รู้จัก JCB เครือข่ายการชำระเงินจากญี่ปุ่นรายเดียว ที่ให้บริการในระดับสากล
รู้จัก JCB เครือข่ายการชำระเงินจากญี่ปุ่นรายเดียว ที่ให้บริการในระดับสากล
JCB x ลงทุนแมน
JCB x ลงทุนแมน
สำหรับใครที่เป็นสาวกของอาหารญี่ปุ่น ก็น่าจะมีบัตรเครดิตของ JCB ติดอยู่ในกระเป๋า
เพราะถ้าพูดถึงบัตรที่มักจะมีโปรโมชันร่วมกับร้านอาหารญี่ปุ่นมากที่สุด
หนึ่งในนั้นย่อมมีชื่อของ JCB แน่นอน
เพราะถ้าพูดถึงบัตรที่มักจะมีโปรโมชันร่วมกับร้านอาหารญี่ปุ่นมากที่สุด
หนึ่งในนั้นย่อมมีชื่อของ JCB แน่นอน
จริงๆ แล้ว JCB ไม่ได้มีดีแค่ให้ส่วนลดที่คุ้มค่าเท่านั้น
แต่ยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน รวมถึงยังเป็นผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นรายเดียว ที่ให้บริการในระดับสากลอีกด้วย
แต่ยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน รวมถึงยังเป็นผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นรายเดียว ที่ให้บริการในระดับสากลอีกด้วย
เรื่องราวของ JCB จะน่าสนใจอย่างไร?
และปัจจุบัน JCB ได้รับความเชื่อมั่นในระดับโลกขนาดไหน?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
และปัจจุบัน JCB ได้รับความเชื่อมั่นในระดับโลกขนาดไหน?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
JCB มีชื่อเต็มว่า “Japan Credit Bureau” ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1961
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่บริษัทก่อตั้งขึ้นมา
ก็เรียกได้ว่า JCB เป็นผู้นำด้านตลาดด้านการชำระเงินของญี่ปุ่นเสมอมา
ก็เรียกได้ว่า JCB เป็นผู้นำด้านตลาดด้านการชำระเงินของญี่ปุ่นเสมอมา
เริ่มตั้งแต่ หลังจากที่เปิดบริษัทมาได้ไม่กี่เดือน
JCB ก็ได้ออกบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่น
และในปี 1978 ก็มีการดึงดูดลูกค้า ด้วยโปรแกรมสะสมคะแนนบัตรเครดิต
ซึ่งก็สร้างความสนใจให้กับทั้งอุตสาหกรรม เพราะถือเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่นเช่นกัน
JCB ก็ได้ออกบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่น
และในปี 1978 ก็มีการดึงดูดลูกค้า ด้วยโปรแกรมสะสมคะแนนบัตรเครดิต
ซึ่งก็สร้างความสนใจให้กับทั้งอุตสาหกรรม เพราะถือเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่นเช่นกัน
ต่อมาเมื่อชาวญี่ปุ่น เริ่มเดินทางไปต่างประเทศกันมากขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทบัตรเครดิตส่วนใหญ่ จึงไปจับมือกับแบรนด์ต่างชาติ เพื่อรองรับการรับบัตรในต่างประเทศ
ต่างกับ JCB ที่เป็นเพียงบริษัทเดียว ที่ตัดสินใจสร้างเครือข่ายทั่วโลกเป็นของตัวเอง
บริษัทบัตรเครดิตส่วนใหญ่ จึงไปจับมือกับแบรนด์ต่างชาติ เพื่อรองรับการรับบัตรในต่างประเทศ
ต่างกับ JCB ที่เป็นเพียงบริษัทเดียว ที่ตัดสินใจสร้างเครือข่ายทั่วโลกเป็นของตัวเอง
การตัดสินใจครั้งนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ JCB กลายเป็นแบรนด์รับชำระเงินจากญี่ปุ่นรายเดียว ที่ให้บริการในระดับสากลนั่นเอง
โดยปัจจุบัน JCB ดำเนินการในทั้งหมด 24 ประเทศและภูมิภาค รวมถึงประเทศไทย
และยังมีเครือข่ายร้านค้ามากกว่า 35 ล้านรายทั่วโลก
และยังมีเครือข่ายร้านค้ามากกว่า 35 ล้านรายทั่วโลก
เมื่อเป็นผู้เล่นคนสำคัญในตลาด ประกอบกับการขยายพื้นที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง
จึงทำให้ยอดผู้ถือบัตรของ JCB เติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างก้าวกระโดดเช่นกัน
จึงทำให้ยอดผู้ถือบัตรของ JCB เติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างก้าวกระโดดเช่นกัน
จาก 1 ล้านคนในปี 1972 เป็น 10 ล้านคนในปี 1987
และปัจจุบัน JCB มีสมาชิกบัตรมากกว่า 144 ล้านคนแล้ว
และปัจจุบัน JCB มีสมาชิกบัตรมากกว่า 144 ล้านคนแล้ว
ซึ่งถ้าดูจากยอดการเติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ปี 2017 - 2019 จำนวนผู้ถือบัตร JCB ในไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 35%
มากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมถึง 5 เท่า
ปี 2017 - 2019 จำนวนผู้ถือบัตร JCB ในไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 35%
มากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมถึง 5 เท่า
เรื่องนี้ นอกจากด้านการให้บริการลูกค้าแล้ว
ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการสื่อสารตัวตนของแบรนด์ให้ลูกค้ารับรู้
ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการสื่อสารตัวตนของแบรนด์ให้ลูกค้ารับรู้
อย่างโลโก้ของ JCB ที่แม้จะมีการเปลี่ยนให้ดูทันสมัยขึ้นในปี 2007
แต่ยังคงคอนเซปต์เดิมตั้งแต่ตอนก่อตั้งไว้ทุกประการ
แต่ยังคงคอนเซปต์เดิมตั้งแต่ตอนก่อตั้งไว้ทุกประการ
โดยสัญลักษณ์ JCB ถ้ามองผ่านๆ จะเหมือนกล่อง 3 สี ที่ครอบตัวอักษร J, C, และ B อยู่
แต่จริงๆ แล้วถ้ามองให้ดีๆ แต่ละกล่องจะโค้งเหมือนตัวอักษร 'S' ที่จะสะท้อนคำว่า Support (การสนับสนุน), Strength (ความแข็งแกร่ง) และ Sharing (การแบ่งปัน)
แต่จริงๆ แล้วถ้ามองให้ดีๆ แต่ละกล่องจะโค้งเหมือนตัวอักษร 'S' ที่จะสะท้อนคำว่า Support (การสนับสนุน), Strength (ความแข็งแกร่ง) และ Sharing (การแบ่งปัน)
นอกจากนั้น JCB ยังมีการร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
เช่น ร่วมมือกับ American Express เพื่อขยายฐานการเปิดรับบัตรในต่างประเทศ และยังมีการร่วมมือกับ UnionPay เพื่อรับบัตรเจ้าอื่นที่เครือข่ายตู้ ATM ของ JCB ในญี่ปุ่น
เช่น ร่วมมือกับ American Express เพื่อขยายฐานการเปิดรับบัตรในต่างประเทศ และยังมีการร่วมมือกับ UnionPay เพื่อรับบัตรเจ้าอื่นที่เครือข่ายตู้ ATM ของ JCB ในญี่ปุ่น
แล้วผลประกอบการของ JCB เป็นอย่างไร?
ปี 2019 (เมษายน 2019 ถึง มีนาคม 2020)
มูลค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้น 9.7 ล้านล้านบาท
รายได้ 92,863 ล้านบาท กำไร 6,545 ล้านบาท
มูลค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้น 9.7 ล้านล้านบาท
รายได้ 92,863 ล้านบาท กำไร 6,545 ล้านบาท
สำหรับ JCB ในประเทศไทย ก็ถือว่าเป็นบัตรเครดิตที่กำลังเติบโต
โดยปัจจุบันมียอดผู้ถือบัตรประมาณ 1.5 ล้านคน
โดยปัจจุบันมียอดผู้ถือบัตรประมาณ 1.5 ล้านคน
ซึ่งถ้าใครสนใจ สามารถติดต่อขอสมัครบัตรได้ผ่าน Aeon, KTC, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารไทยพาณิชย์
และอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า บัตร JCB ไม่ได้มีดีแค่เอาไว้ใช้เป็นส่วนลดในร้านอาหารญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังมีสิทธิพิเศษร่วมกับร้านอาหารชั้นนำ ตั้งแต่ Akiyoshi, Chabuton, Dak Galbi, DGB, Gyu-kaku, Katsuya, On-yasai, Seefah, Tenya และ Yoshinoya รวมถึงแพลตฟอร์มสั่งอาหารอื่นๆ เช่น Grabfood, LINE MAN หรือ Hungry Hub
หรือสำหรับสายเดินทาง JCB ก็ได้ไปจับมือทั้งแพลตฟอร์มจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน
Agoda และ Expedia, บริการเช่ารถ AVIS, ประกันภัย MSIG, wifi ราคาพิเศษ จาก Skyberry, 4wifi และปั๊มน้ำมัน PT
Agoda และ Expedia, บริการเช่ารถ AVIS, ประกันภัย MSIG, wifi ราคาพิเศษ จาก Skyberry, 4wifi และปั๊มน้ำมัน PT
นอกจากนั้น บัตร JCB ยังมีสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ด้านอื่นๆ
เช่น Dolfin E-wallet, Golfdigg, HomePro online, Major Cineplex, Villa Market, Tops, Tsuruha, Lazada, Shopee และ Siam Premium Outlet
เช่น Dolfin E-wallet, Golfdigg, HomePro online, Major Cineplex, Villa Market, Tops, Tsuruha, Lazada, Shopee และ Siam Premium Outlet
ซึ่งถ้าใครกำลังมองหาการบริการ
ที่ใส่ใจรายละเอียดแบบฉบับคนญี่ปุ่นและมีเครือข่ายไปทั่วโลก
การมีบัตรเครดิต JCB ติดกระเป๋าสักใบก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
ที่ใส่ใจรายละเอียดแบบฉบับคนญี่ปุ่นและมีเครือข่ายไปทั่วโลก
การมีบัตรเครดิต JCB ติดกระเป๋าสักใบก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
เพราะนอกจากจะมีความน่าเชื่อถือในเรื่องของบริการ และความโดดเด่นเรื่องญี่ปุ่นแล้ว
บัตรเครดิต JCB ยังสามารถตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ทุกไลฟ์สไตล์และสามารถใช้ได้ในทุกๆ วัน..
บัตรเครดิต JCB ยังสามารถตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ทุกไลฟ์สไตล์และสามารถใช้ได้ในทุกๆ วัน..
Tag: JCB