่านั้น
ทีนี้ เมื่อเรารู้ปัญหาแล้ว คำถามถัดมาคือ แล้วเราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ได้อย่างไร ?
โดยสิ่งที่ World Bank แนะนำก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- ปรับปรุงระบบการศึกษา และระบบบริการด้านสุขภาพ
- ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐ และส่งเสริมความเสมอภาค
- ลดความไม่แน่นอนของนโยบายต่าง ๆ เช่น ความต่อเนื่องของนโยบาย หรือความชัดเจนในตัวนโยบาย
- ลงทุนในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ เพิ่มศักยภาพแรงงาน
- ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐ และส่งเสริมความเสมอภาค
- ลดความไม่แน่นอนของนโยบายต่าง ๆ เช่น ความต่อเนื่องของนโยบาย หรือความชัดเจนในตัวนโยบาย
- ลงทุนในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ เพิ่มศักยภาพแรงงาน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ World Bank พูดถึงมากที่สุดก็คือ เรื่องของการพัฒนาเมืองรอง
โดยในช่วงที่ผ่านมา เมืองรองของไทย ยังไม่สามารถแข่งขันกับเมืองอื่น ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ ซึ่งก็เป็นผลมาจากการพัฒนาเมืองของไทย ที่มุ่งเน้นไปที่กรุงเทพฯ มากเกินไป
นอกจากจะเป็นสิ่งที่ลดศักยภาพการเติบโตของเมืองรองแล้ว ยังทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองแออัด และกลายเป็นเสมือนศูนย์รวมในหลาย ๆ ด้านของไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่มีเมืองใดที่สามารถเป็นได้ทุกสิ่ง
โดยการพัฒนาเมืองรอง ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาความแออัดในกรุงเทพฯ แต่ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง เช่น
- ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับบุคคลและธุรกิจ ภายในพื้นที่
- ช่วยบรรเทาความยากจน ในพื้นที่ชนบท
- ช่วยเพิ่มผลผลิตของประเทศ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับโลก
- ช่วยบรรเทาความยากจน ในพื้นที่ชนบท
- ช่วยเพิ่มผลผลิตของประเทศ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับโลก
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าปัญหาทั้งหมดที่ทาง World Bank พูดถึง ล้วนแต่เป็นปัญหาที่เราได้ยินกันมาอย่างยาวนาน และหลายต่อหลายครั้ง
เช่นเดียวกับในส่วนของวิธีแก้ที่ทาง World Bank แนะนำ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายเคยพูดถึงมาแล้วเช่นกัน
หรือจริง ๆ แล้วคำถามที่สำคัญ อาจไม่ใช่ว่า “ปัญหาของเราคืออะไร”
หรือ “เราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร”
หรือ “เราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร”
แต่เป็นว่า สาเหตุอะไรที่ทำให้เรา ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้
หรือในบางเรื่อง อาจจะต้องถามว่า ปัญหาเก่า ๆ เหล่านี้
ทำไมเราถึงไม่แก้ไขมันสักที..
ทำไมเราถึงไม่แก้ไขมันสักที..