
สรุปกลยุทธ์การเติบโต ในแต่ละช่วงชีวิตของธุรกิจ แบบเข้าใจง่าย ๆ
สรุปกลยุทธ์การเติบโต ในแต่ละช่วงชีวิตของธุรกิจ แบบเข้าใจง่าย ๆ /โดย ลงทุนแมน
ในชีวิตของคนเรา ตั้งแต่เกิดมา ผ่านวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยสูงอายุ แน่นอนว่าในแต่ละวัยนั้น ก็ล้วนมีเส้นทางการดำเนินชีวิต ที่แตกต่างกันไป
ในชีวิตของคนเรา ตั้งแต่เกิดมา ผ่านวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยสูงอายุ แน่นอนว่าในแต่ละวัยนั้น ก็ล้วนมีเส้นทางการดำเนินชีวิต ที่แตกต่างกันไป
สำหรับธุรกิจนั้น แม้จะไม่มีชีวิต แต่ก็สามารถแบ่งเป็นช่วงชีวิตได้เช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่า ในแต่ละช่วงวัยของธุรกิจนั้น ก็จะมีแนวทางการดำเนินธุรกิจ และวิธีบริหารจัดการ ที่ไม่เหมือนกัน
แล้วกลยุทธ์การเติบโต ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของธุรกิจ มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเราลองมาแบ่ง ช่วงวัยของธุรกิจกันก่อน..
ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้ว ในแต่ละธุรกิจ แต่ละอุตสาหกรรม จะมีการแบ่งช่วงวัยที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง
1. ช่วงเริ่มต้น (Startup) เปรียบเสมือนวัยทารก-วัยเด็กของธุรกิจ
2. ช่วงเติบโต (Growth) เปรียบเสมือนวัยเด็ก-วัยรุ่นของธุรกิจ
3. ช่วงอิ่มตัว (Maturity) เปรียบเสมือนวัยผู้ใหญ่ของธุรกิจ
4. ช่วงเสื่อมถอย (Decline) เปรียบเสมือนวัยชราของธุรกิจ
แล้วในแต่ละช่วงธุรกิจ ต้องเจออะไรบ้าง และควรหยิบกลยุทธ์ไหนมาใช้ ?
มาเริ่มกันที่ระยะเริ่มต้น (Startup) กันก่อน
ในระยะนี้ ธุรกิจจะยังไม่มีฐานลูกค้ามากนัก รวมถึงผลิตภัณฑ์ก็ยังไม่ติดตลาด
สิ่งที่ธุรกิจต้องโฟกัสมากที่สุดในระยะนี้ ก็คือโมเดลธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
- ใครคือกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าที่แท้จริงของธุรกิจ
- ผลิตภัณฑ์ของเราจะมอบคุณค่า หรือช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างไร
- ทำไมลูกค้าถึงจะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ของเรา แทนที่จะเป็นของคู่แข่ง
- ช่องทางไหนที่เราจะสื่อสารกับลูกค้า และส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้พวกเขา
- ใครคือพาร์ตเนอร์ของเรา เช่น ซัปพลายเออร์, หุ้นส่วน, บริษัทที่ปรึกษา, ร้านค้าปลีก
- อะไรคือตัวทำรายได้ให้แก่ธุรกิจ จะคิดรายได้รูปแบบไหน ขายขาด, เก็บส่วนแบ่งรายได้, ให้เช่า, ให้สมัครสมาชิก, ค่าโฆษณา ฯลฯ
- อะไรคือต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่าย โครงสร้างต้นทุนเป็นอย่างไร
การมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเติบโตของธุรกิจ
เมื่อมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจนแล้ว ในระยะเริ่มต้นนี้ ธุรกิจจะต้องเน้นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
รวมถึงอาจมีการออกแคมเปญดึงดูดลูกค้า เพื่อสร้างฐานผู้ใช้งาน สร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงเก็บ Feedback จากลูกค้าเพื่อนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
โดยที่ในระยะนี้ แม้จะมีรายได้เติบโตบ้าง แต่ธุรกิจก็มักอยู่ในภาวะขาดทุน รวมถึงต้องมีการใช้เงินเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพคล่องเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องระมัดระวัง
ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ ต่างก็เคยผ่านช่วงเวลานี้มาแล้วทั้งนั้น เช่น Apple, Amazon, Nvidia, Meta
มาถึงระยะที่สอง.. คือระยะเติบโต (Growth)
เมื่อมีฐานลูกค้าและธุรกิจแข็งแรงระดับหนึ่งแล้ว ในระยะเติบโตนี้ เป็นช่วงที่ต้องมุ่งเน้นการขยายธุรกิจ (Scale) ซึ่งอาจมาจาก
- การขยายไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ เช่น แบรนด์สตรีตแฟชั่น Supreme เริ่มแรกจับกลุ่มนักเล่นสเกตบอร์ด แต่ต่อมาได้ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่สนใจแฟชั่นสไตล์สตรีต
- การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น แบรนด์สกินแคร์ไทย MizuMi สินค้าแรกที่แบรนด์ทำออกมาคือ ครีมกันแดด ซึ่งผลตอบรับดี จึงขยายไลน์สินค้า ไม่ว่าจะเป็น ครีมกันแดดสูตรใหม่ ๆ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น คลีนซิง, เซรั่ม
นอกจากนี้ ธุรกิจอาจเลือกที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของบริษัทให้มีลูกเล่นใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงลงทุนใหม่ทั้งหมด เช่น แบรนด์น้ำดื่ม ที่ออกฉลากลวดลายพิเศษ ให้ลูกค้าได้สะสม
- การขยายตลาด ไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ โดยอาจนำสินค้าหรือโมเดลที่สำเร็จ ไปใช้ในพื้นที่ใหม่ได้ เพื่อมุ่งสร้างส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด เช่น ร้านสุกี้ตี๋น้อย ที่พอขยายสาขาครอบคลุมในกรุงเทพฯ ได้แล้ว ก็เริ่มขยับไปขยายสาขาในต่างจังหวัด
ในระยะนี้ ธุรกิจอาจเริ่มทำกำไรได้ แต่ก็จะต้องมีการลงทุนที่มากขึ้น และทำการตลาดเชิงรุก เพื่อสร้างการเติบโต
นอกจากนี้ ธุรกิจในระยะเติบโต อาจต้องมีการใช้เงินทุนจากภายนอกเข้ามาหมุนเวียนในธุรกิจมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินจากธนาคาร การออกหุ้นกู้ หรือแม้แต่การระดมทุนผ่านการออกเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งถ้าหากเป็นการนำธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เราก็จะเรียกว่า IPO นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากธุรกิจไหน สามารถขยายการเติบโตได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนหรือลงทุนมากนัก
และมีโครงสร้างต้นทุน เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ในสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับต้นทุนผันแปร
และมีโครงสร้างต้นทุน เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ในสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับต้นทุนผันแปร
ทุกรายได้ที่เพิ่มขึ้น ก็มักจะไหลลงไปเป็นกำไร ตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้ มักจะเป็นธุรกิจแพลตฟอร์ม ที่สามารถ Scale ไปได้ทั่วประเทศ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ เช่น TikTok, Facebook, YouTube
มาถึงระยะที่สาม.. ระยะอิ่มตัว (Maturity)
ในระยะนี้ เป็นช่วงที่ธุรกิจเริ่มอิ่มตัวแล้ว โดยสังเกตได้จากการมีรายได้ที่ค่อนข้างคงที่ หรือเติบโตอย่างช้า ๆ
ธุรกิจมีผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ที่ติดตลาดมาสักระยะ มีฐานลูกค้าที่ค่อนข้างเหนียวแน่น รวมถึงขนาดของตลาด อาจเริ่มพบกับขีดจำกัดแล้ว
การเติบโตในระยะนี้ จึงต้องมองออกไปด้านข้างของรันเวย์มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจก็คือ การเข้าซื้อกิจการ (M&A) เพื่อสร้างการเติบโต
โดยการเข้าซื้อกิจการนี้ อาจเป็นการซื้อกิจการของคู่แข่ง เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และลดการแข่งขันในตลาด
หรือแม้แต่ซื้อกิจการที่ไม่ได้เป็นคู่แข่งโดยตรง แต่เป็นธุรกิจที่นำมา Synergy กับธุรกิจปัจจุบันได้ เช่น การซื้อกิจการคู่ค้า
หรือซื้อกิจการต้นน้ำอย่าง ซัปพลายเออร์ และกิจการปลายน้ำ เช่น ร้านค้าปลีก เพื่อควบคุมซัปพลายเชนให้ครอบคลุม
รวมไปถึงการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ โดยไม่ลดคุณภาพ ซึ่งอาจนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยเสริมตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automation, ระบบ AI เป็นต้น
โดยในระยะอิ่มตัวนี้ สิ่งสำคัญที่ธุรกิจต้องตระหนักคือ การพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจไว้ โดยอาจเน้นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เช่น การนำเสนอบริการสำหรับสมาชิก โปรแกรมสะสมแต้ม
มาถึงระยะที่สี่.. ระยะถดถอย (Decline)
มนุษย์มีแก่ชราฉันใด ธุรกิจก็มีแก่ชราฉันนั้น
แต่อาจต่างกันตรงที่ ธุรกิจมีโอกาสที่จะฟื้นคืนชีพได้..
แต่อาจต่างกันตรงที่ ธุรกิจมีโอกาสที่จะฟื้นคืนชีพได้..
ในระยะถดถอยนั้น รายได้ของธุรกิจที่ค่อนข้างคงที่จากเฟสก่อนหน้า เริ่มลดลง ซึ่งอาจมาจากความนิยมในผลิตภัณฑ์ที่ลดลง
การแข่งขันที่มากขึ้น มีคู่แข่งหน้าใหม่ ๆ เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด
ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อุตสาหกรรมถูกดิสรัปต์ ด้วยสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่า
ในระยะนี้ เจ้าของหรือผู้บริหาร ควรที่จะควบคุมต้นทุน และพิจารณาตัดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป
ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อุตสาหกรรมถูกดิสรัปต์ ด้วยสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่า
ในระยะนี้ เจ้าของหรือผู้บริหาร ควรที่จะควบคุมต้นทุน และพิจารณาตัดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป
รวมถึงต้องมองหาวิธีพลิกฟื้นธุรกิจ เพื่อตอบ Pain Point ใหม่ ๆ ของลูกค้า โดยอาจมาจากการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือการร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดเด่นให้แก่บริษัท
ซึ่งถ้าหากทำสำเร็จ วงจรชีวิตของธุรกิจอาจกลับไปยังระยะเติบโตได้อีกครั้ง
ตัวอย่างเคสธุรกิจจริงคือ Apple ที่เคยวิกฤติจนเกือบล้มละลาย จนต้องเชิญคุณสตีฟ จอบส์ กลับมาบริหารอีกครั้ง ซึ่ง Apple ก็สามารถกลับมาเติบโตได้ ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ๆ ในสมัยนั้น ทั้ง iPod, iPhone และ iPad
อย่างไรก็ตาม ในระยะถดถอยนี้ ถ้าหากว่าไม่สามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้
รายได้ หรือส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ ก็ลดลงเรื่อย ๆ และมั่นใจว่า ธุรกิจไปต่อไม่ได้แล้ว
รายได้ หรือส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ ก็ลดลงเรื่อย ๆ และมั่นใจว่า ธุรกิจไปต่อไม่ได้แล้ว
การไม่ฝืน และพิจารณาที่จะขายธุรกิจอย่างสมเหตุสมผล ก็อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีเช่นกัน
มาถึงตรงนี้ เราก็คงจะเห็นภาพกันแล้วว่า ในแต่ละช่วงชีวิตของธุรกิจนั้น ก็ล้วนมีกลยุทธ์การเติบโต ที่แตกต่างกันไป
ไม่ต่างกับชีวิตของคนที่วัยเด็ก ก็เน้นเรียนรู้
วัยรุ่นเน้นหาประสบการณ์ ค้นหาตัวเอง
วัยผู้ใหญ่ เน้นสร้างความมั่งคั่ง
ไม่ต่างกับชีวิตของคนที่วัยเด็ก ก็เน้นเรียนรู้
วัยรุ่นเน้นหาประสบการณ์ ค้นหาตัวเอง
วัยผู้ใหญ่ เน้นสร้างความมั่งคั่ง
และต้องบอกว่า การที่มีบางธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ และล้มหายตายจากไป ถือเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ
ซึ่งเราอาจมองสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า Creative Destruction หรือการทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์
เพราะเมื่อมีธุรกิจเก่า ๆ หายไป ก็มักจะมีธุรกิจใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่า มีนวัตกรรมที่เหนือกว่า ขึ้นมาแทนที่ สุดท้ายก็จะทำให้ภาพรวมของประเทศ ของโลก รวมถึงอารยธรรมมนุษย์ ก้าวหน้าขึ้นนั่นเอง..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman