รู้จัก ฟีโบนัชชี ตัวเลขทองคำ จากซีรีส์ The 8 Show
รู้จัก ฟีโบนัชชี ตัวเลขทองคำ จากซีรีส์ The 8 Show /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึง The 8 Show ซีรีส์เกาหลีบน Netflix
สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู สรุปแบบไม่สปอยล์ ก็คือ จะเป็นซีรีส์เกี่ยวกับเกมโชว์แลกเงิน แนวเสียดสีสังคม
หากพูดถึง The 8 Show ซีรีส์เกาหลีบน Netflix
สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู สรุปแบบไม่สปอยล์ ก็คือ จะเป็นซีรีส์เกี่ยวกับเกมโชว์แลกเงิน แนวเสียดสีสังคม
ภายในเรื่อง ได้มีการพูดถึงคำว่า “ฟีโบนัชชี” รวมอยู่ด้วย ใช้สำหรับการให้รายได้ต่อนาที กับผู้เล่นตามแต่ละชั้น
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ฟีโบนัชชี ก็ถือเป็นเครื่องมือยอดฮิตในโลกการลงทุน
วันนี้ เรามาดูกันว่าฟีโบนัชชี เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
และถูกนำไปใช้ในอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
และถูกนำไปใช้ในอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ความเป็นจริงแล้ว ฟีโบนัชชี คือลำดับเลขที่พบเจอได้ทั่วไปในธรรมชาติ
ต่อมาได้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นิยมใช้กัน สำหรับงานออกแบบและงานศิลปะ เช่น ภาพวาดโมนาลิซา รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุน
ฟีโบนัชชี ได้ถูกตั้งตามชื่อ “Leonardo Fibonacci” นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี
แต่ต้องบอกว่าเขาคนนี้ ไม่ได้เป็นผู้คิดค้นลำดับเลขดังกล่าว..
คำถามคือ แล้วใครคิด ?
คำถามคือ แล้วใครคิด ?
ย้อนกลับไปเริ่มกันก่อน ที่เรื่องราวของนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี Leonardo Fibonacci
หรือที่รู้จักกันก่อนจะมีชื่อเสียงว่า Leonardo Pisano แปลว่าลีโอนาร์โด แห่ง ปิซา
เขาเกิดที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ประมาณปี ค.ศ. 1170 เขาเป็นบุตรชายของพ่อค้าในเมืองปิซา ที่ชื่อว่า Bonaccio
ส่วนชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า Fibonacci มีที่มาจากคำว่า Filius Bonacci แปลว่าลูกชายของ Bonaccio นั่นเอง
จากการที่พ่อของเขาเป็นพ่อค้า ซึ่งต้องออกเดินทางไปยังต่างแดนและติดต่อค้าขาย
ทำให้ Fibonacci ได้มีโอกาสช่วยเหลืองานด้านค้าขาย
จึงได้รู้จักกับระบบเลข ฮินดู-อารบิก ที่ใช้ตัวเลขเพียง 0 ถึง 9 ในการแทนจำนวนทั้งหมด ไม่ว่าจะมากแค่ไหนก็ตาม
ซึ่งตัวเขาก็สนใจและสังเกตว่า ระบบเลขแบบนี้ สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
แถมยังใช้งานได้ง่ายกว่าระบบเลขโรมัน ซึ่งยังคงใช้กันอยู่ทั่วยุโรปในเวลานั้น
ต่อมา Fibonacci ได้เดินทางไปทั่วดินแดนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและได้เล่าเรียนการคำนวณรูปแบบต่าง ๆ กับบรรดาครูชาวอาหรับ
เมื่อเขาได้เดินทางกลับมายังอิตาลี เขาจึงเขียนหนังสือมากมายเพื่อบอกเล่าถึงวิชาการคำนวณรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้พบเจอ
หนึ่งในนั้น คือหนังสือชื่อว่า “Liber Abaci” มีความหมายว่าหนังสือแห่งการคำนวณ ซึ่งหนังสือเล่มนี้เอง ที่ได้สร้างชื่อให้กับ Fibonacci เป็นอย่างมาก
เพราะมันเป็นหนังสือที่ทำให้ชาวยุโรปได้รู้จักระบบเลข ฮินดู-อารบิก ซึ่งได้กลายเป็นที่นิยม จนเข้ามาแทนที่ระบบเลขโรมันในเวลาต่อมา
นอกจากเรื่องของระบบเลขแบบใหม่แล้ว สิ่งที่ถูกเขียนอยู่ในหนังสือด้วย ก็คือเรื่องของการไขปัญหา “การเกิดของประชากรกระต่าย”
โดยแสดงออกมา ผ่านระบบตัวเลขชุดหนึ่ง ซึ่งถูกเรียกในภายหลังว่า “ลำดับเลขฟีโบนัชชี” ตามชื่อของเขา
อย่างไรก็ตาม Leonardo Fibonacci ไม่ได้เป็นผู้คิดค้นลำดับเลขฟีโบนัชชีขึ้นมา เนื่องจากมีการค้นพบในภายหลังว่า ลำดับเลขดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียมาก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีอยู่แล้ว..
แล้วลำดับเลขฟีโบนัชชี มีลักษณะอย่างไร ?
ลำดับเลขฟีโบนัชชี คือ ลำดับเลขที่เกิดจากการนำจำนวนก่อนหน้า 2 ลำดับ มาบวกกัน
เพื่อให้ได้ลำดับถัดไป โดยเริ่มต้นด้วยเลข 0 และ 1 ก็จะได้เป็น
0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, ….
0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, ….
จะสังเกตได้ว่า เลข 2 เกิดขึ้นมาจากลำดับก่อนหน้า 2 ตัวบวกกันคือ 1 + 1
หรือเลข 21 ก็คือผลบวกจากลำดับก่อนหน้า 2 ตัว คือ 8 + 13 เช่นเดียวกัน
หรือเลข 21 ก็คือผลบวกจากลำดับก่อนหน้า 2 ตัว คือ 8 + 13 เช่นเดียวกัน
ความพิเศษของเลขฟีโบนัชชีคือ เราสามารถพบเห็นลำดับเลขแบบนี้ในธรรมชาติรอบตัว
อย่างเช่น
- จำนวนเกลียวของเมล็ดดอกทานตะวัน
- จำนวนแถวของตาสับปะรด
- จำนวนกลีบของดอกไม้
อย่างเช่น
- จำนวนเกลียวของเมล็ดดอกทานตะวัน
- จำนวนแถวของตาสับปะรด
- จำนวนกลีบของดอกไม้
นอกจากนี้ ลำดับเลขฟิโบนีกชี ยังมีโครงสร้างรูปก้นหอย ที่เกิดจากการใช้สี่เหลี่ยมจัตุรัส
นำมาต่อกันตามลำดับเลขฟีโบนัชชี แล้ววาดเส้นโค้งจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง
นำมาต่อกันตามลำดับเลขฟีโบนัชชี แล้ววาดเส้นโค้งจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง
เส้นโค้งก้นหอยลักษณะนี้ สามารถพบเจอได้ในธรรมชาติ ตั้งแต่รูปทรงของเปลือกหอย ไปจนถึงรูปทรงของกาแล็กซี
ในวงการออกแบบ อัตราส่วนความโค้งดังกล่าวถูกเรียกว่า “สัดส่วนทองคำ” หรือ Golden Ratio มีอัตราส่วน 1 ต่อ 1.618
เรียกได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ทำให้งานออกแบบ มีสัดส่วนที่งดงามตามโครงสร้างของธรรมชาติ
โดยตัวเลขนี้เกิดจากการนำเลขในลำดับฟีโบนัชชี มาหารด้วยจำนวนก่อนหน้า
ซึ่งตัวเลขที่ได้จะมีผลลัพธ์เข้าใกล้ “1.618” อย่างเช่น
- 89 หารด้วย 55 เท่ากับ 1.61818
- 144 หารด้วย 89 เท่ากับ 1.61797
- 233 หารด้วย 144 เท่ากับ 1.61805
ซึ่งตัวเลขที่ได้จะมีผลลัพธ์เข้าใกล้ “1.618” อย่างเช่น
- 89 หารด้วย 55 เท่ากับ 1.61818
- 144 หารด้วย 89 เท่ากับ 1.61797
- 233 หารด้วย 144 เท่ากับ 1.61805
แล้วคำถามที่ตามมาก็คือ ฟีโบนัชชี เกี่ยวอะไรกับการลงทุน ?
จากหลักการของ Golden Ratio ที่ใช้ตัวเลขใดตัวเลขหนึ่ง ในลำดับฟีโบนัชชี นำมาหารด้วยจำนวนก่อนหน้า
หากลองกลับกันเป็น นำจำนวนก่อนหน้ามาหารด้วยจำนวนในลำดับถัดไป ค่าที่ได้จากการหาร จะใกล้เคียงกับค่าคงที่ค่าหนึ่งเสมอ ตัวอย่างเช่น
- หารด้วยลำดับถัดไป 1 ตำแหน่ง
34 หารด้วย 55, 55 หารด้วย 89, … ผลลัพธ์เท่ากับ 0.618
34 หารด้วย 55, 55 หารด้วย 89, … ผลลัพธ์เท่ากับ 0.618
- หารด้วยลำดับถัดไป 2 ตำแหน่ง
34 หารด้วย 89, 55 หารด้วย 144, … ผลลัพธ์เท่ากับ 0.382
34 หารด้วย 89, 55 หารด้วย 144, … ผลลัพธ์เท่ากับ 0.382
- หารด้วยลำดับถัดไป 3 ตำแหน่ง
34 หารด้วย 144, 55 หารด้วย 233, … ผลลัพธ์เท่ากับ 0.236
34 หารด้วย 144, 55 หารด้วย 233, … ผลลัพธ์เท่ากับ 0.236
จากตัวเลขดังกล่าว นักลงทุนจึงได้นำมาประยุกต์ใช้กับการซื้อขายสินทรัพย์ เพื่อกำหนดรอบการแกว่งตัวของกราฟ เรียกว่า “Fibonacci Retracement”
โดย Fibonacci Retracement จะถูกแบ่งตามสัดส่วน คือ 23.6%, 38.2% และ 61.8% จากจุดต่ำสุด ถึงจุดสูงสุดของกราฟ
ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นระดับแนวรับ แนวต้าน หรือวัดรอบการแกว่งตัวของราคา เพื่อหาจุดกลับตัวของรอบ ซึ่งหลายคนเชื่อกันว่า มันเป็นจุดจิตวิทยาที่สามารถใช้จับจังหวะซื้อหรือขายได้
แม้ลำดับเลข และอัตราส่วนฟีโบนัชชี จะสามารถพบเห็นได้ในธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง
แต่ในส่วนของการลงทุนนั้น ความมหัศจรรย์ของฟีโบนัชชี เกิดขึ้นจากการที่เหล่านักลงทุน ต่างมองหาจุดสังเกตบนกราฟ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
และค่าหนึ่งที่นักลงทุนชอบมาใช้ร่วมกันก็คือ สัดส่วนฟีโบนัชชี
และค่าหนึ่งที่นักลงทุนชอบมาใช้ร่วมกันก็คือ สัดส่วนฟีโบนัชชี
ซึ่งทุกคนก็ไม่ทราบว่าอย่างไหน เป็นเหตุผลที่แท้จริง ที่ทำให้เลขฟีโบนัชชีมีความแม่นยำ ระหว่าง
1. เลขนี้มันมีความมหัศจรรย์จริง ๆ ในการหาจุดกลับตัวในกราฟ
หรือว่า
2. เลขนี้ไม่ได้มีความมหัศจรรย์อะไร แต่บังเอิญว่าทุกคนเฝ้ารอที่จุดนี้เหมือนกัน
2. เลขนี้ไม่ได้มีความมหัศจรรย์อะไร แต่บังเอิญว่าทุกคนเฝ้ารอที่จุดนี้เหมือนกัน
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหน มันก็ได้กลายเป็นตัวเลขทองคำ ที่นักลงทุนสายเทคนิคทุกคนควรต้องรู้ ไปเรียบร้อยแล้ว..
References
-https://www.investopedia.com/terms/f/fibonaccilines.asp
-https://www.fibonicci.com/fibonacci/
-https://www.fibonicci.com/fibonacci/the-sequence/
-https://study.com/academy/lesson/leonardo-of-pisa-fibonacci-biography-facts-accomplishments.html
-https://www.mathsisfun.com/numbers/nature-golden-ratio-fibonacci.html
-https://www.investopedia.com/terms/f/fibonaccilines.asp
-https://www.fibonicci.com/fibonacci/
-https://www.fibonicci.com/fibonacci/the-sequence/
-https://study.com/academy/lesson/leonardo-of-pisa-fibonacci-biography-facts-accomplishments.html
-https://www.mathsisfun.com/numbers/nature-golden-ratio-fibonacci.html
Tag: ฟีโบนัชชี