ถ้า SCBX ฝืนทำ Robinhood ต่อ แอปจะขาดทุนสะสมอย่างน้อย หมื่นล้าน
ถ้า SCBX ฝืนทำ Robinhood ต่อ แอปจะขาดทุนสะสมอย่างน้อย หมื่นล้าน /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเพื่อนเราเดินมาบอกว่า ธุรกิจของเขา ทุก ๆ ยอดขาย 100 บาท จะเป็นผลขาดทุน 300 บาท
เราได้ยิน คงคิดว่าเพื่อนคนนี้บ้า จะทำธุรกิจนั้นไปทำไม..
ถ้าเพื่อนเราเดินมาบอกว่า ธุรกิจของเขา ทุก ๆ ยอดขาย 100 บาท จะเป็นผลขาดทุน 300 บาท
เราได้ยิน คงคิดว่าเพื่อนคนนี้บ้า จะทำธุรกิจนั้นไปทำไม..
แต่รู้ไหมว่า ภาพนี้กำลังเกิดขึ้นกับ Robinhood แอปส่งอาหารขวัญใจใครหลาย ๆ คน
Robinhood มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นโปรเจกต์ CSR ของทาง SCBX
เพื่อช่วยร้านค้ารายย่อย และไรเดอร์ โดยไม่เก็บค่า GP กับร้านค้า
ซึ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในจุดแข็งของ Robinhood ที่ทำให้แอปติดตลาด มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพื่อช่วยร้านค้ารายย่อย และไรเดอร์ โดยไม่เก็บค่า GP กับร้านค้า
ซึ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในจุดแข็งของ Robinhood ที่ทำให้แอปติดตลาด มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่จุดแข็งตรงนี้ ก็เป็นดาบ 2 คมเช่นกัน..
นั่นคือ “ยิ่งมีคนใช้มากเท่าไร ก็ยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น”
เพราะในเมื่อแหล่งรายได้หลักอย่าง GP หายไป หรือมีข้อจำกัด
ในขณะที่ยังมีต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรสูง ทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน, ค่าพัฒนาแอป, พนักงานหลังบ้าน, เงินจูงใจไรเดอร์, ค่าการตลาด, โค้ดส่วนลด ฯลฯ
ในขณะที่ยังมีต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรสูง ทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน, ค่าพัฒนาแอป, พนักงานหลังบ้าน, เงินจูงใจไรเดอร์, ค่าการตลาด, โค้ดส่วนลด ฯลฯ
ก็นำมาซึ่งการขาดทุนในที่สุด และทาง SCBX ก็เตรียมใจตรงนี้มาก่อนแล้ว เพราะตั้งใจให้เป็นธุรกิจ CSR และก็พยายามควบคุมงบไม่ให้บานปลาย
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า เลือดของ Robinhood จะไหลไม่มีทางหยุด แถมแผลยังเปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสะท้อนออกมาที่ตัวผลประกอบการ..
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า เลือดของ Robinhood จะไหลไม่มีทางหยุด แถมแผลยังเปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสะท้อนออกมาที่ตัวผลประกอบการ..
ปี 2564 มีรายได้ 16 ล้านบาท ขาดทุน 1,335 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ 538 ล้านบาท ขาดทุน 1,987 ล้านบาท
ปี 2566 มีรายได้ 724 ล้านบาท ขาดทุน 2,156 ล้านบาท
3 ปีย้อนหลัง Robinhood มีผลขาดทุนรวมไปแล้วกว่า 5,500 ล้านบาท
แถมการขาดทุนหนักขนาดนี้ ยังให้บริการส่งอาหารเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ยังไม่ได้มีการขยายไปทั่วประเทศเลย
ทำให้พักหลัง ๆ Robinhood เริ่มขยับมาหาวิธีทำเงินทางอื่น เช่น หารายได้จากค่าโฆษณา, เปิดให้บริการเรียกรถ, ฝากซื้อของ ส่งของ, จองโรงแรม-ตั๋วเครื่องบิน ซึ่งก็ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในช่วงเริ่มต้นเช่นกัน
แม้ว่า Robinhood จะพยายามสร้างรายได้จากช่องทางอื่น ๆ แต่รายได้เหล่านี้ ก็ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ Robinhood ขาดทุนหนักต่อเนื่อง
และล่าสุด SCBX ก็ได้ตัดสินใจหยุดเลือดที่กำลังไหล ด้วยการประกาศยุติการให้บริการ Robinhood ถาวร ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 นี้..
แล้วถ้ามองในมุมธุรกิจการเงิน การปิด Robinhood จะส่งผลต่อ SCBX อย่างไร ?
ในปีล่าสุด Robinhood ขาดทุนไป 2,156 ล้านบาท
ส่วน SCBX มีกำไร 43,521 ล้านบาท
ส่วน SCBX มีกำไร 43,521 ล้านบาท
ซึ่งตัวเลขที่ Robinhood ขาดทุนนี้ คิดเป็น 5% ของกำไรทั้งปีที่ SCBX ทำได้ในปีเดียวกัน
หรือก็คือ ถ้าไม่มีผลขาดทุนตรงนี้ กำไรของ SCBX จะเพิ่มขึ้นทันที 5% โดยไม่ต้องทำอะไรเลย
และถ้าสมมติให้ปีต่อ ๆ ไป Robinhood ขาดทุนเท่าเดิม ไม่มากไปกว่านี้
เท่ากับว่า..
5 ปีข้างหน้า ขาดทุนรวมเพิ่มอีก 10,780 ล้านบาท
10 ปีข้างหน้า ขาดทุนรวมเพิ่มอีก 21,560 ล้านบาท
เท่ากับว่า..
5 ปีข้างหน้า ขาดทุนรวมเพิ่มอีก 10,780 ล้านบาท
10 ปีข้างหน้า ขาดทุนรวมเพิ่มอีก 21,560 ล้านบาท
หรือก็คือ ถ้าไม่มีผลขาดทุนทั้งหมดตรงนี้ ตัวเลขที่ว่า ก็อาจไหลลงมาเป็นกำไรของ SCBX ที่เพิ่มขึ้นแทนนั่นเอง
แต่ทั้งนี้ การปิดตัวของ Robinhood ก็ไม่ได้ถือว่าสูญเปล่าไปซะทีเดียว
เพราะ SCBX สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ของร้านค้า ไรเดอร์ และผู้ใช้งาน ไปต่อยอดกับธุรกิจอื่น ๆ ในเครือได้
เพราะ SCBX สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ของร้านค้า ไรเดอร์ และผู้ใช้งาน ไปต่อยอดกับธุรกิจอื่น ๆ ในเครือได้
ซึ่งเคสนี้ ก็เผยถึงความจริงของโลกธุรกิจ อีกหนึ่งบทเรียนว่า
ธุรกิจที่ขาดทุนหนัก และไม่มีแนวโน้มว่าจะทำกำไรได้ในอนาคต
แม้จะมีบริษัทแม่หนุนหลัง คอยอัดฉีดเงินซัปพอร์ตให้อยู่
ก็ไม่ได้การันตีว่า ธุรกิจนั้นจะอยู่รอดต่อไปได้เรื่อย ๆ
เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทแม่เกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา..
แม้จะมีบริษัทแม่หนุนหลัง คอยอัดฉีดเงินซัปพอร์ตให้อยู่
ก็ไม่ได้การันตีว่า ธุรกิจนั้นจะอยู่รอดต่อไปได้เรื่อย ๆ
เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทแม่เกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา..
และพรุ่งนี้เช้า ตลาดหุ้นจะตอบสนองอย่างไรกับหุ้น SCBX ก็น่าติดตามเช่นกัน
ถ้าตอบรับในเชิงบวก ราคาหุ้นพุ่งขึ้น
ก็คงเป็นอีกแนวทาง ที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ถ้าคิดอยากจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น
ซึ่งก็คือ การเด็ดขาด ตัดขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป..
ก็คงเป็นอีกแนวทาง ที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ถ้าคิดอยากจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น
ซึ่งก็คือ การเด็ดขาด ตัดขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป..
เพราะนักลงทุนคงเห็นตรงกันว่า
การเจ็บแต่จบ ก็คงดีกว่า ทนฝืนทรมานต่อไปเรื่อย ๆ แบบไร้จุดหมาย..
การเจ็บแต่จบ ก็คงดีกว่า ทนฝืนทรมานต่อไปเรื่อย ๆ แบบไร้จุดหมาย..