ศุภชัย อัมพุช ผู้ก่อตั้ง เดอะมอลล์
ศุภชัย อัมพุช ผู้ก่อตั้ง เดอะมอลล์ / โดย ลงทุนแมน
วันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเดอะมอลล์กรุ๊ป
ผู้เป็นเจ้าของศูนย์การค้าชั้นนำมากมายในประเทศ
ไม่ว่าจะเป็น เดอะมอลล์, เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์, บลูพอร์ต หัวหิน และ สยามพารากอน (ร่วมทุนกับ สยามพิวรรธน์)
ผู้เป็นเจ้าของศูนย์การค้าชั้นนำมากมายในประเทศ
ไม่ว่าจะเป็น เดอะมอลล์, เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์, บลูพอร์ต หัวหิน และ สยามพารากอน (ร่วมทุนกับ สยามพิวรรธน์)
บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด
ปี 2559 มีรายได้ 24,226 ล้านบาท กำไร 1,130 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 24,226 ล้านบาท กำไร 1,130 ล้านบาท
แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าอาณาจักรหมื่นล้านที่ว่านี้เริ่มต้นมาจาก
เด็กเช็กขวดเหล้ากับเงินเพียง 4 แสนบาทเท่านั้น
ลงทุนแมนจะมาเล่าประวัติของเด็กเช็กขวดเหล้าคนนี้ให้ฟังกัน
คุณศุภชัย อัมพุช เป็นลูกคนที่ 5 ของ จักชอง แซ่อื้อ ชาวจีนไหหลำซึ่งอพยพมาประกอบอาชีพอยู่ใน อ. พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ครอบครัวอัมพุชถือเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่ประกอบธุรกิจค้าฝิ่นซึ่งสมัยนั้นยังถูกกฎหมาย นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพเสริมเป็นตัวแทน (ยี่ปั๊ว) จำหน่ายสุราด้วย
แต่เส้นทางชีวิตของคุณศุภชัยก็มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อคุณศุภชัยต้องเสียมารดาไปในวัย 9 ขวบ ซ้ำร้ายปีต่อมานายจักชอง ก็ถึงแก่กรรมตามผู้เป็นภรรยาไปอย่างไม่คาดคิดทิ้งให้ลูกๆ ต้องดูแลกันเอง
จากการสูญเสียบิดา มารดาไป ภาระในการดูแลครอบครัวจึงตกไปอยู่กับพี่ชายคนโตชื่อ เปี๊ยะฮี อัมพุช และพี่สาวคนที่ 2 อ้วยกี อัมพุช ซึ่งยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น ทำให้ครอบครัวอัมพุชในช่วงนั้นค่อนข้างระส่ำระสาย
และเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเมื่อพี่ชายคนโตตัดสินใจนำทรัพย์สมบัติทั้งหมดของตระกูลออกขายเพื่อซื้อธนบัตรจีนมาเก็งกำไร
ก่อนที่รัฐบาลจีนประกาศยกเลิกธนบัตรเหล่านั้น จึงทำให้ฐานะของตระกูลอัมพุชตกต่ำลงถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัว
แต่โชคร้ายของตระกูลอัมพุชดูจะไม่จบลงง่ายๆ เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งสหกรณ์ และให้สิทธิ์ในการขายเหล้าและฝิ่นถูกผนวกเข้าไปอยู่ในสหกรณ์
ส่งผลให้ตระกูลอัมพุชต้องถอนตัวออกจากธุรกิจฝิ่น และสุราไป
ซึ่งด้วยฐานะที่ยากจนลง ประกอบกับการเกิดขึ้นของสงครามโลกทำให้คุณศุภชัยต้องตัดสินใจละทิ้งถิ่นกำเนิดมาอยู่อาศัยกับพี่สาว และเสี่ยงโชคในกรุงเทพฯ และนี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางชีวิตของคุณศุภชัย อัมพุช
คุณศุภชัยเริ่มบทแรกของการทำมาหากินด้วยการเป็นกรรมกรในโรงเหล้าย่านหัวลำโพง ชื่อ น่ำอา โดยมีหน้าที่ตั้งแต่ขนส่ง จัดเก็บ และตรวจคุณภาพเหล้า
ก่อนที่จะย้ายไปเป็นเสมียนที่ร้านประไพสวัสดิ์ ตัวแทน (agent) เหล้ารายใหญ่ย่านพระโขนงซึ่งถูกอกถูกใจนิสัยใจคอของคุณศุภชัยจึงดึงตัวจาก น่ำอา ให้ไปอยู่ด้วย
ก่อนที่จะย้ายไปเป็นเสมียนที่ร้านประไพสวัสดิ์ ตัวแทน (agent) เหล้ารายใหญ่ย่านพระโขนงซึ่งถูกอกถูกใจนิสัยใจคอของคุณศุภชัยจึงดึงตัวจาก น่ำอา ให้ไปอยู่ด้วย
ที่นี่เองที่คุณศุภชัยได้โชว์ฝีไม้ลายมือด้วยการคิดสูตรเหล้าใหม่จนขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ส่งผลให้คุณศุภชัยได้เลื่อนขั้นอย่างรวดเร็วจนได้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปในวัย 18 ปีเท่านั้น
และแล้วชีวิตของคุณศุภชัยก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อเขาเข้าประตูวิวาห์กับน้องสาวบุญธรรมของเจ้าของร้านซึ่งอายุอ่อนกว่าเขา 1 ปี ในวัย 25 ปี ก่อนจะมีลูกด้วยกันถึง 6 คน
คุณศุภชัย และ ภรรยาจึงย้ายออกจากร้านประไพสวัสดิ์พร้อมกับเงินเก็บ 4 แสนบาทมาตั้งอาณาจักรของตัวเองในวัย 31 ปี ซึ่งถ้าเทียบกับค่าเงินในสมัยนี้ เงิน 4 แสนบาทสมัยนั้นก็น่าจะมีมูลค่าหลายล้านบาทในสมัยนี้
แปลว่าในตอนนั้นคุณศุภชัยน่าจะเก็บสะสมเงินจากการทำงานได้เยอะอยู่เหมือนกัน
ในปี 2502 คุณศุภชัยเซ้งตึกแถว 2 ห้องเชิงสะพานพระโขนงมาทำโต๊ะบิลเลียด โดยใช้ชื่อว่า สมาคมชาวพระโขนง มีโต๊ะบิลเลียดทั้งหมด 5 โต๊ะ
แต่ด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบลูกถึง 6 คน
คุณศุภชัยจึงส่งภรรยาไปเรียนเสริมสวยก่อนจะเซ้งตึกเพิ่มอีกหนึ่งห้องเพื่อให้ภรรยาเปิดร้านเสริมสวยคู่กับการทำโต๊ะบิลเลียด
รวมถึงปล่อยชั้นล่างให้ร้านข้าวต้มเช่าอีกด้วย
นอกจากโต๊ะบิลเลียด ร้านเสริมสวย และปล่อยเช่าแล้วคุณศุภชัยยังไปร่วมลงทุนในกิจการโรงเหล้าที่นครสวรรค์อีกด้วย
แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นกับคุณศุภชัย..
3 ปีหลังจากออกมาเปิดกิจการของตนเอง ภรรยาคุณศุภชัยได้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
คุณศุภชัยขายหุ้นโรงเหล้าทั้งหมดเพื่อนำมารักษาภรรยาเป็นเงิน 4 แสนบาท
ซึ่งเงิน 4 แสนบาทถือว่าเป็นจำนวนมหาศาลในสมัยนั้น
และโลกนี้มันก็เป็นแบบนี้
ความเศร้ามักจะมาหาเรา และพลัดพรากคนรักให้จากเราไปโดยไม่รู้ตัว
ในที่สุดคุณศุภชัยได้สูญเสียภรรยาไปในปี 2507
หลังจากนั้น
ถึงแม้จะสูญเสียภรรยาไป แต่ชีวิตของคุณศุภชัยก็ต้องดำเนินต่อไป
เขาได้แต่งงานใหม่กับนางพยาบาลซึ่งคอยดูแลภรรยาของเขาในขณะที่ยังมีชีวิต
หลังจากนั้นคุณศุภชัยรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจภาพยนตร์ด้วยการก่อตั้งโรงภาพยนตร์เฉลิมรัตน์ ก่อนจะตะลุยสร้างโรงภาพยนตร์ชั้นสองอีก 5 โรง ในช่วง 5 ปี
แต่คุณศุภชัยทราบดีว่าธุรกิจย่อมมีวันตายประกอบกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เขาจึงตัดสินใจไปทุ่มทุนกับการเปิดร้านอาหาร ไนต์คลับ และอาบอบนวด
..และแล้วคุณศุภชัยก็มองเห็นโอกาสอีกครั้ง..
เมื่อเสี่ยโซวเพื่อนของคุณศุภชัยชวนไปพัฒนาที่ดินย่านราชดำริซึ่งเป็นที่ย่านกลางเมือง
ที่แห่งนี้ได้ถูกพัฒนาเป็น เดอะมอลล์ ราชดำริ
และนี่เองคือจุดเริ่มต้นอาณาจักรศูนย์การค้าหมื่นล้าน
ซึ่งขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากคุณศุภชัย คือ การลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาอย่างไม่หยุดนิ่ง
และที่น่าสังเกตก็คือเมื่อเขาเริ่มรู้สึกว่าธุรกิจที่มีคนทำตาม เขาจะเริ่มมองหาธุรกิจอื่น
เรื่องนี้แตกต่างจาก เจ้าของกิจการ หรือนักลงทุนทั่วไป ที่ไม่ยอมปล่อยมือจากธุรกิจเดิม ถึงแม้รู้ว่าธุรกิจของตัวเองจะมีแนวโน้มที่ไม่ดีแล้ว
การปรับเปลี่ยนธุรกิจไปตามสถานการณ์น่าจะเป็นจุดเด่นของเรื่องนี้
และถ้าเรานำข้อคิดนี้ไปใช้กับตัวเราได้ ก็อาจทำให้เราประสบความสำเร็จได้เหมือนอาณาจักร เดอะมอลล์..
----------------------
<ad> เว็บไซต์คลังบ้าน เว็บที่รวบรวมประกาศขายบ้านของคุณจากการลงประกาศเพียงครั้งเดียว
ประกาศของคุณจะถูกเผยแพร่ในงานมหกรรมบ้านดี เว็บไซต์คลังบ้าน และเพจ Facebook บ้านดี
เข้าถึงตรงกลุ่มเป้าหมายคนหาซื้อบ้านทุกทำเล ในแต่ละจังหวัดด้วยหลากหลายช่องทางทั้งสื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์
----------------------
<ad> เว็บไซต์คลังบ้าน เว็บที่รวบรวมประกาศขายบ้านของคุณจากการลงประกาศเพียงครั้งเดียว
ประกาศของคุณจะถูกเผยแพร่ในงานมหกรรมบ้านดี เว็บไซต์คลังบ้าน และเพจ Facebook บ้านดี
เข้าถึงตรงกลุ่มเป้าหมายคนหาซื้อบ้านทุกทำเล ในแต่ละจังหวัดด้วยหลากหลายช่องทางทั้งสื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์
ติดต่อ: 094-816-1666 , Website: http://bit.ly/2LZqEWf
----------------------
----------------------
Reference
-http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=2911
-หนังสือ กลยุทธ์สู่ความร่ำรวยตระกูล "มหาเศรษฐีอาเซียน" – ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์
-http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=2911
-หนังสือ กลยุทธ์สู่ความร่ำรวยตระกูล "มหาเศรษฐีอาเซียน" – ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์