สรุป มาตรการช่วยเหลือของ AOT ต่อ คิงเพาเวอร์
สรุป มาตรการช่วยเหลือของ AOT ต่อ คิงเพาเวอร์ / โดย ลงทุนแมน
เมื่อไม่นานมานี้ เราอาจได้ยินกระแสข่าวมาตรการเยียวยา
ผู้ประกอบการของบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT
ผู้ประกอบการของบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT
กระแสที่หลายฝ่ายทั้งนักวิเคราะห์ นักลงทุน และประชาชน วิพากษ์วิจารณ์กัน ก็คือ มาตรการของ AOT เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเฉพาะกลุ่ม หรือไม่
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือบริษัท คิง เพาเวอร์ ผู้ได้รับสัมปทานพื้นที่ค้าปลีกรายใหญ่ในสนามบินของ AOT
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือบริษัท คิง เพาเวอร์ ผู้ได้รับสัมปทานพื้นที่ค้าปลีกรายใหญ่ในสนามบินของ AOT
ที่เป็นประเด็นที่สุดก็คงเป็นบริษัทหลักทรัพย์บางรายโจมตีว่าการเยียวยาควรผ่านการประชุมผู้ถือหุ้น และให้ CG Discount หรือส่วนลดความมีธรรมาภิบาลแก่ AOT
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
อย่างไรก็ตามก็มีความเห็นอีกส่วนหนึ่งที่บอกว่า การกระทำดังกล่าวของ AOT ก็ไม่ต่างจากการที่ห้างศูนย์การค้าต่างๆ ซึ่งหลายรายก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีมาตรการเยียวยาคู่ค้าของตน
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
อย่างไรก็ตามก็มีความเห็นอีกส่วนหนึ่งที่บอกว่า การกระทำดังกล่าวของ AOT ก็ไม่ต่างจากการที่ห้างศูนย์การค้าต่างๆ ซึ่งหลายรายก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีมาตรการเยียวยาคู่ค้าของตน
หรือแม้แต่ธนาคารต่างๆ ก็ช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น ลดดอกเบี้ย ยืดเวลาชำระหนี้ ลดค่าธรรมเนียม โดยที่ไม่ต้องไปจัดประชุมถามผู้ถือหุ้นก่อน
การช่วยเหลือคู่ค้าในสถานการณ์วิกฤติ ก็เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อได้แบบระยะยาว ซึ่งการที่ไม่เรียกประชุมผู้ถือหุ้น ไม่เกี่ยวกับการไม่มีธรรมาภิบาล
ต่อมาบริษัทหลักทรัพย์นั้น
ก็ได้ไปคุยกับฝ่ายบริหารของ AOT และได้ลบบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลนั้นออกไป
และได้ออกบทวิเคราะห์ใหม่ที่ไม่มีส่วนลด CG Discount แล้ว
ก็ได้ไปคุยกับฝ่ายบริหารของ AOT และได้ลบบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลนั้นออกไป
และได้ออกบทวิเคราะห์ใหม่ที่ไม่มีส่วนลด CG Discount แล้ว
จนกระทั่งล่าสุด AOT ได้ออกหนังสือแถลงการณ์ถึงเรื่องดังกล่าว
แล้ว AOT ให้เหตุผลสำหรับมาตรการเยียวยา ว่าอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
แล้ว AOT ให้เหตุผลสำหรับมาตรการเยียวยา ว่าอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
ประเด็นแรกก็คือ AOT มีหลักการดำเนินนโยบายอย่างไร
ทางบริษัทระบุว่าปัญหาวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรง
และแผ่เป็นวงกว้างทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
และแผ่เป็นวงกว้างทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
สำหรับ AOT ที่ทำธุรกิจบริหารสนามบินหลักของประเทศไทย
ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการสายการบิน ผู้ประกอบการร้านค้ารายเล็ก
และรายใหญ่ที่เช่าพื้นที่ในสนามบินที่มีการว่าจ้างงานรวมเกือบแสนชีวิต
ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน
และรายใหญ่ที่เช่าพื้นที่ในสนามบินที่มีการว่าจ้างงานรวมเกือบแสนชีวิต
ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน
เรื่องนี้จึงทำให้ AOT ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายบอกเลิกสัญญา
ได้ตามเหตุผลที่สมควรโดยต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 45 ถึง 90 วัน
ได้ตามเหตุผลที่สมควรโดยต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 45 ถึง 90 วัน
อย่างไรก็ตาม ทาง AOT บอกว่าไม่ได้ต้องการให้มีการปิดกิจการลง
เพราะการปิดกิจการลงนอกจากจะกระทบต่อเศรษฐกิจแล้ว มันยังมีแนวโน้ม
ที่จะกลายมาเป็นปัญหาสังคมที่เกิดจากการเลิกจ้างได้ในอนาคต
เพราะการปิดกิจการลงนอกจากจะกระทบต่อเศรษฐกิจแล้ว มันยังมีแนวโน้ม
ที่จะกลายมาเป็นปัญหาสังคมที่เกิดจากการเลิกจ้างได้ในอนาคต
โดยมาตรการดังกล่าว จะทำให้รายได้ของ AOT ลดลง
แต่มันก็ไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทต้องจ่ายออกไป
หรือนำภาษีประชาชนมาจ่ายให้ผู้ประกอบการแต่อย่างใด
แต่มันก็ไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทต้องจ่ายออกไป
หรือนำภาษีประชาชนมาจ่ายให้ผู้ประกอบการแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นถัดมาก็คือ การช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน และผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์
ประเด็นดังกล่าว AOT ระบุว่าเป้าหมายของทางบริษัทก็คือ การมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการในสนามบิน สามารถประคับประคองกิจการให้คงอยู่ต่อไปได้ตามความเหมาะสมของโครงสร้างต้นทุนของแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งแบ่งออกเป็น
กลุ่มธุรกิจสายการบิน
บริษัทได้เลื่อนการชำระค่าพื้นที่, ค่าบริการการใช้บริการในอาคาร, ค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น
รวมถึงยกเว้นการเก็บค่า Parking Charges สำหรับสายการบินที่หยุดบิน โดยครอบคลุมตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม 2563
กลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์
บริษัทได้ยกเว้นการเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 31 มีนาคม 2565 และเลื่อนชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการการใช้บริการในอาคาร
รวมถึงการยกเว้นเก็บค่าเช่าพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการที่ขอหยุดกิจการชั่วคราว
และลดค่าเช่า 50% สำหรับผู้ประกอบการที่ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่
และลดค่าเช่า 50% สำหรับผู้ประกอบการที่ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่
โดยหากสถานการณ์มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายแล้ว AOT ก็จะดำเนินการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำในอัตราเท่ากับช่วงก่อนวิกฤติ และจะปรับขึ้นตามสัญญาเมื่อสนามบินเริ่มมีผู้โดยสารเริ่มปรับตัวมากกว่าช่วงวิกฤติ
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการไม่เลิกจ้างงาน
ประเด็นสุดท้ายก็คือ กรณีสัมปทานของบริษัท คิง เพาเวอร์
สำหรับประเด็นดังกล่าว AOT ชี้แจงว่าบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้รับมาตรการช่วยเหลือไม่ต่างอะไรไปจากผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์รายย่อยกว่า 1,000 สัญญา
โดยบริษัทได้แบ่งรายละเอียดเป็น 2 ข้อ คือ
1. การขยายระยะเวลาเตรียมการเพิ่มอีก 1 ปี
AOT ชี้แจงว่าการขยายระยะเวลาเตรียมการเพิ่มอีก 1 ปี นั่นก็เพราะว่าสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้บริษัทไม่สามารถเปิดดำเนินการในอาคารเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ได้ตามเป้าหมายที่ปรากฏในสัญญา
โดยทาง AOT คาดว่าจะเลื่อนการเปิดให้บริการจากเดิม 1 เมษายน 2564 เป็น 1 เมษายน 2565
ทำให้บริษัทมีมติให้มีการขยายระยะเวลาเตรียมการออกไปอีก 1 ปี รวมกับของเดิม 6 เดือน ซึ่งรวมเป็น 1 ปี 6 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดใช้งานอาคาร
ทั้งนี้ บริษัทก็จะมีรายได้แปรผันตามจำนวนพื้นที่ที่เปิดให้บริการ และหลังจากนั้นจะเรียกเก็บค่าบริการตามพื้นที่เต็มจำนวนตามสัญญาเป็นระยะเวลา 10 ปี
2. การปรับจำนวนผู้โดยสารในการคำนวณค่าตอบแทนขั้นต่ำ
เนื่องจากโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้รัฐบาลต้องมีการจำกัดการเปิดน่านฟ้า ทำให้จำนวนผู้โดยสารน้อยลง
AOT จึงมีการปรับจำนวนผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริงในการคำนวณอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำโดยยังคงอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำ และอัตราส่วนแบ่งรายได้เดิมตามสัญญาทุกประการ
สำหรับค่าตอบแทนขั้นต่ำนั้น จะมีการถูกปรับขึ้นทันทีในปีถัดไปอิงตามการขยายตัวของผู้โดยสาร และเงินเฟ้อ โดยไม่ต้องรอให้ผู้โดยสารกลับมาในระดับก่อนวิกฤติเหมือนผู้ประกอบการรายอื่น
ทั้งนี้ โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้โดยสารต่างประเทศลดลงกว่าร้อยละ 99
ซึ่งทางบริษัท คิง เพาเวอร์ สามารถใช้สิทธิขอยกเลิกสัญญาได้โดยไม่มีค่าปรับ
ซึ่งทางบริษัท คิง เพาเวอร์ สามารถใช้สิทธิขอยกเลิกสัญญาได้โดยไม่มีค่าปรับ
รวมถึงถ้า AOT เปิดประมูลใหม่ภายใต้สถานการณ์ที่วิกฤติ ก็อาจจะกลายมาเป็นความเสี่ยงที่จะไม่มีผู้ประกอบการรายใดเสนอผลตอบแทนในอัตราที่สูงดังที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทคาดการณ์ว่าผลตอบแทนที่บริษัททำได้ จะลดลงอย่างมหาศาล
ในขณะเดียวกัน หาก AOT ปล่อยให้มีการยกเลิกสัญญาไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือใหญ่ มันก็จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานจำนวนมาก
ทั้งหมดนี้เป็นสรุปคำชี้แจงของ AOT ที่ได้โต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์จากการออกมาตรการเยียวยาของทางบริษัท
ซึ่งก็น่าคิดเหมือนกันว่า 2 ทางเลือก
1. การออกมาตรการเยียวยาให้คู่ค้าทุกฝ่ายรอดวิกฤติครั้งนี้ไปได้ แบบที่ AOT ทำ
หรือ 2. ปล่อยให้ผู้ประกอบการทั้งเล็ก และใหญ่ต่างพากันมายกเลิกสัญญา แล้วเปิดให้เช่า หรือประมูลใหม่ โดยไม่มีการรับประกันว่า จะมีคนมาเช่าหรือไม่ หรือผลการประมูลจะเป็นเช่นไร
1. การออกมาตรการเยียวยาให้คู่ค้าทุกฝ่ายรอดวิกฤติครั้งนี้ไปได้ แบบที่ AOT ทำ
หรือ 2. ปล่อยให้ผู้ประกอบการทั้งเล็ก และใหญ่ต่างพากันมายกเลิกสัญญา แล้วเปิดให้เช่า หรือประมูลใหม่ โดยไม่มีการรับประกันว่า จะมีคนมาเช่าหรือไม่ หรือผลการประมูลจะเป็นเช่นไร
ทางไหนจะเป็นทางที่เหมาะสมกว่ากัน..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Reference
-จดหมายชี้แจงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม กรณี บริษัท คิง เพาเวอร์
ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Reference
-จดหมายชี้แจงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม กรณี บริษัท คิง เพาเวอร์
ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)