กรณีศึกษา จิกซอว์ที่หายไปในระบบการศึกษาไทย
SEAC x ลงทุนแมน
กรณีศึกษา จิกซอว์ที่หายไปในระบบการศึกษาไทย
กรณีศึกษา จิกซอว์ที่หายไปในระบบการศึกษาไทย
ชีวิตใครหลายคน คิดว่าการเรียนรู้จบอยู่แค่ในห้องเรียน
แต่..เชื่อหรือไม่ว่ามีนักศึกษาหลายคนกำลังประสบปัญหา
เพราะเมื่อก้าวสู่โลกของตลาดแรงงาน พวกเขาไม่สามารถนำความรู้จากในห้องเรียนสี่เหลี่ยม
มาใช้ในการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ
แต่..เชื่อหรือไม่ว่ามีนักศึกษาหลายคนกำลังประสบปัญหา
เพราะเมื่อก้าวสู่โลกของตลาดแรงงาน พวกเขาไม่สามารถนำความรู้จากในห้องเรียนสี่เหลี่ยม
มาใช้ในการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ปัญหานี้อาจมีเหตุผลมากมาย โดยหนึ่งในเหตุผลข้อใหญ่ก็คือ
ระบบการศึกษาไทยยังอยู่ในกรอบเดิมๆ
ระบบการศึกษาไทยยังอยู่ในกรอบเดิมๆ
ซึ่งกรอบเดิมๆ นี้แหละ ที่กลายเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ที่ฝังรากลึกมานานในระบบการศึกษาไทย
แล้วช่องว่างนั้นคืออะไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ภาพรวม มหาวิทยาลัยในเมืองไทย ยังให้ความสำคัญกับเด็กที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพราะมองว่านี้คือตลาดใหญ่ที่สุด ที่จะสร้างเม็ดเงินรายได้มหาศาล
เพราะมองว่านี้คือตลาดใหญ่ที่สุด ที่จะสร้างเม็ดเงินรายได้มหาศาล
ซึ่งการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัยก็จะสอนให้เด็กเรียนรู้ Hard Skill
หรือความรู้เชิงวิชาการและเชิงเทคนิค
หรือความรู้เชิงวิชาการและเชิงเทคนิค
แต่อย่าลืมว่า..สิ่งที่ไม่มีสอนในห้องเรียน ก็คือการปรับตัวในโลกของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
เพราะคงไม่มีตำราเล่มไหนบนโลกใบนี้หรืออาจารย์คนไหนจะมาสอนเราว่า หากบริษัทที่ทำงานอยู่ธุรกิจหลักกำลังจะถูก Disruption จะต้องปรับตัวอย่างไร
หรือแม้แต่ COVID-19 ที่เกิดขึ้น
มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราจะต้องเพิ่มเติมทักษะอะไรเข้ามา
ไปจนถึงสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจพบเจอในการทำงาน ที่สร้างปัญหาให้หลายคนมืดแปดด้านหาทางออกไม่ได้
มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราจะต้องเพิ่มเติมทักษะอะไรเข้ามา
ไปจนถึงสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจพบเจอในการทำงาน ที่สร้างปัญหาให้หลายคนมืดแปดด้านหาทางออกไม่ได้
บทสรุปสุดท้ายก็อาจจะต้องออกจากงาน หรือถูกคนอื่นเข้ามาแทนที่
และนี่คือคำตอบของสิ่งที่ขาดหายไปในระบบการศึกษาประเทศไทยที่เรียกว่า Hyper-relevant Skills หรือทักษะการปรับตัวในการทำงาน และวิธีคิดที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนเร็ว
เรื่องนี้ก็เลยทำให้เราต้องมาคิดต่อว่า แล้วแรงงานในประเทศเราที่มีถึง 38 ล้านคน หรือเกือบ 55% ของประชากรทั้งหมด จะมีกี่คนที่มีทักษะดังกล่าว
ซึ่งก็คงไม่มีใครตอบได้
ซึ่งก็คงไม่มีใครตอบได้
แต่สิ่งที่ตอบได้แน่ๆ ก็คือมีองค์กรแห่งหนึ่งที่กำลังมองเห็นปัญหานี้
นั่นคือ SEAC ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
โดยทั้ง 2 องค์กรต่างเชื่อเหมือนกันว่า
“มนุษย์เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และไม่จำกัดอยู่แค่ในกรอบเดิมๆ”
นั่นคือ SEAC ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
โดยทั้ง 2 องค์กรต่างเชื่อเหมือนกันว่า
“มนุษย์เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และไม่จำกัดอยู่แค่ในกรอบเดิมๆ”
แล้วดีลความร่วมมือครั้งนี้ น่าสนใจมากแค่ไหน ?
SEAC คือองค์กรที่เชี่ยวชาญในเรื่อง Hyper-Relevant Skills ผนวกกับการมีแพลตฟอร์มเรียนแบบ blended คือทั้งเข้าห้องเรียนจริง หรือเรียนออนไลน์ และเสมือนจริง (virtual) ที่เราสามารถเรียนรู้จากที่ไหนและเมื่อไรก็ได้ แถมบรรยากาศการเรียนก็ไม่ต่างกับนั่งอยู่ในห้องเรียน เพราะมีทั้งทำกิจกรรม พรีเซ็นต์ผลงาน จนถึงแสดงความคิดเห็น โดยปัจจุบันมีถึงกว่า 1,500 หลักสูตร
SEAC คือองค์กรที่เชี่ยวชาญในเรื่อง Hyper-Relevant Skills ผนวกกับการมีแพลตฟอร์มเรียนแบบ blended คือทั้งเข้าห้องเรียนจริง หรือเรียนออนไลน์ และเสมือนจริง (virtual) ที่เราสามารถเรียนรู้จากที่ไหนและเมื่อไรก็ได้ แถมบรรยากาศการเรียนก็ไม่ต่างกับนั่งอยู่ในห้องเรียน เพราะมีทั้งทำกิจกรรม พรีเซ็นต์ผลงาน จนถึงแสดงความคิดเห็น โดยปัจจุบันมีถึงกว่า 1,500 หลักสูตร
ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เมื่อมาผสมผสานกัน แน่นอนว่าก็ตอบโจทย์การเรียนรู้ที่กว้างมากขึ้น
เมื่อมาผสมผสานกัน แน่นอนว่าก็ตอบโจทย์การเรียนรู้ที่กว้างมากขึ้น
ทั้ง มนุษย์ออฟฟิศ เจ้าของกิจการ นักศึกษา ที่อยากจะพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จนถึงทักษะใหม่ๆเพื่อปรับตัวในตลาดแรงงานแต่ติดในเรื่องกรอบของเวลา
ทีนี้เราสะดวกเวลาไหนก็เรียนเวลานั้น โดยมีทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตร ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ระบบออนไลน์ และแบบห้องเรียน อีกทั้งเรายังนำผลการเรียนไปเทียบเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษา อีกด้วย
ระบบออนไลน์ และแบบห้องเรียน อีกทั้งเรายังนำผลการเรียนไปเทียบเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษา อีกด้วย
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือการฉีกกรอบวัฒนธรรมประเมินผลการเรียนแบบเดิมๆ ในอดีต
ที่วัดผลกันจากข้อเขียนและภาคปฎิบัติ แต่ SEAC เลือกจะคิดต่าง
ที่วัดผลกันจากข้อเขียนและภาคปฎิบัติ แต่ SEAC เลือกจะคิดต่าง
การวัดผลผู้เรียนของทีนี่จะประเมินจากความสามารถในการนำความรู้มาใช้ในการทำงาน และปรับแต่งให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ขณะเดียวกัน การร่วมมือครั้งนี้ก็จะเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมาก ทั้งนักออกแบบการสอนออนไลน์ อาจารย์เกื้อหนุนสำหรับการเรียนออนไลน์ และ อาจารย์เกื้อหนุนข้อมูลวิทยาศาสตร์ จนถึงเราอาจเห็นอาชีพผู้กำกับคอร์สการเรียนออนไลน์ ก็เป็นไปได้
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกเป็นการแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด
เพราะสังคมการศึกษาที่หลายคนคุ้นชินหรือถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจนโต
เพราะสังคมการศึกษาที่หลายคนคุ้นชินหรือถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจนโต
คือเราต้องเรียนเพื่อเอาใบปริญญามาสมัครงาน ซึ่งเป็นกฎของบริษัทและหน่วยงานที่ตั้งไว้
ค่านิยมตลาดแรงงานไทยจึงถูกยึดติดแค่กระดาษเพียงแผ่นเดียวมายาวนาน
ค่านิยมตลาดแรงงานไทยจึงถูกยึดติดแค่กระดาษเพียงแผ่นเดียวมายาวนาน
แต่ก็ไม่มีใครการันตีได้เลยว่าคนที่ถือกระดาษใบนี้พร้อมตัวเลขเกรดสวยหรู
เมื่อก้าวสู่ตลาดแรงงาน เขาจะทำงานได้ดีเหมือนตอนเรียนหนังสือหรือไม่ แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้คนหยุดเรียนรู้หลังจากได้ใบปริญญา
เมื่อก้าวสู่ตลาดแรงงาน เขาจะทำงานได้ดีเหมือนตอนเรียนหนังสือหรือไม่ แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้คนหยุดเรียนรู้หลังจากได้ใบปริญญา
เพราะบางทีเด็กคนนั้นอาจจะเก่งแต่ในทฤษฎีที่เรียนมา
แต่กลับไม่รู้เลย..ว่าจะใช้เบ็ดตกปลายังไงให้ได้ปลา
ในวันที่กระแสน้ำของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ในวันที่กระแสน้ำของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
#SEAC #KMUTT #LifelongLearning #EmpowerLiving
References
-SEAC
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-SEAC
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี