
เบื้องหลัง April's Bakery เพราะคนทำธุรกิจ มันหยุดคิดไม่ได้
April's Bakery X ลงทุนแมน
“เมื่อก่อน ถ้าใครอยากทานพายหมูแดงสไตล์ฮ่องกง ก็ต้องไปทานในภัตตาคาร หรือบินไปฮ่องกง
เราเลยใช้เวลากว่า 3 เดือน ในการพัฒนาสูตรคนไทย รสชาติดี ไม่ใส่สารกันบูด
เราเลยใช้เวลากว่า 3 เดือน ในการพัฒนาสูตรคนไทย รสชาติดี ไม่ใส่สารกันบูด
แม้หน้าตาอาจจะยังไม่สวยสักเท่าไร แต่ก็มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เขากินแล้วบอกว่า ทำต่อไปนะ อย่าทิ้งนะ อันนี้ขายดีแน่นอน
แล้วพายหมูแดงสไตล์ฮ่องกงสูตรคนไทยก็กลายเป็นภาพจำของ April's Bakery มาจนถึงทุกวันนี้”
แล้วพายหมูแดงสไตล์ฮ่องกงสูตรคนไทยก็กลายเป็นภาพจำของ April's Bakery มาจนถึงทุกวันนี้”
ความหลงใหลในการทำขนม เมื่อบวกกับความต้องการที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ
จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ คุณกนกกัญจน์ มธุรพร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงหา ฟู้ด อินดัสทรีส์(ประเทศไทย) จำกัด ที่วันนี้กำลังผลักดันธุรกิจ April's Bakery ไปสู่รายได้หลักพันล้านบาทต่อปี
จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ คุณกนกกัญจน์ มธุรพร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงหา ฟู้ด อินดัสทรีส์(ประเทศไทย) จำกัด ที่วันนี้กำลังผลักดันธุรกิจ April's Bakery ไปสู่รายได้หลักพันล้านบาทต่อปี
April's Bakery ทำอย่างไรกว่าจะมาถึงจุดนี้ และวางแผนอนาคตต่อไปอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
คุณกนกกัญจน์ เริ่มต้นเล่าว่า April's Bakery สาขาแรกตั้งอยู่ที่ Crystal Design Center โดยขายเค้กต่าง ๆ ที่ทำเองกับมือด้วย Passion ล้วน ๆ

แต่ด้วยความที่ไม่ได้เรียนด้านเบเกอรี่โดยตรงและยังขาดประสบการณ์ ทำให้ยอดขายไม่ดี
ยิ่งเวลาฝนตกแดดออก คนไม่ค่อยไปเดิน Community Mall ด้วย
พอทำไปถึงจุดหนึ่งเลยเริ่มมองหาช่องทางการขายใหม่ ๆ อยากจะลองไปขายในศูนย์การค้าดูบ้าง
ยิ่งเวลาฝนตกแดดออก คนไม่ค่อยไปเดิน Community Mall ด้วย
พอทำไปถึงจุดหนึ่งเลยเริ่มมองหาช่องทางการขายใหม่ ๆ อยากจะลองไปขายในศูนย์การค้าดูบ้าง
เซ็นทรัลพระราม 3 เลยเป็นศูนย์การค้าแรกที่ตัดสินใจเข้าไปเปิดร้าน
เพื่อขาย Pizza Rolls, Quiche และเบเกอรี่ต่าง ๆ ช่วงแรกก็ขายดี แต่ต่อมายอดขายก็เริ่มตกลงหนักจนถึงจุดที่ศูนย์การค้าแจ้งมาว่า ถ้าไม่หาสินค้าอื่นมาเพิ่มยอดขาย อาจต้องยึดพื้นที่คืน
เพื่อขาย Pizza Rolls, Quiche และเบเกอรี่ต่าง ๆ ช่วงแรกก็ขายดี แต่ต่อมายอดขายก็เริ่มตกลงหนักจนถึงจุดที่ศูนย์การค้าแจ้งมาว่า ถ้าไม่หาสินค้าอื่นมาเพิ่มยอดขาย อาจต้องยึดพื้นที่คืน
แม้จะพยายามหาสินค้าใหม่ ๆ มาเป็น “ดาวเด่น” แต่ก็ยังไม่เจอสักที
จนมีโอกาสได้บินไปฮ่องกง และได้ชิมพายหมูแดงก็ติดใจ อยากลองทำเพื่อขายในไทยบ้าง
จนมีโอกาสได้บินไปฮ่องกง และได้ชิมพายหมูแดงก็ติดใจ อยากลองทำเพื่อขายในไทยบ้าง
ตอนนั้นใช้เวลากว่า 3 เดือนกว่าจะกลายเป็นพายหมูแดงสไตล์ฮ่องกงสูตรคนไทยที่ใช้หมูสันในไร้มัน
ส่วนตัวแป้งไม่ใส่ทั้งนมและเนย ทำให้คนแพ้นมแพ้เนยสามารถทานได้
จากนั้นก็พัฒนาไส้ต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ ที่สำคัญคือ แป้งบาง ไส้เยอะ นั่นคือซิกเนเชอร์ของ April's Bakery
ส่วนตัวแป้งไม่ใส่ทั้งนมและเนย ทำให้คนแพ้นมแพ้เนยสามารถทานได้
จากนั้นก็พัฒนาไส้ต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ ที่สำคัญคือ แป้งบาง ไส้เยอะ นั่นคือซิกเนเชอร์ของ April's Bakery
ทีนี้ “Word of Mouth” ก็เริ่มทำหน้าที่สร้างแบรนด์ และกลายเป็นกลยุทธ์ธุรกิจสำคัญที่ทำให้คนไทยจำแบรนด์ April's Bakery ได้มาจนถึงทุกวันนี้
โดย Top 3 สินค้าโดดเด่นที่สุดคือ ไส้หมูแดง, ไส้ไก่อบน้ำผึ้ง และไส้เผือก
โดย Top 3 สินค้าโดดเด่นที่สุดคือ ไส้หมูแดง, ไส้ไก่อบน้ำผึ้ง และไส้เผือก

ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ “ฝั่งผู้บริโภค” ที่ชื่นชอบสินค้าของเรา
แต่ “ฝั่งนักลงทุน” ก็เริ่มติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน..
แต่ “ฝั่งนักลงทุน” ก็เริ่มติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน..
ตอนนั้นเราขายแฟรนไชส์ 300,000 บาทต่อสาขา ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังขาดเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจพอดี เพราะธุรกิจก้าวกระโดดจากการขยายหน้าร้าน
โดยช่วงที่พีคที่สุด เราเคยมีแฟรนไชส์มากถึง 50 สาขา เลยมองว่าถึงจุดที่ต้องลดช่องทางนี้
เพราะถ้าขยายต่อไป ลูกค้าจะแข่งกันเอง
โดยปัจจุบันนี้ April's Bakery มีหน้าร้านของตนเองและแฟรนไชส์ทั้งหมด 40 สาขา ซึ่งกำลังพอดี
เพราะถ้าขยายต่อไป ลูกค้าจะแข่งกันเอง
โดยปัจจุบันนี้ April's Bakery มีหน้าร้านของตนเองและแฟรนไชส์ทั้งหมด 40 สาขา ซึ่งกำลังพอดี
แล้ว April's Bakery สร้างการเติบโตต่อไปอย่างไร ?
คุณกนกกัญจน์ เล่าว่าตอนนั้นสมมติว่ามีคนไทย 60 ล้านคน อาจจะรู้จัก April's Bakery ไม่ถึง 1% เลยมองหาว่าช่องทางไหนบ้าง ที่จะทำให้คนไทยรู้จักเราเยอะกว่านี้
คำตอบก็คือ 7-Eleven เพราะมีสาขามากกว่าหมื่นแห่งทั่วไทย โดยที่เราไม่ต้องเปิดร้านเอง
แต่ก็ต้องยอมรับว่า กระบวนการกว่าจะนำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven ไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ก็ต้องยอมรับว่า กระบวนการกว่าจะนำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven ไม่ใช่เรื่องง่าย
การนำเสนอครั้งแรกโดนตีกลับด้วยความไม่พร้อมของธุรกิจ ทั้งเรื่องสินค้า, โรงงานผลิต ฯลฯ
จากนั้นเราหายไปถึง 2 ปี ก่อนจะกลับมาใหม่ ด้วยความพร้อมที่มากกว่าเดิม
จากนั้นเราหายไปถึง 2 ปี ก่อนจะกลับมาใหม่ ด้วยความพร้อมที่มากกว่าเดิม
รู้หรือไหมว่า เราเคยนำเสนอพายที่มีกว่า 40 ไส้ แต่ทางทีม Merchandise ของ 7-Eleven มองออกเลยว่ามีโอกาสที่จะขายไม่ได้ ตอนนั้นก็รู้สึกค้านในใจมาก เพราะสินค้าเราขายดีที่หน้าร้านตลอด
แต่สุดท้ายผลตอบรับก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ เราเคยนำพายหมูแดงเข้า 7-Eleven มาแล้ว 2 รอบ แต่ก็ยังสร้างยอดขายไม่ได้จริง ๆ สินค้าที่ไปได้กลับเป็นเปี๊ยะไส้ถั่วไข่เค็ม โดยทางทีม Merchandise ของ 7-Eleven แนะนำเรามา
ด้วยความที่ทางทีมเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่าเรา เลยกลายมาเป็น Research สำคัญในการตั้งต้นพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ
โดยทางทีม 7-Eleven ให้โจทย์ในการพัฒนาสินค้า ที่จะต้องมีความแตกต่างและราคาจับต้องได้ตามกลุ่มลูกค้าของ 7-Eleven ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น เปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็ม
โดยทางทีม 7-Eleven ให้โจทย์ในการพัฒนาสินค้า ที่จะต้องมีความแตกต่างและราคาจับต้องได้ตามกลุ่มลูกค้าของ 7-Eleven ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น เปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็ม
ก่อนหน้านั้น April's Bakery มียอดขายเฉลี่ยใน 7-Eleven ราว 7,000 ชิ้นต่อวัน
แต่เมื่อเปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็มติดตลาด ยอดขายเฉลี่ยพุ่งไปแตะ 70,000 ชิ้นต่อวัน หรือโตกว่า 10 เท่าตัว
แต่เมื่อเปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็มติดตลาด ยอดขายเฉลี่ยพุ่งไปแตะ 70,000 ชิ้นต่อวัน หรือโตกว่า 10 เท่าตัว
สิ่งที่ตามมาคือ การบริหารกระบวนการผลิตหลังบ้าน
จากเดิมที่เราทำพายแบบปั้นมือมาตลอด พอพัฒนาสินค้าเปี๊ยะวางขายใน 7-Eleven เริ่มมีกระบวนการเครื่องจักรเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตเชิงพาณิชย์
จากเดิมที่เราทำพายแบบปั้นมือมาตลอด พอพัฒนาสินค้าเปี๊ยะวางขายใน 7-Eleven เริ่มมีกระบวนการเครื่องจักรเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตเชิงพาณิชย์
ด้วยนโยบายของ CPALL ที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันคู่ค้า SME ของ 7-Eleven
ประกอบกับทางทีมบริหารผลิตภัณฑ์ หรือ Merchandiser ของ 7-Eleven ที่ทำงานกับ April's Bakery อย่างใกล้ชิด พร้อมให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา
อาทิ กระบวนการผลิตที่รวดเร็วแต่มีคุณภาพ หรือแม้กระทั่งด้าน Packaging และ Supplier ในองค์ประกอบต่าง ๆ ของธุรกิจ
ประกอบกับทางทีมบริหารผลิตภัณฑ์ หรือ Merchandiser ของ 7-Eleven ที่ทำงานกับ April's Bakery อย่างใกล้ชิด พร้อมให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา
อาทิ กระบวนการผลิตที่รวดเร็วแต่มีคุณภาพ หรือแม้กระทั่งด้าน Packaging และ Supplier ในองค์ประกอบต่าง ๆ ของธุรกิจ
ถึงตรงนี้รู้สึกไหมว่า.. ความสัมพันธ์ระหว่าง April's Bakery และ 7-Eleven ดูคล้ายกับ “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า”
เพราะในโลกธุรกิจ April's Bakery เองก็ต้องการองค์ความรู้ในการบริหารกระบวนการผลิต, การบริหารคลังสินค้า, การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ, ข้อมูล Research ด้านผู้บริโภค รวมทั้ง Connection ด้าน Supply Chain ต่าง ๆ จากความเชี่ยวชาญของทีม Merchandise จาก 7-Eleven
ขณะเดียวกัน 7-Eleven เองก็ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และมีความแตกต่างอย่าง April's Bakery มาวางขายในร้าน เพื่อดึงดูดกำลังซื้อของผู้บริโภค

เมื่อทุกอย่างลงตัว April's Bakery เดินหน้าพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ตามเทรนด์ตลาดอย่างต่อเนื่อง
โดย Top 3 สินค้าที่มียอดขายดีสุด คือ ช็อกโกแลตดูไบพิสตาชิโอ 70,000 ชิ้น, เปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็ม 30,000 ชิ้น และ เค้กทุบช็อกโกแลต 30,000 ชิ้นต่อวัน
โดย Top 3 สินค้าที่มียอดขายดีสุด คือ ช็อกโกแลตดูไบพิสตาชิโอ 70,000 ชิ้น, เปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็ม 30,000 ชิ้น และ เค้กทุบช็อกโกแลต 30,000 ชิ้นต่อวัน
ทีนี้ลองมาดูผลประกอบการย้อนหลังของ April's Bakery คุณกนกกัญจน์เปิดเผยว่า
ปี 2564 ยอดขาย 122 ล้านบาท
ปี 2565 ยอดขาย 438 ล้านบาท
ปี 2566 ยอดขาย 526 ล้านบาท
ปี 2567 ยอดขาย 630 ล้านบาท
ปี 2565 ยอดขาย 438 ล้านบาท
ปี 2566 ยอดขาย 526 ล้านบาท
ปี 2567 ยอดขาย 630 ล้านบาท
จะเห็นว่า April's Bakery เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่เติบโตแบบก้าวกระโดดมาจากสินค้าฮิตอย่างเปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็มและช็อกโกแลตดูไบพิสตาชิโอเป็นหลัก
ขณะเดียวกัน สินค้าตัวอื่น ๆ ของ April's Bakery ก็ขายดีตามไปด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกัน สินค้าตัวอื่น ๆ ของ April's Bakery ก็ขายดีตามไปด้วยเช่นกัน
แล้วอนาคต April's Bakery วาดภาพต่อไปอย่างไร ?
คุณกนกกัญจน์ มองว่า 7-Eleven จะเป็นช่องทางขายหลักที่สร้างรายได้ 70-80% ของทั้งหมด
โดยมีกลยุทธ์ 3 ส่วนคือ
โดยมีกลยุทธ์ 3 ส่วนคือ

1. April's Bakery ต้องรักษายอดขายเดิมอย่างสินค้ากลุ่มเปี๊ยะ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ April's Bakery ให้เติบโตต่อเนื่อง
เพราะกว่าจะพัฒนาสินค้าใหม่ออกมาสักตัว ต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ
แต่พอ April's Bakery ได้รับการ Support ที่ดีจาก 7-Eleven ก็ช่วยให้พัฒนาสินค้ากว่าสิบตัวได้ในเวลาเดียวกัน
แต่พอ April's Bakery ได้รับการ Support ที่ดีจาก 7-Eleven ก็ช่วยให้พัฒนาสินค้ากว่าสิบตัวได้ในเวลาเดียวกัน
เท่ากับว่า ถ้าสินค้าตัวไหนเริ่มขายไม่ดี เราพร้อมปรับสูตรตามเสียงจากลูกค้า ยกระดับความน่าสนใจด้วยการ Collab กับ Brand ดังต่าง ๆ
รวมถึงการออกสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ให้ทันเทรนด์ตลาดและมีความแตกต่าง ทันกระแสอยู่ตลอดเวลา
รวมถึงการออกสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ให้ทันเทรนด์ตลาดและมีความแตกต่าง ทันกระแสอยู่ตลอดเวลา
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ช็อกโกแลตดูไบพิสตาชิโอ ที่ทำให้เราเชี่ยวชาญด้านช็อกโกแลตมากขึ้น ซึ่งในอนาคตสามารถแตกไลน์ธุรกิจไปได้อีกเยอะ เช่น ไร่โกโก้, คาเฟ่ช็อกโกแลต ฯลฯ
2. ยอดขายจากหน้าร้านและแฟรนไชส์
April's Bakery จะพัฒนาวางแผนและขยายเป็นร้านคาเฟ่ที่มองเห็น Movement การปั้นพาย ได้กลิ่นหอม ๆจากการอบพายในร้าน เพื่อสร้างยอดขายจากตลาดกลุ่มนี้
3. การส่งออก
ทาง April's Bakery มีการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ อย่างเวียดนามและกัมพูชา
และยังออกงาน Exhibition ในประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานลูกค้าในต่างประเทศมากขึ้น
และยังออกงาน Exhibition ในประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานลูกค้าในต่างประเทศมากขึ้น

ท้ายนี้ คุณกนกกัญจน์ ยังกล่าวทิ้งท้ายก่อนจากกันว่า..
“15 ปีที่แล้ว ฝันแค่เปิดร้านเบเกอรี่ที่ขายได้ 40,000 บาทต่อเดือน เท่ากับเงินเดือนตอนเราเป็นแอร์โฮสเตส
ถึงตอนนี้ มันมาไกลเกินกว่าคำว่า “ภูมิใจ” แต่กลายเป็น Passion ที่ต้องก้าวต่อไปข้างหน้า
เพราะคนทำธุรกิจ มันหยุดคิดไม่ได้จริง ๆ ..”
ถึงตอนนี้ มันมาไกลเกินกว่าคำว่า “ภูมิใจ” แต่กลายเป็น Passion ที่ต้องก้าวต่อไปข้างหน้า
เพราะคนทำธุรกิจ มันหยุดคิดไม่ได้จริง ๆ ..”
Reference
- บทสัมภาษณ์โดยตรง April's Bakery โดยลงทุนแมน
- บทสัมภาษณ์โดยตรง April's Bakery โดยลงทุนแมน
Tag: April's Bakery