
โลกของ Duopoly ในตลาด Food Delivery ไทย ใครคือม้ามืดที่ถูกมองข้าม ?
ShopeeFood x ลงทุนแมน
การถอนตัวออกไปของ Foodpanda จากตลาดไทยในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจว่า “อนาคตของ Food Delivery ในไทย จะหน้าตาเป็นแบบไหน ?”
หลายสื่อเริ่มพูดถึงการแข่งขันระหว่าง 2 เจ้าใหญ่ ก็คือ LINE MAN กับ GrabFood ในฐานะผู้เล่นหลักที่เหลืออยู่ในสนาม
แต่ในภาพของการแข่งขันที่สุดท้ายเหมือนจะชัดเจนว่า กำลังกลายเป็น Duopoly ที่มีรายใหญ่แค่ 2 ราย เป็นผู้กำหนดทิศทางของตลาด
แต่รู้ไหมว่า จริง ๆ แล้ว ตลาด Food Delivery ยังมีผู้เล่นอีกหลายรายที่เหลืออยู่ และพร้อมอยากจะแบ่งเค้กจาก 2 เจ้าใหญ่
แล้วใครบ้างที่อยู่ในสนาม Food Delivery ของไทย ?
ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
จากกรณีที่ Foodpanda Thailand ภายใต้ Delivery Hero ได้ออกมาประกาศยุติการประกอบกิจการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารและสินค้าในไทย โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป
ทำให้เกิดกระแสการวิเคราะห์แนวโน้มและสถานการณ์ของธุรกิจบริการจัดส่งอาหารในไทยปัจจุบันว่า กำลังก้าวเข้าสู่ยุค “Duopoly” อย่างเป็นทางการ โดยมีผู้เล่นหลักอยู่ 2 รายในไทยคือ LINE MAN และ GrabFood
ท่ามกลางกระแส Duopoly ซึ่งเป็นภาพปัจจุบันของธุรกิจ Food Delivery ในไทย จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังให้บริการจัดส่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็น Robinhood หรือ ShopeeFood ก็ตาม
แล้วใครมีโอกาสจะเป็นผู้เล่นเบอร์สามได้บ้าง ?
จากการตรวจสอบข้อมูลของผู้เล่นในตลาด Food Delivery พบว่า ShopeeFood เป็นผู้เล่นเบอร์สามที่น่าจับตามองในขณะนี้ ที่มียอดเติบโตอย่างรวดเร็ว
และจากการสำรวจของ Redseer บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์จากประเทศอินเดีย ก็น่าตกใจว่า เมื่อนับตามจำนวนธุรกรรมแล้ว ShopeeFood มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า Foodpanda กับ Robinhood รวมกันเสียอีก
ประกอบกับ ShopeeFood เอง ก็ให้บริการส่งอาหารอยู่บนแอปพลิเคชัน Shopee ที่เป็นผู้นำธุรกิจแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่คนไทยเองคุ้นเคยกันอยู่แล้วด้วย
ในขณะที่ฐานลูกค้า ShopeeFood ค่อนข้างกว้าง และเป็นอีกหนึ่งเจ้าที่มีการขยายพื้นที่ในการให้บริการครอบคลุมถึง 77 จังหวัด ยังไม่นับรวมระบบ Ecosystem ที่มีความพร้อมในการทำธุรกรรมค่อนข้างสูงอย่าง ShopeePay หรือแม้กระทั่ง SPayLater ที่เป็นบริการผ่อนจ่ายในการชำระค่าอาหาร ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งาน Shopee อย่างแพร่หลาย
ซึ่งภาพที่เราเห็นคือ ทุกวันนี้เราสามารถผ่อนค่าข้าวมันไก่หรือค่ากาแฟได้แล้ว..
นั่นจึงทำให้ ShopeeFood ในไทยมีโอกาสที่จะกลายเป็นม้ามืดในตลาด Food Delivery ก็เป็นได้
นั่นจึงทำให้ ShopeeFood ในไทยมีโอกาสที่จะกลายเป็นม้ามืดในตลาด Food Delivery ก็เป็นได้
ตัวอย่างประโยชน์ของผู้บริโภค ก็เช่น
- ShopeeFood สามารถใช้โปรโมชันต่าง ๆ ได้ไม่ต่างจากการสั่งสินค้าใน Shopee
- Shopee Coins ในการลดค่าอาหาร หรือการที่มีโคดส่วนลดที่แจกในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะในวันเลขเบิล (Double Day) เช่น 9.9
- ShopeeFood สามารถใช้โปรโมชันต่าง ๆ ได้ไม่ต่างจากการสั่งสินค้าใน Shopee
- Shopee Coins ในการลดค่าอาหาร หรือการที่มีโคดส่วนลดที่แจกในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะในวันเลขเบิล (Double Day) เช่น 9.9
พูดง่าย ๆ ว่าใครเคยสั่งของจาก Shopee ก็แทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่เลย คนใช้จึงสะดวก และคุ้มราคา จากโปรโมชัน
ซึ่ง ShopeeFood มีฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่รองรับสำหรับการสั่งอาหาร ไม่ต่างจากผู้ให้บริการส่งอาหารเจ้าอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น “บริการรับที่ร้าน”, “บริการสั่งล่วงหน้า” หรือแม้กระทั่ง “บริการสั่งอาหารเป็นกลุ่ม”
ในอีกมุมหนึ่งที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือโปรแกรม ShopeeFood Affiliate ที่มีการเป็นที่พูดถึงในหมู่ Influencer และ Content Creator ที่จะได้รับค่าคอมมิชชันเป็นการตอบแทน เมื่อโปรโมตและเกิดออเดอร์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางทำเงินสำคัญของเหล่า Influencer
สะท้อนว่า ShopeeFood ปรับตัวเองให้มีบริการมาตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค พร้อมกับการแข่งขันทั้งตัวเองและเจ้าใหญ่ในตลาด Food Delivery
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของผู้เล่นในตลาด Food Delivery
อย่างไรก็ตาม บทสรุปของสถานการณ์ตลาดบริการส่งอาหารนั้น จะต้องให้ผู้บริโภคและฟันเฟืองในธุรกิจอย่างคนขับและร้านค้า เป็นผู้ตัดสินว่า เจ้าตลาด 2 รายเดิม จะเป็นผู้กำหนดทิศทาง และครองตลาดอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม บทสรุปของสถานการณ์ตลาดบริการส่งอาหารนั้น จะต้องให้ผู้บริโภคและฟันเฟืองในธุรกิจอย่างคนขับและร้านค้า เป็นผู้ตัดสินว่า เจ้าตลาด 2 รายเดิม จะเป็นผู้กำหนดทิศทาง และครองตลาดอย่างแท้จริง
หรือจะเปิดโอกาสให้กับผู้เล่นหมายเลข 3 ที่เป็นม้ามืด เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการถ่วงดุลการแข่งขัน และแจ้งเกิดร่วมกันเป็นเจ้าตลาดรายที่ 3 ในตลาด Food Delivery ของไทย..
Reference
- เอกสารประชาสัมพันธ์ Redseer
- เอกสารประชาสัมพันธ์ Redseer
Tag: ShopeeFood