สิงคโปร์ ประเทศจิ๋วไม่มีน้ำมัน แต่ส่งออกน้ำมัน อันดับ 4 ของโลก

สิงคโปร์ ประเทศจิ๋วไม่มีน้ำมัน แต่ส่งออกน้ำมัน อันดับ 4 ของโลก

สิงคโปร์ ประเทศจิ๋วไม่มีน้ำมัน แต่ส่งออกน้ำมัน อันดับ 4 ของโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า อุตสาหกรรมน้ำมันส่วนใหญ่ของสิงคโปร์
อยู่บนเกาะจูรง ที่มีพื้นที่แค่ 32 ตร.กม. ใกล้เคียงกับพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิของไทย
แต่พื้นที่แค่นี้ กลับทำให้สิงคโปร์ ประเทศที่ไม่มีน้ำมัน
กลายมาเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกกว่า 2.4 ล้านล้านบาทต่อปี
แถมเกินดุลการค้าจากน้ำมัน กว่า 0.6 ล้านล้านบาท ในปีที่แล้ว
ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ความโชคดีแค่เรื่องที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แต่เกิดจากมันสมองและความตั้งใจของรัฐบาลสิงคโปร์อีกด้วย
สิงคโปร์ ปั้นประเทศอย่างไร ให้ส่งออกน้ำมัน ทั้งที่ตัวเองแทบไม่มีน้ำมันเลย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
จริง ๆ ก็ต้องบอกว่า เกาะสิงคโปร์มีบริษัทน้ำมันมา
ตั้งโรงงานนานแล้ว แต่ก็เป็นแค่คลังและพื้นที่จัดเก็บน้ำมันทั่วไป เพื่อส่งออกไปพื้นที่อื่น ๆ เท่านั้น
เพราะในมุมมองของบริษัทน้ำมัน สิงคโปร์มีพื้นที่เล็กไป เกินกว่าจะสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ได้
แต่ผู้นำสิงคโปร์ กลับมองตรงกันข้าม และเชื่อว่าสิงคโปร์สามารถทำได้..
กลายมาเป็นแผนแรก ที่สิงคโปร์เริ่มลบล้างความเชื่อเดิมที่เป็นไปไม่ได้ของบริษัทน้ำมัน
ในปี 1960 คุณ Goh Keng Swee รัฐมนตรีคลังสิงคโปร์ ไปเจรจากับ Maruzen Petroleum ซึ่งปัจจุบันคือ Cosmo Oil Company ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอันดับ 3 ของญี่ปุ่น
เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน และเปิดโรงกลั่นน้ำมันในสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในการส่งน้ำมันกลับไปญี่ปุ่น
เมื่อมีข่าวว่าสิงคโปร์ จะมีโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรก บรรดาบริษัทน้ำมันต่างก็ตกใจ เพราะไม่คิดว่าพื้นที่
เล็ก ๆ แค่นี้ จะสร้างโรงกลั่นน้ำมันได้
หนึ่งในนั้นคือ Shell ที่รีบบินมาเจรจากับคุณ Goh พร้อมสัญญาว่าจะตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกที่สิงคโปร์
ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ Shell จะตั้งโรงกลั่นน้ำมันที่มาเลเซียด้วยซ้ำ แต่ก็ยกเลิกและเลือกสิงคโปร์แทน
และเมื่อ Shell หนึ่งในบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ตัดสินใจลงทุนในสิงคโปร์ บริษัทน้ำมันเจ้าอื่นก็เริ่มตบเท้าตามมา ไล่ตั้งแต่ BP และ ExxonMobil
แต่แม้จะมีบริษัทน้ำมันเข้ามาสร้างโรงกลั่นในประเทศมากขึ้น สิงคโปร์ก็ไม่ได้หยุดความคิดอยู่แค่นี้ เพราะยังมีความฝันที่ใหญ่กว่านั้นรออยู่
นั่นคือ การปั้นอุตสาหกรรมน้ำมันของตัวเอง
ในปี 1968 สิงคโปร์ตั้งบริษัทเทรดดิง ชื่อว่า Singapore’s international trading company หรือ Intraco เพื่อนำเข้าและส่งออกสินค้าสิงคโปร์
โดย Intraco จะคอยนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น น้ำมันดิบ เข้ามาที่สิงคโปร์ จากนั้นพอผลิตเสร็จ ก็ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
แต่สิงคโปร์จำเป็นต้องมีบริษัทน้ำมันของตัวเอง
ดังนั้นในปี 1969 จึงก่อตั้ง Singapore Petroleum & Chemical Company หรือ SPCC ขึ้นมา
และต่อมา SPCC ก็ได้กลายมาเป็น SPC (Singapore Petroleum Company) โดย
การร่วมทุนระหว่างรัฐบาลสิงคโปร์ กับบริษัทน้ำมัน อีก 2 แห่ง อย่าง BP และ Caltex
ซึ่ง SPC ดำเนินการทั้งสำรวจและผลิตปิโตรเลียม, กลั่นน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมัน
เมื่อมีทั้งบริษัทนำเข้าน้ำมันดิบ แถมยังมีบริษัทน้ำมันของตัวเอง สิงคโปร์ก็เริ่มยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบในช่วง 5 ปีแรก เพื่อให้บริษัทน้ำมันของตัวเองตั้งไข่ได้
ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่พอดี เพราะเกิดสงครามเวียดนาม ที่มีความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปสูงมาก
ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันสิงคโปร์เฟื่องฟูขึ้นเรื่อย ๆ
รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ การผลิตน้ำมันเกิดหยุดชะงักลง น้ำมันที่กลั่นแล้วจากสิงคโปร์ จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์รู้ดีว่า ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอย่างเดียว มีความเสี่ยงโดนแข่งได้ง่าย จึงตัดสินใจขยายธุรกิจไปยังผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากขึ้น
แต่ปัญหาก็คือ ธุรกิจนี้จำเป็นต้องลงทุนสูง และยังไม่มีประสบการณ์มากพอ ถ้ารัฐบาลสิงคโปร์ลงทุนคนเดียว อาจมีความเสี่ยงมากไป
ในปี 1976 สิงคโปร์จับมือกับ Sumitomo Chemical จากญี่ปุ่น และเจรจาขอเงินสนับสนุนจาก
รัฐบาลญี่ปุ่นผ่าน Overseas Economic Cooperation Fund เพื่อมาก่อตั้งบริษัทปิโตรเคมีแห่งสิงคโปร์ หรือ Petrochemical Corporation of Singapore
โดยถือหุ้นด้วยกัน 2 ฝ่าย ฝั่งสิงคโปร์ มีรัฐบาลและธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์
ส่วนฝั่งญี่ปุ่น ก็ถือผ่าน JSPC บริษัทร่วมทุนระหว่างสิงคโปร์และญี่ปุ่นแทน
เรื่องราวเหมือนจะไปได้สวย จนกระทั่งเจอปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้บริษัทมีรายได้ลดลง
ในปี 1988 รัฐบาลสิงคโปร์ จึงเริ่มขายหุ้นทิ้งเรื่อย ๆ
จนหมดในปี 1997 และหันไปคิดโปรเจกต์ใหม่ขึ้นมา แทนที่จะปั้นบริษัทปิโตรเคมีของตัวเอง
และในที่สุด สิงคโปร์ตัดสินใจเดินหน้าแผนพัฒนา
เกาะจูรง ที่เกิดจากการถมทะเล เชื่อมต่อ 3 เกาะทางใต้
ที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน
โดยให้เป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบครบวงจร ที่มีทั้งโรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึก ระบบขนส่ง เพื่อรองรับการลงทุนบริษัทปิโตรเคมีจากต่างชาติ
ซึ่งใช้งบประมาณไปทั้งหมดในปี 1995 สูงถึง 183,600 ล้านบาท เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ยังก่อตั้ง Singapore International Monetary Exchange หรือ SIMEX ในปี 1984
เพื่อเป็นตลาดซื้อขายสัญญาล่วงหน้าน้ำมัน
ก่อนจะขยายออกมาเป็น Global Trader Programme ที่รวมบริษัทเทรดดิงทั่วโลกกว่า 270 แห่ง เพื่อซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสินค้าได้ทุกชนิด
รวมทั้งการปรับเส้นเขตเวลาของตัวเอง จากปกติที่ต้องเร็วกว่าอังกฤษ 7 ชั่วโมง ก็เปลี่ยนมาเป็นเส้น UTC+8 ที่เร็วกว่าอังกฤษ 8 ชั่วโมงแทน
การทำแบบนี้ ทำให้สิงคโปร์เชื่อมต่อกับตลาดซื้อขายน้ำมันทั่วโลกได้ดีขึ้น เพราะทำให้ตลาดสิงคโปร์เปิด ตอนที่ตลาดนิวยอร์กใกล้จะปิด (จากเดิมเปิดตอน ตลาดนิวยอร์กปิดไปแล้ว)
ส่วนตลาดลอนดอน ก็กำลังเปิดอยู่เช่นกัน ตอนตลาดสิงคโปร์เปิด
แถมตลาดสิงคโปร์ ยังใกล้เคียงกับช่วงเวลาเปิดทำการของตลาดในเอเชีย
ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในตลาดน้ำมันอ้างอิงไปโดยทันที เนื่องจากตลาดน้ำมันสิงคโปร์ เป็นที่น่าเชื่อถือ และสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันโลกได้อย่างชัดเจน
และกลายเป็นเหตุผลว่า ทำไมประเทศไทยต้องอ้างอิงราคาน้ำมันตลาดโลกกับตลาดสิงคโปร์ นั่นเอง
ถึงตรงนี้ ก็คงเห็นแล้วว่า การเป็นประเทศส่งออกน้ำมันอันดับ 4 ของโลก ไม่ได้มาจากความบังเอิญ
แต่มาจากวิสัยทัศน์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ประกอบด้วย
โดยในปีที่แล้ว
สิงคโปร์นำเข้าน้ำมัน 1.8 ล้านล้านบาท และส่งออกน้ำมัน 2.4 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าได้ดุลการค้าน้ำมัน มากถึง 0.6 ล้านล้านบาท
ซึ่งน้ำมันที่ได้ออกมา ก็เป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกไป ทั้งเพื่อนบ้านในอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย รวมทั้งประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน
ทำให้สิงคโปร์ สามารถกอบโกยผลประโยชน์เข้าประเทศได้จากอุตสาหกรรมน้ำมัน
แม้ว่าเกาะจิ๋ว ๆ แห่งนี้ แทบไม่มีน้ำมันสำรอง เป็นของตัวเองเลยก็ตาม..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-CCSI Downstream Beneficiation, Refined Petroleum Case Study: Singapore by Srijit Ghosh and Melissa Au 2018
-https://www.nlb.gov.sg/main/article-detail
-https://www.trademap.org/Country_SelProductCountry_TS.aspx
-https://www.asianometry.com/p/how-tiny-singapore-became-a-petro
-https://www.pcs.com.sg/about-us/company-profile/
-https://www.nlb.gov.sg/main/article-detail
-https://en.wikipedia.org/wiki/Cosmo_Oil_Company

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon