
สรุปวิกฤติ ภาษีทรัมป์ โลกกำลังเข้าสู่ GREAT DEPRESSION /โดย ลงทุนแมน
- ครั้งสุดท้ายที่โลกเจอ Great Depression คือปี ค.ศ.1930 หรือเมื่อ 95 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกกินเวลา 10 ปี
ในระหว่างปี 1929 - 1933 อะไรเกิดขึ้นบ้าง ?
- GDP ทั่วโลกหดตัวลง 15%-20%
- GDP สหรัฐอเมริกาลดลง 46% (เทียบกับ วิกฤติซับไพรม์ GDP สหรัฐอเมริกาลดลงแค่ 1%)
- การค้าโลกลดลง 50% ทั่วโลก
- และสิ่งที่ทำให้การค้าโลกลดลงในตอนนั้น ก็เพราะ การตั้งกำแพงภาษี Smoot-Hawley ของสหรัฐอเมริกาที่เหมือนกับกำแพงภาษีของทรัมป์ในตอนนี้..
- GDP ทั่วโลกหดตัวลง 15%-20%
- GDP สหรัฐอเมริกาลดลง 46% (เทียบกับ วิกฤติซับไพรม์ GDP สหรัฐอเมริกาลดลงแค่ 1%)
- การค้าโลกลดลง 50% ทั่วโลก
- และสิ่งที่ทำให้การค้าโลกลดลงในตอนนั้น ก็เพราะ การตั้งกำแพงภาษี Smoot-Hawley ของสหรัฐอเมริกาที่เหมือนกับกำแพงภาษีของทรัมป์ในตอนนี้..
และแรงกดดันที่เศรษฐกิจตกต่ำในตอนนั้น ก็นำไปสู่เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเรื่อง เช่น
- ปี 1932 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
- ปี 1932 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
ในตอนนั้นนอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว เยอรมนี เป็นหนึ่งในประเทศที่มีแรงกดดันทางเศรษฐกิจสูงที่สุด และเป็นผลทำให้
- ปี 1939 โลกเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ..
- ปี 1939 โลกเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ..
จนถึงตอนนี้เราคนไทย ต้องรู้อะไรบ้าง ?
โลกกำลังเข้าสู่เหตุการณ์ Black Swan ครั้งใหม่ ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในรอบ 95 ปี หรือไม่
ระเบียบการค้าเสรีของโลกที่เป็นมาเกือบร้อยปี จะเปลี่ยนไปอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
โลกกำลังเข้าสู่เหตุการณ์ Black Swan ครั้งใหม่ ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในรอบ 95 ปี หรือไม่
ระเบียบการค้าเสรีของโลกที่เป็นมาเกือบร้อยปี จะเปลี่ยนไปอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
ดอนัลด์ ทรัมป์ ไม่ใช่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรก ที่ประกาศทำสงครามการค้ากับประเทศต่าง ๆ แต่เป็นชายที่ชื่อว่า เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ที่ประกาศสงครามการค้าในปี 1930
ในตอนนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ยุโรปที่เคยเจ็บหนักเริ่มฟื้นตัว ทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและไร่นา กลับมาผลิตสินค้าได้ตามปกติ สินค้าอเมริกันเริ่มส่งออกสินค้าไปยุโรปได้น้อยลงต่อเนื่อง
นอกจากนั้นก็มีการร่วงลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 1929 ที่ซ้ำเติมเศรษฐกิจ
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ แก้ปัญหา ด้วยการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมจากยุโรป สูงสุดถึง 60% ในปี 1930 โดยกฎหมายนั้นถูกเรียกว่า Smoot-Hawley Act คล้ายกับ Reciprocal Tariff Act ของทรัมป์ในตอนนี้
แต่แทนที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ กลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง..
เพราะฝั่งยุโรปเองก็ตอบโต้ทันที ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน สุดท้าย เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็เจ็บหนักมากกว่าเดิม เนื่องจากส่งออกได้น้อยลง แถมยังทำให้การค้าระหว่างประเทศลดน้อยลง จนส่งผลร้ายต่อทุกประเทศไปทั่วโลก
ในช่วงนั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลงมากถึง 89% ภายใน 3 ปี พูดง่าย ๆ ให้เห็นภาพ ถ้าเราซื้อกองทุนดัชนีสหรัฐฯ ไป 100 บาท เวลาผ่านไป 3 ปี เงินของเราจะเหลือ 11 บาท..
และกว่าที่ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะกลับมาระดับเดิมได้ ก็ต้องใช้เวลานานถึง 25 ปี..
มาถึงตอนนี้ ทุกคนคงมีคำถามสำคัญว่า
แล้ว GREAT DEPRESSION นี้มันจะเกิดขึ้นกับโลกเราอีกครั้งหรือไม่ ?
แล้ว GREAT DEPRESSION นี้มันจะเกิดขึ้นกับโลกเราอีกครั้งหรือไม่ ?
ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น สหรัฐฯเจ็บหนักมาก่อน
แล้วทำไมทรัมป์ ยังเลือกทำ ?
แล้วทำไมทรัมป์ ยังเลือกทำ ?
ทรัมป์เป็นบุคคลที่เชื่อในเรื่องการดีล การเจรจา การใช้อำนาจที่มีอยู่ในการขู่เพื่อให้ข้อตกลงที่เป็นประโยชน์กับประเทศ ทุกคนในตอนแรกก็เชื่อกันว่า ทรัมป์ ทำเพื่อเจรจา ไม่ได้คิดจะทำจริง
แต่แล้ว วันที่ 2 เมษายน 2025
ทรัมป์ได้ประกาศ Reciprocal Tariff Act เพื่อกำหนดภาษีนำเข้า โดยแบ่งเป็น
ทรัมป์ได้ประกาศ Reciprocal Tariff Act เพื่อกำหนดภาษีนำเข้า โดยแบ่งเป็น
1. ภาษีพื้นฐาน 10% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2025 แปลว่าต่อไปนี้ทุกประเทศที่ส่งออกสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกา โดนภาษีนำเข้า 10% ทั้งหมด..
2. ภาษีเพิ่มเติมตามประเทศ โดยยึดจากการขาดดุลของสหรัฐอเมริกาต่อประเทศนั้นเป็นหลัก ประเทศไหนที่ส่งสินค้าออกมาหาสหรัฐอเมริกา มากกว่านำเข้าสินค้าอเมริกันเข้าประเทศ ก็จะเก็บภาษีประเทศนั้นมาก
ดังนั้น ประเทศที่มีฐานการผลิตทั้งหลาย ก็จะโดนทั่วหน้า เช่น จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย..
สรุปตัวอย่างภาษีนำเข้ารายประเทศก็คือ
จีน 34% (เมื่อรวมกับของเก่าจะเป็น 54%)
เวียดนาม 46%
ไทย 36%
ญี่ปุ่น 24%
เกาหลีใต้ 25%
สหภาพยุโรป 20%
จีน 34% (เมื่อรวมกับของเก่าจะเป็น 54%)
เวียดนาม 46%
ไทย 36%
ญี่ปุ่น 24%
เกาหลีใต้ 25%
สหภาพยุโรป 20%
ทีนี้ก็ต้องรอดูว่าแต่ละประเทศจะตอบสนองต่อเรื่องนี้อย่างไร ?
ถ้าเลือกที่จะสู้กลับ ก็จะเป็นแบบประเทศจีนที่ประกาศภาษีนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา 34% เช่นกัน
หรือประเทศที่เลือกจะเจรจา ซึ่งตอนนี้ที่เห็นก็จะเป็น เวียดนาม และไทย
ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร ?
ข้อแรกประเทศที่เลือกสู้กลับ
แน่นอนว่าการค้าระหว่างประเทศของ 2 ประเทศที่สู้กัน จะลดลงมหาศาล
จีนจะส่งออกไปสหรัฐอเมริกาน้อยลงมาก
สหรัฐอเมริกาจะส่งออกไปจีนน้อยลงมาก
แน่นอนว่าการค้าระหว่างประเทศของ 2 ประเทศที่สู้กัน จะลดลงมหาศาล
จีนจะส่งออกไปสหรัฐอเมริกาน้อยลงมาก
สหรัฐอเมริกาจะส่งออกไปจีนน้อยลงมาก
ต่อมาประเทศที่เลือกหมอบและเจรจา
ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้ก็ต้องยอมลดภาษีนำเข้าที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ที่เดิมมีเพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตในประเทศ
อย่างประเทศไทย ก็คงต้องยอมลดภาษีนำเข้าด้านการเกษตร และยอมให้ธุรกิจภายในได้รับผลกระทบ
ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้ก็ต้องยอมลดภาษีนำเข้าที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ที่เดิมมีเพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตในประเทศ
อย่างประเทศไทย ก็คงต้องยอมลดภาษีนำเข้าด้านการเกษตร และยอมให้ธุรกิจภายในได้รับผลกระทบ
ประเทศไทย หรือประเทศอื่น ๆ อาจต้องยอมซื้อของชิ้นใหญ่จากสหรัฐอเมริกา แบบรัฐต่อรัฐมากขึ้นเพื่อเพิ่มอัตราการนำเข้าให้มาสมดุลกับการส่งออก เช่น เครื่องบิน อาวุธยุทโธปกรณ์
ประเทศไทย หรือประเทศอื่น ๆ อาจต้องยอมทำตามเรื่องภูมิรัฐศาสตร์บางประการที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐอเมริกา
แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก ?
ลองนึกภาพว่าถ้าเราเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีการผลิตส่งออกไปทั่วโลก เราจะทำอย่างไร ?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเลยคือ ผู้ค้าระหว่างประเทศจะลดกำลังการผลิตไปก่อน เพื่อดูสถานการณ์ เช่นล่าสุด มีข่าวว่านินเทนโดผู้ผลิตเกม เลื่อนการเปิดตัว Switch 2 ออกไปเพราะเหตุการณ์นี้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเลยคือ ผู้ค้าระหว่างประเทศจะลดกำลังการผลิตไปก่อน เพื่อดูสถานการณ์ เช่นล่าสุด มีข่าวว่านินเทนโดผู้ผลิตเกม เลื่อนการเปิดตัว Switch 2 ออกไปเพราะเหตุการณ์นี้
ดังนั้นเมื่อผลิตน้อย ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานที่น้อยลงทั่วโลก เศรษฐกิจก็มีความเสี่ยงที่ชะลอตัว หรือถ้าลากยาวก็จะถดถอยหรือเกิด Recession
คำว่า Recession หรือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คือการที่ GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส
และสำหรับคำต่อไปจาก Recession ก็คือ Stagflation ที่น่าจะเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา
Stagflation เกิดจากการรวมคำกัน ระหว่าง
- Stagnation ที่หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือเติบโตน้อย (ซึ่งโดยทั่วไปจะน้อยกว่า 2% ต่อปี)
- Inflation ที่หมายถึง ภาวะเงินเฟ้อ
- Stagnation ที่หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือเติบโตน้อย (ซึ่งโดยทั่วไปจะน้อยกว่า 2% ต่อปี)
- Inflation ที่หมายถึง ภาวะเงินเฟ้อ
ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อต้องนำเข้าสินค้าในอัตราภาษีที่สูง ก็จะทำให้มีราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และก่อให้เกิดเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก็มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวเพราะ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคลดลง และการส่งออกสินค้าอเมริกันไปหาประเทศที่ตั้งกำแพงภาษีกลับเช่น จีน ได้น้อยลง
Stagflation เป็นภาวะเศรษฐกิจที่น่ากังวลอย่างมาก เพราะความยากในการแก้ปัญหาและใช้เวลาในการฟื้นตัว เปรียบเสมือนรถยนต์ที่กำลังถูกเบรก กว่าจะกลับมาเร่งใหม่ก็ต้องใช้เวลา
และในกรณีที่เลวร้ายสุด คำต่อไปจาก Stagflation ก็คือ Great Depression
Great Depression คือคำที่ใช้เรียกช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำเป็นเวลานาน
- GDP ทั่วโลกลดลงในระดับ 10% ขึ้นไป
- การที่มีความยากจนกระจายไปทั่ว ผู้คนไม่สามารถซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตได้
- มีคนว่างงานเกิดขึ้นจำนวนมากทั่วโลก
- มีธนาคารล้มละลายเป็นจำนวนมาก เพราะผู้คนต่างถอนเงิน ไม่มีใครฝากเงิน
ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาเกือบร้อยปีแล้วนับตั้งแต่ปี 1930
- GDP ทั่วโลกลดลงในระดับ 10% ขึ้นไป
- การที่มีความยากจนกระจายไปทั่ว ผู้คนไม่สามารถซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตได้
- มีคนว่างงานเกิดขึ้นจำนวนมากทั่วโลก
- มีธนาคารล้มละลายเป็นจำนวนมาก เพราะผู้คนต่างถอนเงิน ไม่มีใครฝากเงิน
ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาเกือบร้อยปีแล้วนับตั้งแต่ปี 1930
เหตุการณ์เลวร้ายสุดที่จะทำให้เกิด Great Depression
คือในกรณีที่ทุกประเทศเลือกที่จะตั้งกำแพงภาษีใส่สหรัฐอเมริกากลับ
- การค้าโลกจะลดลงอย่างมาก
- GDP ทั่วโลกจะหดตัวลงอย่างหนัก
- GDP สหรัฐอเมริกาจะลดลงมากที่สุด เพราะเป็นประเทศเดียวที่ทำสงครามกับทุกประเทศ
คือในกรณีที่ทุกประเทศเลือกที่จะตั้งกำแพงภาษีใส่สหรัฐอเมริกากลับ
- การค้าโลกจะลดลงอย่างมาก
- GDP ทั่วโลกจะหดตัวลงอย่างหนัก
- GDP สหรัฐอเมริกาจะลดลงมากที่สุด เพราะเป็นประเทศเดียวที่ทำสงครามกับทุกประเทศ
ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องและยาวนาน จะเริ่มส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทั่วโลก
- เศรษฐกิจหดตัว
- ผู้ผลิตสินค้าจะเริ่มผลิตน้อยลง
- คนมีกำลังซื้อน้อยลง
- มีคนว่างงานเกิดขึ้นในระบบ มีคนยากจนเพิ่มขึ้น ภาครัฐต้องคอยหาเงินมาช่วยเหลือ
- รัฐบาลจะมีภาระด้านงบประมาณเพิ่มขึ้น
- เศรษฐกิจหดตัว
- ผู้ผลิตสินค้าจะเริ่มผลิตน้อยลง
- คนมีกำลังซื้อน้อยลง
- มีคนว่างงานเกิดขึ้นในระบบ มีคนยากจนเพิ่มขึ้น ภาครัฐต้องคอยหาเงินมาช่วยเหลือ
- รัฐบาลจะมีภาระด้านงบประมาณเพิ่มขึ้น
ถ้าเป็นแบบนั้นจริงโลกจะเข้าสู่ระเบียบใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิมอย่างที่เป็นมาเกือบร้อยปี
“โลกของเราจะไม่ใช่โลกที่มีการค้าเสรีอีกต่อไป”
“โลกของเราจะไม่ใช่โลกที่มีการค้าเสรีอีกต่อไป”
เมื่อก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในโลกการค้าเสรี และคอยเป็นตัวอย่างความสำเร็จให้แก่ประเทศอื่น
ในเวลานี้เรื่องราวกลับตรงกันข้าม
ประเทศที่เป็นผู้นำ กลับเป็นตัวอย่างในการทำลายการค้าเสรี
ประเทศที่เป็นผู้นำ กลับเป็นตัวอย่างในการทำลายการค้าเสรี
ดังนั้นต่อไป โลกของเราอาจแบ่งเป็น 2 ขั้ว
1. โลกที่ค้าขายกันเอง
2. โลกที่ค้าขายกับสหรัฐอเมริกา
1. โลกที่ค้าขายกันเอง
2. โลกที่ค้าขายกับสหรัฐอเมริกา
สินค้าเดียวกัน
โลกที่ค้าขายกันเองอาจมีราคา 100 บาท
แต่ที่สหรัฐอเมริกากลับมีราคา 120 บาท เพราะมีกำแพงภาษี
โลกที่ค้าขายกันเองอาจมีราคา 100 บาท
แต่ที่สหรัฐอเมริกากลับมีราคา 120 บาท เพราะมีกำแพงภาษี
คนอเมริกันต้องจ่ายสินค้าแพงขึ้น
และคนทั้งโลกก็ต้องได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามกันไป
และคนทั้งโลกก็ต้องได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามกันไป
สำหรับลงทุนแมน
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของเรื่องราวทั้งหมดก็คือ
ตอนนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาสูญเสียความเป็นผู้นำในเรื่องการผลิตให้กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศจีน
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของเรื่องราวทั้งหมดก็คือ
ตอนนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาสูญเสียความเป็นผู้นำในเรื่องการผลิตให้กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศจีน
ทรัมป์อาจรู้ดีว่าถ้าปล่อยไป สหรัฐอเมริกาจะต้องเจอความท้าทายยิ่งกว่านี้ในอนาคต
การเลือกที่จะเล่นใหญ่ตอนนี้ ก็เหมือนกับการเล่นเกมไปแล้วรู้สึกว่าน่าจะแพ้ เลยอยากเปลี่ยนกติกาใหม่ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป แล้วเปลี่ยนอะไรไม่ได้
การเลือกที่จะเล่นใหญ่ตอนนี้ ก็เหมือนกับการเล่นเกมไปแล้วรู้สึกว่าน่าจะแพ้ เลยอยากเปลี่ยนกติกาใหม่ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป แล้วเปลี่ยนอะไรไม่ได้
ในใจลึก ๆ สหรัฐอเมริการู้ประวัติศาสตร์ดี ว่า Great Depression มันน่ากลัว
การตั้งกำแพงภาษีมีแต่เสียกับเสีย
ดังนั้นสหรัฐอเมริกาคงคิดว่า ในที่สุดพอเจรจาเสร็จ โลกเสรีนี้อาจจะต้องดำเนินต่อไป เพราะถ้าทุกคนแย่กันหมด สหรัฐอเมริกาก็ไปต่อไม่ได้
การตั้งกำแพงภาษีมีแต่เสียกับเสีย
ดังนั้นสหรัฐอเมริกาคงคิดว่า ในที่สุดพอเจรจาเสร็จ โลกเสรีนี้อาจจะต้องดำเนินต่อไป เพราะถ้าทุกคนแย่กันหมด สหรัฐอเมริกาก็ไปต่อไม่ได้
แต่ทรัมป์ก็คือทรัมป์ ทุกอย่างคาดเดายาก
และเรื่องการลงทุนในตอนนี้ที่ดูเหมือนง่าย มันก็คาดเดายากเช่นกัน
และเรื่องการลงทุนในตอนนี้ที่ดูเหมือนง่าย มันก็คาดเดายากเช่นกัน
ถ้าออกหัว ราคาในตลาดหุ้นที่เป็นอยู่ตอนนี้อาจเป็น “โอกาสทอง” และน่าจะทำกำไรให้มหาศาลให้กับผู้ลงทุน
แต่ถ้าออกก้อย ทุกอย่างจะพังทลายอย่างรวดเร็ว
และ กว่าจะรู้ตัวอีกที
เราก็อาจอยู่ใน Great Depression แล้ว..
และ กว่าจะรู้ตัวอีกที
เราก็อาจอยู่ใน Great Depression แล้ว..