
Haier จากบริษัทจีน ที่เกือบเจ๊ง สู่ยักษ์ใหญ่เครื่องใช้ไฟฟ้า ของโลก
Haier จากบริษัทจีน ที่เกือบเจ๊ง สู่ยักษ์ใหญ่เครื่องใช้ไฟฟ้า ของโลก /โดย ลงทุนแมน
ถ้า 40 ปีที่แล้ว Haier ไม่มีเงินจ่ายหนี้ 6 ล้านบาท และยังขายแค่ตู้เย็นคุณภาพต่ำ ตอนนี้เราคงไม่เห็นชื่อแบรนด์นี้ เพราะบริษัทน่าจะเจ๊งไปนานแล้ว
ถ้า 40 ปีที่แล้ว Haier ไม่มีเงินจ่ายหนี้ 6 ล้านบาท และยังขายแค่ตู้เย็นคุณภาพต่ำ ตอนนี้เราคงไม่เห็นชื่อแบรนด์นี้ เพราะบริษัทน่าจะเจ๊งไปนานแล้ว
แต่บริษัทจีนที่เกือบไปไม่รอดในวันนั้น ในวันนี้กลับกลายเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่ากว่า 1,100,000 ล้านบาท
และ Haier ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น
เพราะวันนี้ยังก้าวไปอีกขั้น โดยการนำ AI มาใส่ในอุปกรณ์ เพื่อสร้าง Smart Home ที่เหนือกว่าเดิม
เพราะวันนี้ยังก้าวไปอีกขั้น โดยการนำ AI มาใส่ในอุปกรณ์ เพื่อสร้าง Smart Home ที่เหนือกว่าเดิม
Haier พลิกฟื้นจากบริษัทใกล้เจ๊งได้อย่างไร ?
แล้ว AI มาเกี่ยวอะไรกับธุรกิจของ Haier
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้ว AI มาเกี่ยวอะไรกับธุรกิจของ Haier
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของ Haier ต้องย้อนกลับไปในปี 1920 ที่เมืองชิงเต่า ประเทศจีน โดยเริ่มจากการผลิตตู้เย็นในประเทศ
ต่อมาปี 1949 หลังจากเหมา เจ๋อตง ขึ้นมามีอำนาจ ก็สั่งให้ Haier เป็นกิจการของรัฐโดยทันที
แต่เมื่ออยู่ในมือของรัฐ Haier กลับค่อย ๆ ทรุดโทรมลง กลายเป็นโรงงานที่ผลิตได้แค่ตู้เย็นคุณภาพต่ำ แถมยังมีหนี้สินกว่า 6 ล้านบาทในปี 1984
ซึ่งเมื่อคิดเป็นเงินปัจจุบันหลังปรับอัตราเงินเฟ้อ หนี้ก้อนนั้นสูงถึง 24 ล้านบาทเลยทีเดียว
ท่ามกลางความมืดมนของโรงงาน แสงสว่างของประตูโรงงานที่โทรม ๆ แห่งนี้ก็ได้เปิดออก
เมื่อได้ชายหนุ่มชื่อว่า คุณจาง รุ่ยหมิน มาเป็นหัวเรือใหญ่ของบริษัท
เมื่อได้ชายหนุ่มชื่อว่า คุณจาง รุ่ยหมิน มาเป็นหัวเรือใหญ่ของบริษัท
เขารู้ดีว่า ปัญหาหลักของ Haier มาจากตู้เย็นที่ไม่มีคุณภาพ แต่โจทย์ใหญ่กว่านั้นคือ จะทำอย่างไรให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหานี้ร่วมกัน
เขาจึงใช้วิธีเรียกคนงานที่ผลิตตู้เย็นไม่มีคุณภาพแต่ละคนมา แล้วให้ทุบมันทิ้ง พร้อมเชิญสื่อมวลชนมาดูการทุบตู้เย็นครั้งใหญ่ของบริษัท
เมื่อทุกคนตระหนักถึงปัญหาแล้ว สิ่งต่อไปที่บริษัทต้องทำ คือการทำให้ตู้เย็นมีคุณภาพสูงกว่านี้
แต่ในเมื่อโรงงานผลิตตู้เย็นแย่ ๆ มาตลอด คนงานจึงไม่รู้ว่าการผลิตตู้เย็นที่ดี เป็นแบบไหน
คุณจางจึงนำบริษัทไปเป็นพันธมิตรกับ Liebherr บริษัทตู้เย็นจากเยอรมนี เพื่อเรียนรู้การผลิตตู้เย็นที่มีคุณภาพสูง
รู้ไหมว่า เดิมบริษัท Haier ชื่อว่า บริษัทตู้เย็นชิงเต่า
ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Haier ที่มาจาก 2 พยางค์สุดท้ายของการทับศัพท์ภาษาจีน Liebherr นั่นเอง
ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Haier ที่มาจาก 2 พยางค์สุดท้ายของการทับศัพท์ภาษาจีน Liebherr นั่นเอง
หลังจากนั้น Haier ก็สามารถผลิตตู้เย็นคุณภาพสูงออกสู่ตลาด จนประสบความสำเร็จ และโดดเด่นกว่าบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในประเทศ ที่ยังไม่มีคุณภาพเทียบเท่า
จนรัฐบาลชิงเต่าก็ขอให้ Haier เข้าซื้อกิจการแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในเมืองที่กำลังจะเจ๊ง และมีปัญหาทางการเงิน
จากจุดนี้เอง Haier ก็เริ่มขยายสินค้าของตัวเอง นอกเหนือจากตู้เย็น ไปสู่สินค้าอื่น ๆ เช่น ไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ ตู้แช่แข็ง และเครื่องซักผ้า
แม้จะมีสินค้าในมือมากขึ้น แต่คุณจางก็ยังยึดมั่นว่าสินค้าต้องมีคุณภาพเหมือนเดิม
พร้อมกับรับฟังเสียงจากลูกค้า เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีที่สุด
พร้อมกับรับฟังเสียงจากลูกค้า เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีที่สุด
ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน ลูกค้าบางคนใช้เครื่องซักผ้าในการล้างผัก แทนที่ Haier จะมองว่าเป็นการใช้งานผิด ๆ แต่คุณจางกลับให้บริษัทออกแบบเครื่องซักผ้าที่ล้างผักได้
จนปัจจุบัน เครื่องซักผ้าของ Haier สามารถทำได้ทั้งซักผ้า
หรือล้างผักได้อีกด้วย
หรือล้างผักได้อีกด้วย
ดูตรงนี้ ก็เหมือนว่า Haier มาไกลมากแล้ว
แต่สำหรับคุณจาง การเติบโตของบริษัทเท่านี้คงไม่พอ
แต่สำหรับคุณจาง การเติบโตของบริษัทเท่านี้คงไม่พอ
เขาตัดสินใจนำ Haier ให้เป็นแบรนด์ระดับโลก
ด้วยการไปรุกตลาดต่างประเทศ เช่น ยุโรปและอเมริกา
โดยปรับสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในประเทศนั้น ๆ
ด้วยการไปรุกตลาดต่างประเทศ เช่น ยุโรปและอเมริกา
โดยปรับสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในประเทศนั้น ๆ
รวมถึงการเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศ เช่น เข้าซื้อกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าของ General Electric ในปี 2016
เพื่อเติมแบรนด์เข้ามาอยู่ในมือของบริษัทมากขึ้นเรื่อย ๆ
เพื่อเติมแบรนด์เข้ามาอยู่ในมือของบริษัทมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนปัจจุบัน รายได้ของ Haier เกือบครึ่งหนึ่งมาจากจีน
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมาจากประเทศอื่น ๆ
สะท้อนจากสัดส่วนรายได้ของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมาจากประเทศอื่น ๆ
สะท้อนจากสัดส่วนรายได้ของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา
- จีน 48%
- อเมริกาเหนือ 31%
- ยุโรป 11%
- อื่น ๆ เช่น เอเชียใต้ อาเซียน ตะวันออกกลาง 10%
- อเมริกาเหนือ 31%
- ยุโรป 11%
- อื่น ๆ เช่น เอเชียใต้ อาเซียน ตะวันออกกลาง 10%
และจากจุดแข็งของ Haier ที่มีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าตั้งแต่
ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสินค้าพวกนี้อยู่ในบ้านแทบทั้งหมด
ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสินค้าพวกนี้อยู่ในบ้านแทบทั้งหมด
นั่นก็แปลว่า ถ้าลูกค้าของ Haier สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้ว การใช้ชีวิตในบ้านก็ยิ่งสะดวกมากขึ้น
ทำให้ปัจจุบัน Haier ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Smart Home Brain ที่เป็นเหมือนระบบสั่งการ ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ของสินค้า Haier ไว้ในโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งาน
นอกจากนี้ Haier ยังมี HomeGPT ที่เป็นโมเดล AI ให้
ผู้ใช้งานโต้ตอบด้วยเสียงสั่งการต่าง ๆ โดยเน้นความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ
ผู้ใช้งานโต้ตอบด้วยเสียงสั่งการต่าง ๆ โดยเน้นความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ
จะเห็นได้ว่า Haier ก็กำลังทำตัวไม่ต่างจาก Apple ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และเชื่อมต่อกันภายในระบบนิเวศของตัวเอง
โดย Haier มีอุปกรณ์ของตัวเองอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่แล้ว บวกกับการนำ AI เข้ามาใช้ จึงช่วยสร้างระบบนิเวศของ Haier เพื่อสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม Haier ก็ไม่ได้เอา AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังเอาไปใช้พัฒนาระบบหลังบ้านของตัวเองอีกด้วย
ตั้งแต่ระบบจัดการสินค้า การสั่งวัตถุดิบการผลิต
ไปจนถึงการทำการตลาดและโฆษณา ก็มีการนำ AI เข้ามาใช้เพื่อควบคุมต้นทุนแทบทั้งหมด
ไปจนถึงการทำการตลาดและโฆษณา ก็มีการนำ AI เข้ามาใช้เพื่อควบคุมต้นทุนแทบทั้งหมด
ผลประกอบการช่วงที่ผ่านมา
ปี 2022
รายได้ 1,136,374 ล้านบาท
กำไร 68,742 ล้านบาท
รายได้ 1,136,374 ล้านบาท
กำไร 68,742 ล้านบาท
ปี 2023
รายได้ 1,219,763 ล้านบาท
กำไร 78,069 ล้านบาท
รายได้ 1,219,763 ล้านบาท
กำไร 78,069 ล้านบาท
9 เดือนแรกของปี 2024
รายได้ 947,038 ล้านบาท
กำไร 70,706 ล้านบาท
รายได้ 947,038 ล้านบาท
กำไร 70,706 ล้านบาท
โดยรายได้จากตรงนี้ มาจาก
- ตู้เย็น 31%
- โซลูชันการจัดการซักผ้า 23%
- โซลูชันความเย็น 18%
- อุปกรณ์ในครัว 16%
- อื่น ๆ 12%
- โซลูชันการจัดการซักผ้า 23%
- โซลูชันความเย็น 18%
- อุปกรณ์ในครัว 16%
- อื่น ๆ 12%
ก็น่าติดตามต่อว่า Haier จะสามารถนำ AI มาช่วยพัฒนาต่อยอดสินค้า และเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน อย่างไรได้อีกในอนาคต
ซึ่งปัจจุบัน การนำ AI เข้ามาใช้ในธุรกิจของตัวเอง
บริษัทก็ยังไม่ได้บอกชัดเจนว่า สามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับ Haier มากแค่ไหน
บริษัทก็ยังไม่ได้บอกชัดเจนว่า สามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับ Haier มากแค่ไหน
แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้ Haier กำลังทำตัวเป็น Apple แห่งวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันภายในระบบนิเวศของตัวเอง
และกำลังยกระดับตัวเอง จากเพียงแค่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า สู่การเป็นผู้นำด้าน Smart Home ที่ใช้ AI ขับเคลื่อนทุกส่วนของธุรกิจ..
—------------------
Haier อยู่ใน MEGA10AICHINA
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทชั้นนำด้าน AI ในจีน กับ MEGA10AICHINA เตรียมเปิดให้จอง IPO เริ่ม 28 มี.ค. นี้ /โดย บลจ.ทาลิส
Haier อยู่ใน MEGA10AICHINA
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทชั้นนำด้าน AI ในจีน กับ MEGA10AICHINA เตรียมเปิดให้จอง IPO เริ่ม 28 มี.ค. นี้ /โดย บลจ.ทาลิส
กองทุนเปิด MEGA10AICHINA มี 2 ชนิด
1) ชนิดสะสมมูลค่า หรือ MEGA10AICHINA-A
2) ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ MEGA10AICHINARMF
1) ชนิดสะสมมูลค่า หรือ MEGA10AICHINA-A
2) ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ MEGA10AICHINARMF
MEGA10AICHINA-A ลงทุนในแบบ Rule-Based Approach มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน และ/หรือ หลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ที่ดำเนินธุรกิจ และ/หรือ กิจกรรมที่มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่า กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่เป็นส่วนประกอบในดัชนี Hang Seng Artificial Intelligence Theme Index
ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาเลือกลงทุนในตราสารทุนของบริษัทข้างต้นจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องจำนวน 10 บริษัท* เช่น
- SMIC (ผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของจีน)
- Li Auto (ผู้ผลิตรถยนต์อัจฉริยะขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และมีแผนที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ Humanoid)
- Kuaishou (แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมที่ขับเคลื่อนด้วย AI)
- Xiaomi (ผู้ผลิตสมาร์ตโฟน รถยนต์ EV และอุปกรณ์อัจฉริยะรายใหญ่)
- Alibaba (E-Commerce และ Cloud รายใหญ่ที่สุดในจีน ผู้ให้บริการ AI ชื่อ Qwen)
- Tencent (เจ้าของ WeChat แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งาน 1.38 พันล้านคน และมี Ecosystem ที่สมบูรณ์แบบในการแนะนำบริการต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานชาวจีน)
โดยกองทุนจะมีการลงทุนที่ส่งผลให้มี Net Exposure ในตราสารทุนข้างต้นโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกง (HKD) และไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
MEGA10AICHINARMF จะเข้าไปลงทุนในหน่วยลงทุน MEGA10AICHINA-A (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ซึ่งบริหารจัดการโดย บลจ.ทาลิส โดยกองทุนจะลงทุนในกองทุนหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216,
02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน
กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา
นอกจากนี้จะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือ เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้จะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือ เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
Tag: haier