สรุปตัวเลขสำคัญ ที่ FED ใช้ดูก่อนจะปรับดอกเบี้ย แบบเข้าใจง่าย ๆ
สรุปตัวเลขสำคัญ ที่ FED ใช้ดูก่อนจะปรับดอกเบี้ย แบบเข้าใจง่าย ๆ /โดย ลงทุนแมน
การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คือสิ่งที่นักลงทุน ไม่ว่าจะรายใหญ่ระดับธนาคาร ที่บริหารสินทรัพย์มูลค่าเป็นล้าน ๆ หรือรายย่อย ที่นั่งเทรดหุ้นอยู่หน้าจอมือถือ ต่างก็ติดตามกันทั่วโลก
การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คือสิ่งที่นักลงทุน ไม่ว่าจะรายใหญ่ระดับธนาคาร ที่บริหารสินทรัพย์มูลค่าเป็นล้าน ๆ หรือรายย่อย ที่นั่งเทรดหุ้นอยู่หน้าจอมือถือ ต่างก็ติดตามกันทั่วโลก
เพราะการปรับอัตราดอกเบี้ยของ FED แต่ละครั้ง ส่งผลต่อราคาทรัพย์สินต่าง ๆ และเศรษฐกิจโลก
แล้ว FED ใช้ข้อมูล หรือตัวเลขอะไรบ้าง ในการพิจารณาว่าจะปรับเพิ่มหรือลดดอกเบี้ย ?
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
1. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) : ประกาศเดือนละครั้ง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
1. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) : ประกาศเดือนละครั้ง
FED จะตั้งเป้าเงินเฟ้อที่ต้องการเอาไว้ แล้วถ้าเมื่อไรที่เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามเป้า อัตราดอกเบี้ย คือเครื่องมือหลักที่ FED จะใช้ควบคุมระดับเงินเฟ้อ
เช่น หากเป้าหมายเงินเฟ้อของ FED คือ 2% ต่อปี
ถ้าเงินเฟ้อสูงกว่า 2% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือไม่ปรับลดลง
FED ก็อาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ และควบคุมเงินเฟ้อ
FED ก็อาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ และควบคุมเงินเฟ้อ
2. ตัวเลขการจ้างงาน (Employment Data) : ประกาศเดือนละครั้ง
FED จะดูอัตราการว่างงาน จำนวนการจ้างงานใหม่ และรายได้ค่าจ้างแรงงาน เพื่อประเมินภาวะตลาดแรงงาน และศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เช่น ถ้าอัตราว่างงานต่ำเกินไป แรงงานหายาก อาจเกิดแรงกดดันให้ค่าจ้างและเงินเฟ้อพุ่งสูง FED อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และตลาดแรงงาน
หรือถ้าตัวเลขการจ้างงานใหม่ตกต่ำ ก็อาจบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย FED อาจลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : ประกาศรายไตรมาส
เป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย FED จะปรับดอกเบี้ยเพื่อรักษาระดับการขยายตัวของ GDP ที่เหมาะสม
เช่น หาก GDP ขยายตัวสูงมาก FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดการขยายตัวที่เร็วเกินไป
แต่ถ้า GDP หดตัวเป็นลบติดต่อกันหลายไตรมาส บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย FED ก็อาจต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) : ประกาศเดือนละครั้ง
เป็นดัชนีสำคัญในการวัดอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค โดย FED จะใช้ติดตามแนวโน้มราคาสินค้าและค่าครองชีพ
หาก CPI พุ่งสูงขึ้นมาก แสดงว่ามีเงินเฟ้อสูงในระบบเศรษฐกิจ FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความต้องการใช้จ่ายและชะลอราคาสินค้า ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวหรือลดลง
แต่ถ้า CPI ติดลบหรือเติบโตต่ำเกินไป แสดงว่ามีภาวะเงินฝืด FED ก็อาจลดดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและเศรษฐกิจ
5. ยอดค้าปลีก (Retail Sales) : ประกาศเดือนละครั้ง
เป็นยอดขายสินค้าของร้านค้าปลีกต่าง ๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า และร้านค้ารายย่อย ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมการบริโภคภาคครัวเรือน
หากยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นสูงมาก แสดงว่าผู้บริโภคใช้จ่ายมาก เศรษฐกิจร้อนแรง เสี่ยงต่อเงินเฟ้อสูง FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดการบริโภคที่มากเกินไป
แต่ถ้ายอดค้าปลีกลดลงมาก แสดงว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคตกต่ำลง เป็นสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย FED ก็อาจลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้ฟื้นตัว
6. ดัชนีการผลิต (Manufacturing Indexes) : ประกาศเดือนละครั้ง
เป็นดัชนีที่ชี้วัดภาวะของภาคการผลิตในประเทศ โดยมีหลายตัวด้วยกันที่ FED ใช้พิจารณา
แต่ที่ FED และนักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ISM Manufacturing Index ซึ่งเป็นดัชนีที่สำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต ซึ่งรวมถึงการสั่งซื้อวัตถุดิบ การจ้างแรงงาน
หากดัชนีสูงขึ้น แสดงว่าภาคการผลิตกำลังขยายตัว
แต่ถ้าดัชนีตกต่ำ บ่งชี้ว่าภาคการผลิตชะลอตัวหรือหดตัว
แต่ถ้าดัชนีตกต่ำ บ่งชี้ว่าภาคการผลิตชะลอตัวหรือหดตัว
7. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) : ประกาศเดือนละครั้ง
เป็นดัชนีที่บ่งชี้ความรู้สึกของผู้บริโภคว่า มั่นใจที่จะใช้จ่ายและกู้ยืมเพื่อบริโภคหรือไม่
หากดัชนีสูง แสดงว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น พร้อมใช้จ่ายและกู้ยืมมากขึ้น
FED อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดพฤติกรรมการใช้จ่ายมากเกินไป
FED อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดพฤติกรรมการใช้จ่ายมากเกินไป
แต่หากดัชนีตกต่ำ คนจะระมัดระวังการใช้จ่าย ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอย FED อาจลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่น
นอกจากนี้ FED ยังจับตาดูปัจจัยอื่น ๆ เช่น อัตราการว่างงานระยะยาว ราคาน้ำมัน ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ซึ่ง FED ต้องจับตาดูตัวเลขต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจ รวมถึง FED ยังมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) 8 ครั้งต่อปี
โดยหลังการประชุม จะมีแถลงการณ์ และตอบข้อซักถามจากสื่อมวลชน เกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจ และการปรับนโยบายการเงิน โดยเฉพาะทิศทางการปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED
แล้วปรับดอกเบี้ยให้เหมาะสม ทั้งเร่งหรือชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ และควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ต้องการ..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman