
หนี้สาธารณะของไทย แบบเข้าใจง่าย ๆ
หนี้สาธารณะของไทย แบบเข้าใจง่าย ๆ /โดย ลงทุนแมน
หนี้สาธารณะของประเทศไทยตอนนี้สูงระดับไหน ?
แล้วหนี้สาธารณะระดับไหนถือว่าสูง ?
แล้วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถือว่าสูงหรือไม่ ?
หนี้สาธารณะของประเทศไทยตอนนี้สูงระดับไหน ?
แล้วหนี้สาธารณะระดับไหนถือว่าสูง ?
แล้วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถือว่าสูงหรือไม่ ?
หลายครั้ง เรื่องนี้มักเป็นเรื่องที่ถูกนำมาโจมตีในทางการเมืองของฝั่งตรงข้ามในทุกยุคทุกสมัย
ประเทศเราก่อหนี้ไว้มาก จนคนธรรมดาอย่างเราฟังแล้วไม่เข้าใจ
ประเทศเราก่อหนี้ไว้มาก จนคนธรรมดาอย่างเราฟังแล้วไม่เข้าใจ
ลงทุนแมนจะมาอธิบายเรื่องนี้ แบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทำไมรัฐบาลจึงต้องมีหนี้สาธารณะ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใดประเทศหนึ่ง ทุกประเทศจะใช้ 2 นโยบายหลัก ได้แก่
1. นโยบายการเงิน (Monetary Policy)
ดำเนินการโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ซึ่งเครื่องมือหลักคือ การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้สะท้อนกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ
ดำเนินการโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ซึ่งเครื่องมือหลักคือ การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้สะท้อนกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ
เศรษฐกิจไม่ดี จะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เศรษฐกิจดี จะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรง
2. นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลผ่านมาตรการภาษีซึ่งเป็นด้านรายได้
ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลผ่านมาตรการภาษีซึ่งเป็นด้านรายได้
รายได้ของรัฐบาลนั้น ถือเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรายจ่ายที่รัฐบาลต้องการใช้ในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ
รายได้หลักของรัฐบาลคือ รายได้จากภาษี อย่างไรก็ตาม มีหลายครั้งที่การจัดเก็บรายได้นั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งอาจเกิดจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือเศรษฐกิจโลก
แต่เพื่อให้นโยบายต่าง ๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้
หรือบางครั้ง รัฐบาลก็ดำเนินการแบบนโยบายขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว หลังเจอเศรษฐกิจซบเซา
รัฐบาลจึงจําเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่าย จนนำมาซึ่งหนี้สาธารณะ (Public Debt) ซึ่งก็มาจากการออกพันธบัตรรัฐบาล หรือกู้ยืมเงินจากคนอื่นนั่นเอง
สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะสามารถกู้เงินมาใช้จ่ายเท่าไรก็ได้
เพราะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยเฉพาะการที่ต้องคงสัดส่วนหนี้สาธารณะ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของ GDP
เพราะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยเฉพาะการที่ต้องคงสัดส่วนหนี้สาธารณะ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของ GDP
แต่จากสถานการณ์ล็อกดาวน์ ที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากเพื่อบรรเทาผลกระทบ รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงได้มีการปรับกรอบดังกล่าวเป็น ไม่เกิน 70% ของ GDP มาตั้งแต่ปี 2564
โดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 หนี้สาธารณะของไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. หนี้รัฐบาล จำนวน 10.7 ล้านล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน จำนวน 0.2 ล้านล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 0.09 ล้านล้านบาท
1. หนี้รัฐบาล จำนวน 10.7 ล้านล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน จำนวน 0.2 ล้านล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 0.09 ล้านล้านบาท
รวมหนี้สาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด 12.09 ล้านล้านบาท ซึ่งหนี้สาธารณะของไทยทั้งหมดนั้น 99% เป็นหนี้ในประเทศ และ 1% เป็นหนี้ต่างประเทศ
โดยหนี้สาธารณะมีสัดส่วนประมาณ 64.7% ของ GDP ทั้งประเทศที่ 18.7 ล้านล้านบาท
พอเรื่องเป็นแบบนี้ นั่นก็หมายความว่า
ณ วันนี้ประเทศไทยของเรามีกระสุนเหลือที่จะก่อหนี้สาธารณะเพื่อมาใช้ดำเนินนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกประมาณ 1 ล้านล้านบาทเท่านั้น เว้นแต่จะขยับกรอบเพดานหนี้ขึ้นไปอีก..
ณ วันนี้ประเทศไทยของเรามีกระสุนเหลือที่จะก่อหนี้สาธารณะเพื่อมาใช้ดำเนินนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกประมาณ 1 ล้านล้านบาทเท่านั้น เว้นแต่จะขยับกรอบเพดานหนี้ขึ้นไปอีก..
รู้ไหมว่าตั้งแต่ปี 2540 สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยต่อ GDP เคยขึ้นไปถึง 58% ในปี 2543 ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
ก่อนที่จะลดลงมา โดยในช่วงระหว่างปี 2540-2563 หนี้สาธารณะต่อ GDP เฉลี่ยอยู่ที่ปีละประมาณ 45% ก่อนที่จะถีบตัวสูงขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ปี 2564 และไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ และไม่เคยลงไปต่ำกว่า 60% ต่อ GDP อีกเลย
แล้วหนี้สาธารณะของไทยถือว่าสูงไหม เมื่อเทียบกับที่อื่นในปัจจุบัน ?
ซึ่งก็ต้องถามกลับว่าเทียบกับใคร
ถ้าเทียบกับหนี้ทั่วโลก หนี้สาธารณะเฉลี่ยต่อ GDP จะอยู่ที่ 90%
แต่ถ้าเทียบกับประเทศในอาเซียน หนี้สาธารณะเฉลี่ยต่อ GDP จะอยู่ที่ 66.6%
แต่ถ้าเทียบกับประเทศในอาเซียน หนี้สาธารณะเฉลี่ยต่อ GDP จะอยู่ที่ 66.6%
ถ้าดูแบบนี้คงต้องบอกว่า สถานะการเงินและการคลังของประเทศยังถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง และใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอาเซียน
ขณะเดียวกันในตอนนี้ ก็มีหลายประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะสูงจนมีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น
เลบานอน มีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 200% ซึ่งนับแค่เฉพาะดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องจ่ายเจ้าหนี้ ก็มากกว่าที่รัฐบาลจะจ่ายไหว จนสุดท้ายเกิดการผิดนัดชำระหนี้ และทำให้รัฐบาลเหลืองบประมาณไม่มากในการพัฒนาประเทศ จนเกิดวิกฤติในประเทศขึ้นเมื่อปี 2562 จนมาถึงปัจจุบัน
เปอร์โตรีโก ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษของสหรัฐอเมริกา ก็เคยมีหนี้สาธารณะกว่า 119% ของ GDP จากการที่รัฐบาลทำงบประมาณขาดดุลด้วยวิธีการออกพันธบัตรอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 40 ปี
การมีหนี้สินมหาศาลโดยที่รัฐบาลขาดความสามารถในการชำระคืนหนี้ จนสุดท้ายประเทศก็ล้มละลาย จนต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ จึงทำให้หนี้สาธารณะ ลดลงมาอยู่ที่ 17% ของ GDP
แต่รัฐบาลเปอร์โตรีโก ก็ต้องแลกกับเงื่อนไขต่าง ๆ มากมายเพื่อให้แผนการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เช่น ลดเงินบำนาญข้าราชการ, ขึ้นค่าไฟฟ้า, ให้เอกชนเข้ามาบริหารระบบไฟฟ้า รวมถึงลดงบประมาณพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าหนี้สาธารณะของประเทศยังถือว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่สิ่งที่ท้าทายพวกเราในอนาคตคือ ประชากรวัยแรงงาน ซึ่งเป็นฐานภาษีที่สำคัญของประเทศมีแนวโน้มลดลง สวนทางกับสัดส่วนผู้สูงอายุ
หมายความว่า รายได้จากภาษีของรัฐบาลมีแนวโน้มลดลง ขณะที่รายจ่ายอาจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจสร้างความไม่สมดุลระหว่าง รายได้และรายจ่ายของรัฐบาล
เมื่อเป็นแบบนั้น รัฐบาลก็ควรทำ 2 เรื่อง คือ
1. พยายามใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็น และมีประโยชน์ในการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
1. พยายามใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็น และมีประโยชน์ในการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
2. พยายามลดรายจ่ายในบางโครงการที่ไม่จำเป็น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้จะทำให้เราคงสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ โดยที่เราสามารถรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
คำถามที่สำคัญคือ
รัฐบาลตอนนี้รู้ตัวหรือยังว่า
1. อะไรคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
2. อะไรคือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
รัฐบาลตอนนี้รู้ตัวหรือยังว่า
1. อะไรคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
2. อะไรคือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
เพราะถ้ายังไม่รู้
คนที่จะมารับภาระในอนาคต
ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
แต่เป็นลูกหลานของพวกเรานั่นเอง..
คนที่จะมารับภาระในอนาคต
ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
แต่เป็นลูกหลานของพวกเรานั่นเอง..