กรณีศึกษา ราชาตราสารหนี้ขยะ
กรณีศึกษา ราชาตราสารหนี้ขยะ /โดย ลงทุนแมน
ตราสารหนี้ คือ สัญญากู้ยืมเงิน
โดยปกติแล้วตราสารหนี้จะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
สำหรับตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ ในโลกการเงินจะเรียกกันว่า Junk Bond หรือแปลว่าตราสารหนี้ขยะ
โดยปกติแล้วตราสารหนี้จะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
สำหรับตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ ในโลกการเงินจะเรียกกันว่า Junk Bond หรือแปลว่าตราสารหนี้ขยะ
รู้หรือไม่ว่า ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ประเภทนี้ เพิ่งถูกสร้างขึ้นมาเมื่อเพียง 40 ปีที่แล้ว โดยชายที่ชื่อว่า “ไมเคิล มิลเคน”
เขาประสบความสำเร็จอย่างมาก จนได้รับการขนานนามว่า ราชาแห่งตราสารหนี้ขยะ
แต่ภายหลัง เขากลับถูกสั่งห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับตลาดที่สร้างมากับมือไปตลอดชีวิต
แต่ภายหลัง เขากลับถูกสั่งห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับตลาดที่สร้างมากับมือไปตลอดชีวิต
เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ไมเคิล มิลเคน เป็นนักการเงินชาวอเมริกัน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1946 ปัจจุบันมีอายุ 73 ปี
ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย เขาสังเกตเห็นโอกาสทำกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้
โดยทั่วไป สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จะแบ่งบริษัทออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. Investment Grade ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ได้เรตติ้งตั้งแต่ AAA ถึง BBB
2. Speculative Grade ที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูง ได้เรตติ้งตั้งแต่ BB ถึง D
1. Investment Grade ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ได้เรตติ้งตั้งแต่ AAA ถึง BBB
2. Speculative Grade ที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูง ได้เรตติ้งตั้งแต่ BB ถึง D
ทั้งนี้ตราสารหนี้ของบริษัทที่อยู่ในระดับ Speculative จะถูกเรียกว่า Junk Bond
เนื่องจากธุรกิจมีความเสี่ยงสูง ทำให้สินทรัพย์ประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงด้วยเช่นกัน
เนื่องจากธุรกิจมีความเสี่ยงสูง ทำให้สินทรัพย์ประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงด้วยเช่นกัน
แต่มิลเคนก็ได้ค้นพบว่า เมื่อเทียบต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เท่ากันแล้ว (Risk-Adjusted Return)
ตราสารหนี้เครดิตเรตติ้งต่ำนั้น ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ตราสารหนี้เครดิตเรตติ้งสูง
ตราสารหนี้เครดิตเรตติ้งต่ำนั้น ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ตราสารหนี้เครดิตเรตติ้งสูง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงดังกล่าว ปริมาณการซื้อขาย Junk Bond ยังมีอยู่จำกัด เนื่องจากไม่ค่อยมีสถาบันการเงิน ทำหน้าที่เป็น Underwriter ออกตราสารหนี้ประเภทนี้ให้สักเท่าไหร่
พอจบการศึกษา เขาก็ได้เข้าทำงานที่บริษัทวาณิชธนกิจชื่อ Drexel Burnham Lambert และเสนอไอเดียต่อหัวหน้าในทันที จนได้รับอนุมัติ ให้ตั้งแผนกซื้อขายตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง ซึ่งปรากฏว่าสามารถทำกำไรได้ 100% ในเวลาไม่นาน
ต่อมา เมื่อการลงทุนใน Junk Bond เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น
มิลเคน จึงเสนอให้ Drexel บริการเป็น Underwriter ออกตราสารหนี้ให้กับบริษัทที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำเสียเองเลย
มิลเคน จึงเสนอให้ Drexel บริการเป็น Underwriter ออกตราสารหนี้ให้กับบริษัทที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำเสียเองเลย
ทำให้ตลาดตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และ Drexel ก็เป็นผู้นำของ Underwriter ในสินทรัพย์กลุ่มนี้
ในช่วงทศวรรษ 1980 มูลค่าตลาด Junk Bond จากที่แทบไม่มีการซื้อขายกันเลย ก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,500,000 ล้านบาท
และในปัจจุบัน มูลค่านั้นได้พุ่งขึ้นสูงถึง 66,000,000 ล้านบาท
และในปัจจุบัน มูลค่านั้นได้พุ่งขึ้นสูงถึง 66,000,000 ล้านบาท
ประโยชน์ของสิ่งที่มิลเคนได้สร้างขึ้นมานี้คือ
มันช่วยเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของบริษัทที่ได้รับการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือในระดับต่ำ
มันช่วยเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของบริษัทที่ได้รับการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือในระดับต่ำ
เพราะส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเทคโนโลยี โทรคมนาคม หรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งนักลงทุนไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่จริงๆ แล้ว หลายแห่งมีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก
นอกจากนี้ มันยังได้ส่งผลให้เกิดการซื้อกิจการด้วยเงินกู้ (Leverage Buyout) มากขึ้นอีกด้วย
โดย Drexel จะรับรองการระดมเงินกู้ มาให้ลูกค้านำไปเทกโอเวอร์บริษัท
โดย Drexel จะรับรองการระดมเงินกู้ มาให้ลูกค้านำไปเทกโอเวอร์บริษัท
ตลอดอาชีพในแวดวงการเงิน มิลเคนได้ช่วยออกตราสารหนี้ให้กับบริษัทมากกว่า 3,200 แห่ง
และในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถสร้างรายได้จากค่านายหน้า สูงถึง 17,000 ล้านบาทต่อปี
ทำให้ผู้คนยกย่องให้เขาเป็น ราชาแห่งตลาดตราสารหนี้ขยะ
และในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถสร้างรายได้จากค่านายหน้า สูงถึง 17,000 ล้านบาทต่อปี
ทำให้ผู้คนยกย่องให้เขาเป็น ราชาแห่งตลาดตราสารหนี้ขยะ
อย่างไรก็ตาม ชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์นี้ กลับต้องเจอสถานการณ์พลิกผันครั้งใหญ่
มิลเคนต้องการครองส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด จึงยอมทำธุรกิจกับแทบทุกบริษัท แม้บางครั้งมันอาจจะมีเรื่องบางอย่างผิดปกติ
ในปี 1990 มิลเคนและพวก ถูกยื่นฟ้องร้องถึง 98 ข้อหา เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน มาปั่นราคาหุ้นเพื่อประโยชน์ในการระดมทุนตราสารหนี้ หรือเพื่อการซื้อกิจการของลูกค้า
สุดท้าย มิลเคนยอมรับผิดไป 6 ข้อหา และได้รับโทษดังต่อไปนี้
ค่าปรับและค่าเสียหายรวม 18,000 ล้านบาท
ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 10 ปี
ถูกห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการทำธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงตลาด Junk Bond ไปตลอดชีวิต
ค่าปรับและค่าเสียหายรวม 18,000 ล้านบาท
ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 10 ปี
ถูกห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการทำธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงตลาด Junk Bond ไปตลอดชีวิต
ขณะที่บริษัท Drexel เอง ก็โดนค่าปรับไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และสูญเสียความน่าเชื่อถือ จนต้องปิดกิจการในที่สุด
หลังจากผ่านไป 22 เดือน มิลเคนก็ได้ออกจากคุก เนื่องจากมีการให้การที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีอื่นๆ
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็หันมาตั้งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ การแพทย์ และอื่นๆ อีกมากมาย
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็หันมาตั้งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ การแพทย์ และอื่นๆ อีกมากมาย
ปัจจุบัน มิลเคนก็ยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยคนหนึ่งของโลก โดยมีทรัพย์สิน 110,000 ล้านบาท จากการลงทุนส่วนตัว
เรื่องนี้อาจให้ข้อคิดกับเราว่า
ในโลกแห่งธุรกิจ มักจะมีโอกาสอยู่เสมอ
และหากเราค้นพบโอกาสดีๆ อาจทำให้เราก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดได้
และหากเราค้นพบโอกาสดีๆ อาจทำให้เราก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดได้
แต่เมื่อไรก็ตามที่เราอยู่จุดสูงสุดแล้ว ถึงแม้จะทำถูกมาตลอด แต่ทำผิดไปครั้งเดียว โอกาสก็อาจจะหายไปได้ในพริบตา เหมือนในกรณีของไมเคิล มิลเคน ผู้เป็นราชาแห่ง Junk Bond..
----------------------
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
http://www.blockdit.com
----------------------
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Michael_Milken
-https://www.investopedia.com/terms/m/michaelmilken.asp
-https://www.businessinsider.com/michael-milken-life-story-2017-5
-https://www.britannica.com/biography/Michael-R-Milken
----------------------
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
http://www.blockdit.com
----------------------
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Michael_Milken
-https://www.investopedia.com/terms/m/michaelmilken.asp
-https://www.businessinsider.com/michael-milken-life-story-2017-5
-https://www.britannica.com/biography/Michael-R-Milken