กรณีศึกษา STARBUCKS บริษัทที่มีหนี้ มากกว่า สินทรัพย์
กรณีศึกษา STARBUCKS บริษัทที่มีหนี้ มากกว่า สินทรัพย์ /โดย ลงทุนแมน
เรื่องนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับบริษัททั่วไป
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับคนเรียนบัญชี
โดยทั่วไปสินทรัพย์ของบริษัท จะมีค่าเท่ากับ หนี้สิน บวก ส่วนผู้ถือหุ้น
หลายคนเข้าใจว่า สินทรัพย์ของบริษัทอย่างไรก็ต้องมากกว่าหนี้สิน
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับคนเรียนบัญชี
โดยทั่วไปสินทรัพย์ของบริษัท จะมีค่าเท่ากับ หนี้สิน บวก ส่วนผู้ถือหุ้น
หลายคนเข้าใจว่า สินทรัพย์ของบริษัทอย่างไรก็ต้องมากกว่าหนี้สิน
แต่รู้ไหมว่า บางบริษัทก็สามารถมีสินทรัพย์ น้อยกว่า หนี้สินได้เช่นกัน
ตัวอย่างในบทความนี้ก็คือ บริษัทสตาร์บัคส์ เชนร้านกาแฟที่ใหญ่สุดในโลก
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
กดติดตามที่ http://www.youtube.com/longtunman
╚═══════════╝
ปี 2019 บริษัทสตาร์บัคส์มีสินทรัพย์ 5.8 แสนล้านบาท
แต่มีหนี้สินมากถึง 7.7 แสนล้านบาท
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
กดติดตามที่ http://www.youtube.com/longtunman
╚═══════════╝
ปี 2019 บริษัทสตาร์บัคส์มีสินทรัพย์ 5.8 แสนล้านบาท
แต่มีหนี้สินมากถึง 7.7 แสนล้านบาท
เรื่องไม่ปกติแบบนี้เกิดขึ้นมาจากส่วนของผู้ถือหุ้น
ที่มีมูลค่าติดลบกว่า 1.9 แสนล้านบาท
ที่มีมูลค่าติดลบกว่า 1.9 แสนล้านบาท
ก่อนอื่นเลยก็ต้องบอกว่า เคสนี้ส่วนใหญ่ในสมัยก่อนจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่ล้มละลาย
หนี้สินท่วมบริษัท จนกินส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินท่วมบริษัท จนกินส่วนของผู้ถือหุ้น
แต่สำหรับสตาร์บัคส์ บริษัทไม่ได้ล้มละลาย..
แต่บริษัทกำลังทำสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป
นั่นก็คือ
“การซื้อหุ้นคืนมหาศาล”
ปี 2017 สตาร์บัคส์ซื้อหุ้นคืนมูลค่า 0.6 แสนล้านบาท
ปี 2018 สตาร์บัคส์ซื้อหุ้นคืนมูลค่า 2.2 แสนล้านบาท
ปี 2019 สตาร์บัคส์ซื้อหุ้นคืนมูลค่า 3.1 แสนล้านบาท
แต่บริษัทกำลังทำสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป
นั่นก็คือ
“การซื้อหุ้นคืนมหาศาล”
ปี 2017 สตาร์บัคส์ซื้อหุ้นคืนมูลค่า 0.6 แสนล้านบาท
ปี 2018 สตาร์บัคส์ซื้อหุ้นคืนมูลค่า 2.2 แสนล้านบาท
ปี 2019 สตาร์บัคส์ซื้อหุ้นคืนมูลค่า 3.1 แสนล้านบาท
รวม 3 ปี เท่ากับ 5.8 แสนล้านบาท
มูลค่าดังกล่าวบริษัทสามารถนำไปซื้อธนาคารขนาดใหญ่ของไทยได้ทั้งธนาคาร แถมได้รับเงินทอน
มูลค่าดังกล่าวบริษัทสามารถนำไปซื้อธนาคารขนาดใหญ่ของไทยได้ทั้งธนาคาร แถมได้รับเงินทอน
แล้วทำไมการซื้อหุ้นคืนทำให้ หนี้ มากกว่า สินทรัพย์?
การซื้อหุ้นคืนเป็นการใช้เงินสดเข้าไปซื้อหุ้นคืนจากตลาด และเมื่อได้หุ้นคืนมาอยู่กับบริษัทแล้ว บริษัทก็จะลดทุน โดยการตัดจำนวนหุ้นของบริษัทออก และทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง
ดังนั้น เมื่อบันทึกบัญชี จะทำให้ฝั่งสินทรัพย์คือเงินสดหายไป
และฝั่งส่วนผู้ถือหุ้นมีมูลค่าลดลง อย่างในกรณีของสตาร์บัคส์ลดลงจนส่วนผู้ถือหุ้นมีมูลค่าติดลบ
และฝั่งส่วนผู้ถือหุ้นมีมูลค่าลดลง อย่างในกรณีของสตาร์บัคส์ลดลงจนส่วนผู้ถือหุ้นมีมูลค่าติดลบ
และเป็นสาเหตุให้หนี้ของสตาร์บัคส์มีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์
โดยกรณีของสตาร์บัคส์คือ บริษัทซื้อหุ้นคืนโดยใช้เงินสดร่วมกับการกู้เงินจากธนาคาร
ปี 2017 บริษัทมีเงินกู้ระยะยาว 1.2 แสนล้านบาท
ปี 2019 บริษัทมีเงินกู้ระยะยาว 3.4 แสนล้านบาท
ปี 2019 บริษัทมีเงินกู้ระยะยาว 3.4 แสนล้านบาท
เพียง 2 ปี เงินกู้ระยะยาวของสตาร์บัคส์เพิ่มขึ้นเป็น 2.8 เท่า
ซึ่งอาจเรียกง่ายๆ ว่า สตาร์บัคส์กู้เงินส่วนหนึ่งมาซื้อหุ้นคืน
แม้ว่าจะดูเป็นตัวเลขเงินกู้ธนาคารมหาศาล
แต่สำหรับสตาร์บัคส์ที่ผลิตกำไรได้ 1.1 แสนล้านบาท
ก็สามารถจ่ายคืนเงินต้นที่กู้มาได้หมดภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
แต่สำหรับสตาร์บัคส์ที่ผลิตกำไรได้ 1.1 แสนล้านบาท
ก็สามารถจ่ายคืนเงินต้นที่กู้มาได้หมดภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
คำถามสำคัญก็คือ..
แล้วสตาร์บัคส์จะซื้อหุ้นคืนมากขนาดนี้ไปทำไม?
แล้วสตาร์บัคส์จะซื้อหุ้นคืนมากขนาดนี้ไปทำไม?
คำตอบก็คือ การซื้อหุ้นคืนจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น
กลไกหลังจากการซื้อหุ้นคืนที่เห็นผลทันทีก็คือ จำนวนหุ้นจะน้อยลง ซึ่งส่งผลให้
เงินปันผลต่อหุ้นมากขึ้น
กำไรต่อหุ้นมากขึ้น
และเมื่อกำไรต่อหุ้นมากขึ้น ถ้าตลาดซื้อขายกันที่ P/E เท่าเดิม ราคาหุ้นของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นตาม
เงินปันผลต่อหุ้นมากขึ้น
กำไรต่อหุ้นมากขึ้น
และเมื่อกำไรต่อหุ้นมากขึ้น ถ้าตลาดซื้อขายกันที่ P/E เท่าเดิม ราคาหุ้นของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นตาม
และคนที่รับผลประโยชน์เหล่านี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ผู้ถือหุ้น นั่นเอง..
ในโลกของธุรกิจแล้ว ถ้าเรามีเงินสดเหลือ เรามีทางเลือกที่จะใช้มันให้เป็นประโยชน์อยู่ 5 ทางก็คือ
1. กองเงินสดไว้เฉยๆ โดยไปฝากธนาคาร
2. จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
3. นำเงินไปลงทุนเพื่อขยายกิจการตัวเอง
4. นำเงินไปซื้อกิจการอื่น
5. นำเงินไปซื้อหุ้นคืน
2. จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
3. นำเงินไปลงทุนเพื่อขยายกิจการตัวเอง
4. นำเงินไปซื้อกิจการอื่น
5. นำเงินไปซื้อหุ้นคืน
ในกรณีจ่ายเงินปันผล จะมีข้อเสียคือ มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย
ส่วนการลงทุนขยายกิจการ หรือไปซื้อกิจการอื่น ก็อาจมีความเสี่ยงที่ไม่รู้ว่าอนาคตเป็นอย่างไร
ส่วนการลงทุนขยายกิจการ หรือไปซื้อกิจการอื่น ก็อาจมีความเสี่ยงที่ไม่รู้ว่าอนาคตเป็นอย่างไร
การซื้อหุ้นคืนเป็นหนทางในการใช้เงินสดที่เหลืออยู่โดยมีความเสี่ยงน้อย และเพิ่มผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นทันที ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวถึงอยู่หลายครั้งว่าเขาชอบวิธีนี้
เรื่องนี้ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะการมีหนี้มากกว่าสินทรัพย์ของสตาร์บัคส์
น่าจะขัดกับงบการเงินของบริษัทในประเทศไทยพอสมควร
เพราะการมีหนี้มากกว่าสินทรัพย์ของสตาร์บัคส์
น่าจะขัดกับงบการเงินของบริษัทในประเทศไทยพอสมควร
พอเราเข้าใจเรื่องนี้แล้ว วันหลังหากมีคนมาบอกว่า
บริษัทไหนส่วนทุนติดลบ หรือ บริษัทมีหนี้มากกว่าสินทรัพย์ก็อย่าเพิ่งตกใจ
บริษัทไหนส่วนทุนติดลบ หรือ บริษัทมีหนี้มากกว่าสินทรัพย์ก็อย่าเพิ่งตกใจ
เพราะหากเป็นแบบสตาร์บัคส์แล้ว
เราก็อาจเจอกับอีกธุรกิจที่น่าสนใจ ก็เป็นได้..
เราก็อาจเจอกับอีกธุรกิจที่น่าสนใจ ก็เป็นได้..
เกร็ดน่ารู้เพิ่มเติม
ในงบการเงินสตาร์บัคส์ มีรายการหนึ่งที่ถูกบันทึกเป็นหนี้ก็คือ เงินที่ค้างอยู่ในบัตรสตาร์บัคส์แต่ยังไม่ถูกใช้ ซึ่งในเดือนกันยายน ปี 2019 ล่าสุด เงินที่ค้างอยู่ในบัตรสตาร์บัคส์มีมูลค่ามากถึง 38,000 ล้านบาท..
----------------------
ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
กดติดตามที่ http://www.youtube.com/longtunman
----------------------
References
-Starbucks Annual Report 2019
ในงบการเงินสตาร์บัคส์ มีรายการหนึ่งที่ถูกบันทึกเป็นหนี้ก็คือ เงินที่ค้างอยู่ในบัตรสตาร์บัคส์แต่ยังไม่ถูกใช้ ซึ่งในเดือนกันยายน ปี 2019 ล่าสุด เงินที่ค้างอยู่ในบัตรสตาร์บัคส์มีมูลค่ามากถึง 38,000 ล้านบาท..
----------------------
ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
กดติดตามที่ http://www.youtube.com/longtunman
----------------------
References
-Starbucks Annual Report 2019