
30 ปีแห่งความสำเร็จ PFS จากโรงงานเล็กในมหาชัย สู่ผู้นำธุรกิจ Freeze Dry กับยอดขายกว่า 4,600 ล้านบาท
PFS x ลงทุนแมน
ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อาหารที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติ แต่ต้องมาพร้อมคุณค่าทางโภชนาการ ความสดใหม่ รวมถึงความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิต
Freeze Dry หรือการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จึงเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ เพราะสามารถรักษาสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุได้ดีกว่าวิธีถนอมอาหารแบบอื่น
ที่สำคัญยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาโดยไม่ต้องพึ่งสารกันเสียเลย ผู้บริโภคจึงสามารถเข้าถึงอาหารที่สะดวกและดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น
และหากพูดถึงบริษัทชั้นนำด้าน Freeze Dry ในประเทศไทย
หนึ่งในชื่อที่โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น PFS หรือ บริษัท พรีเซิร์ฟ ฟู้ด สเปเชียลตี้ จำกัด
หนึ่งในชื่อที่โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น PFS หรือ บริษัท พรีเซิร์ฟ ฟู้ด สเปเชียลตี้ จำกัด
รู้หรือไม่ว่า ? PFS ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำในการผลิตอาหารอบแห้งแบบครบวงจร ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น
แต่ยังเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Dreamy ที่หลายคนคุ้นเคย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ครีมเทียม ชานม ไปจนถึงกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง

ล่าสุด PFS ฉลองครบรอบ 30 ปี ภายใต้แนวคิด “PFS’s 30 Years : SYNERGY OF SUCCESS” ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้วยยอดขายกว่า 4,604 ล้านบาท
เส้นทางความสำเร็จของ PFS น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัท พรีเซิร์ฟ ฟู้ด สเปเชียลตี้ จำกัด หรือ PFS ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 โดยคุณวรภาส มหัทธโนบล ที่มองเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป
เขาตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงาน Freeze Dry ในปี 1995 บนพื้นที่รกร้างในมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัตถุดิบอาหารทะเลที่สำคัญของไทย
เป้าหมายหลัก คือ พัฒนาเทคโนโลยีแปรรูปอาหารทะเลให้เก็บรักษาได้นานขึ้น โดยยังคงคุณภาพดีเพียงพอสำหรับการส่งออก
แม้ว่าเทคโนโลยี Freeze Dry ต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ก็เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในระยะยาว เพราะช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องใช้สารกันเสีย ทำให้ PFS สร้างความแตกต่างในตลาด และสามารถขยายธุรกิจได้อย่างมั่นคง
ที่น่าสนใจคือ ในปีแรกของการดำเนินงาน บริษัทมีพนักงานเพียง 18 คน แต่สามารถสร้างรายได้กว่า 17 ล้านบาท
ต่อมา ในปี 1999 บริษัทได้ต่อยอดธุรกิจด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี Spray Dry เพื่อผลิตครีมเทียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและเบเกอรี
จุดเปลี่ยนสำคัญของ PFS เกิดขึ้นเมื่อบริษัทสั่งสมความเชี่ยวชาญมากขึ้น จนมองเห็นโอกาสขยายตลาดจากเดิมที่เน้นเฉพาะอาหารแปรรูป
PFS ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่ม ด้วยการเข้าซื้อ Coffee Dreamy แบรนด์ครีมเทียมที่มีศักยภาพ
การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ไม่เพียงเพิ่มไลน์ธุรกิจ แต่ยังเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ PFS เติบโตขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตครีมเทียมรายใหญ่ของไทยในเวลาอันรวดเร็ว
ปัจจุบัน PFS มีพนักงานกว่า 100 คน และผลิตภัณฑ์ของบริษัทถูกส่งออกไปยังตลาดสำคัญทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ, จีน หรือญี่ปุ่น ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้รับมาตรฐานสากล
ความสำเร็จของ PFS สะท้อนได้จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างน่าสนใจ
ปี 2021 รายได้ 3,356 ล้านบาท กำไร 314 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 3,997 ล้านบาท กำไร 278 ล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 4,098 ล้านบาท กำไร 579 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 3,997 ล้านบาท กำไร 278 ล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 4,098 ล้านบาท กำไร 579 ล้านบาท
โดยคุณวรภาส กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานการผลิต เทคโนโลยีการถนอมอาหาร และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรและผู้บริโภค

เราเชื่อว่า คุณภาพที่แท้จริงเกิดจากความร่วมมือ ไม่ใช่เพียงจากเราเพียงฝ่ายเดียว แต่รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจและผู้บริโภคที่ไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ของเรา”
PFS ผลิตอาหารหลากหลายประเภท ทั้งอาหารแช่แข็ง ก๋วยเตี๋ยวถ้วยสำเร็จรูป และอาหารทะเล
ด้วยคุณภาพและความหลากหลาย เลยไม่น่าแปลกใจ ที่บริษัทหลายประเทศจะให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ของ PFS ไม่ว่าจะเป็น
- ญี่ปุ่นถือเป็นตลาดสำคัญ โดยมีหลายบริษัทชั้นนำเลือกใช้วัตถุดิบจาก PFS โดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารทะเลที่ผลิตจากโรงงานโดยตรง
- สหรัฐฯ และจีน แม้จะมีข้อจำกัดด้านการนำเข้าเนื้อสัตว์ แต่ PFS ก็ยังคงสามารถส่งออกกุ้ง รวมถึงปลาแผ่น ที่ผลิตจากโรงงานของตัวเองได้
จากรากฐานที่แข็งแกร่งและความร่วมมือจากพันธมิตร PFS จึงพร้อมเดินหน้าสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหาร และขยายโอกาสสู่ตลาดโลกอย่างมั่นคง
แล้วในอนาคต PFS มีแผนเติบโตในด้านใดบ้าง ?
คุณภาณุ มหัทธโนบล ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่า “การก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 ของ PFS ไม่ใช่แค่การเดินหน้าต่อ แต่คือการสร้างอนาคต
โดยตั้งเป้ายอดขาย 7,000 ล้านบาทภายในปี 2030 ด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจน ทั้งการขยายตลาดและการพัฒนาสินค้าใหม่
โดยเฉพาะในกลุ่ม Health & Well-being เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น สิ่งนี้ไม่ใช่เพียงโอกาสทางธุรกิจ แต่เป็นแนวทางที่พาบริษัทก้าวไปข้างหน้า และเติบโตไปพร้อมกับผู้บริโภค”
ปัจจุบัน PFS มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น
- Freeze Dry การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง
กระบวนการที่ผลิตภัณฑ์จะถูกแช่แข็งจนกลายเป็นของแข็ง จากนั้นนำเข้าสู่ภาวะสุญญากาศเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งระเหิดเป็นไอ โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว
กระบวนการนี้ทำให้ช่วยรักษารูปร่าง สี และคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้
ผลิตภัณฑ์จะมีน้ำหนักเบาและคืนสภาพได้ดีเมื่อนำมาเติมน้ำ เหมาะสำหรับผักผลไม้แช่แข็งอบแห้ง เช่น สตรอว์เบอร์รี อะโวคาโด กาแฟสำเร็จรูป และอาหารพร้อมรับประทาน
- Spray Dry การทำแห้งแบบพ่นฝอย
เทคนิคที่ของเหลวจะถูกพ่นเป็นละอองฝอยเข้าไปในห้องอบแห้งที่มีลมร้อน ทำให้น้ำระเหยออกอย่างรวดเร็วและเหลือเป็นผงแห้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีอนุภาคเล็ก เนื้อละเอียด และละลายน้ำง่าย
นิยมใช้กับผลิตภัณฑ์อย่างนมผง กาแฟผง และเครื่องปรุงรสผง เช่น น้ำปลาอบแห้ง หรือผงซุป
- Air Dry การทำแห้งแบบใช้ลมร้อน
เป็นวิธีที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยการเป่าลมร้อนเพื่อไล่ความชื้นออกจากวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังคงมีลักษณะใกล้เคียงกับของสดแต่สูญเสียน้ำไปบางส่วน
เหมาะสำหรับสมุนไพรแห้ง เช่น กระเทียมอบแห้ง หอมเจียวอบแห้ง และผลไม้อบแห้ง เช่น กล้วย หรือมะม่วง
- Drum Dry การทำแห้งแบบลูกกลิ้งร้อน
ใช้กับของเหลวข้น เช่น โจ๊ก หรือซุปข้น โดยของเหลวจะถูกทำให้เป็นฟิล์มบาง ๆ บนลูกกลิ้งเหล็กร้อนที่หมุนอยู่ เมื่อน้ำระเหยออกไป จะเหลือเป็นแผ่นบาง ๆ ที่สามารถนำไปบดเป็นเกล็ดหรือผง ละลายน้ำได้ง่าย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีนี้ ได้แก่ โจ๊กสำเร็จรูป ผงมันฝรั่งบด และซุปผง
- การสกัดเข้มข้น
กระบวนการดึงสารที่ต้องการออกจากวัตถุดิบ โดยใช้น้ำ ตัวทำละลาย หรือแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงนำมาเข้าสู่กระบวนการระเหยเพื่อให้เข้มข้นขึ้น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็นสารสกัดเข้มข้นที่สามารถนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม หรือยา เช่น สารสกัดจากใบชาเข้มข้น น้ำส้มสายชูหมักเข้มข้น และน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร
- Frozen การแช่เยือกแข็ง
วิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำระหว่าง -30 ºC ถึง -40 ºC เพื่อป้องกันการถูกทำลายของเซลล์และคงคุณภาพของอาหารให้ดีที่สุด
วิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำระหว่าง -30 ºC ถึง -40 ºC เพื่อป้องกันการถูกทำลายของเซลล์และคงคุณภาพของอาหารให้ดีที่สุด
วิธีนี้ช่วยคงรสชาติ สี และเนื้อสัมผัสของวัตถุดิบให้สดใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีนี้ ได้แก่ อาหารพร้อมรับประทานแช่แข็ง ผักและผลไม้แช่แข็ง และอาหารทะเลแช่แข็ง
จากเทคโนโลยีการผลิตทั้งหมดของ PFS ล่าสุด จะเห็นได้ว่าตอบโจทย์กับผลิตภัณฑ์หลากหลายแล้ว แต่คุณภาณุ มหัทธโนบล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคต จะมีแผนขยายธุรกิจสู่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงประเภท Freeze Dry ผ่านแบรนด์ Cutsity และ Cultsty
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มองหาอาหารคุณภาพสูง พร้อมเจาะกลุ่มตลาดพรีเมียมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 รายการ ได้แก่
- Bite Me Yogurt Freeze Dried โยเกิร์ตฟรีซดรายเสริมโพรไบโอติก เพื่อสุขภาพลำไส้ที่ดี
- Dreamy Fruit Tea with Stevia ชาผลไม้ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำตาล
- Dreamy Natural Oat Milk Creamer ครีมเทียมนมข้าวโอ๊ตที่อุดมด้วยคุณประโยชน์ ตอบโจทย์สายเฮลที
- Dreamy Fruit Tea with Stevia ชาผลไม้ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำตาล
- Dreamy Natural Oat Milk Creamer ครีมเทียมนมข้าวโอ๊ตที่อุดมด้วยคุณประโยชน์ ตอบโจทย์สายเฮลที
ขณะเดียวกัน PFS กำลังรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมข้าว ด้วยการตั้งโรงงานข้าวหอมมะลิออร์แกนิกขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อรองรับกระแสรักสุขภาพที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอเห็นถึงภาพรวมของบริษัท PFS กันบ้างแล้ว
แต่คำถามสำคัญคือ ธุรกิจ Speciality Food และ Future Food จะเติบโตแค่ไหน และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?
วันนี้เราลองมาฟังมุมมองจาก คุณเชอรี่ เข็มอัปสร นักแสดงสายเฮลที และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Chief Strategist บริษัท แอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด

ในหัวข้อ “Food Insecurity and The Next Chapter ว่าด้วยการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเข้าถึงแหล่งอาหารโลกอย่างยั่งยืน”
คุณเชอรี่ เข็มอัปสร เล่าว่า “ทุกวันนี้ เราไม่เพียงต้องดูแลสุขภาพตัวเอง แต่ยังต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน แนวคิด เกษตรฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะเป็นวิธีการผลิตที่ช่วยฟื้นฟูดิน ลดการใช้สารเคมี และสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิตอาหารต้องให้ความสำคัญ เพราะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก
วันนี้หลายประเทศเริ่มกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากไทยต้องการแข่งขันในตลาดโลก ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน
ธุรกิจ Future Food จึงต้องปรับตัว พัฒนาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจทั้งสุขภาพและความยั่งยืน”
ขณะเดียวกัน ดร.วิษุวัต สงนวล คาดการณ์ว่า “ภายในปี 2050 โลกจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากปัจจุบัน เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น”

การเปลี่ยนแปลงนี้หมายความว่า เกษตรกร 1 คนจะต้องผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับคนมากกว่า 50 คน ซึ่งเป็นความท้าทายที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารในอนาคต
โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่
- การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
- การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
- การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมอาหารจึงต้องปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแนวโน้มที่น่าจับตามองคือ Functional Food หรืออาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและให้ประโยชน์เฉพาะทาง
หนึ่งในพืชที่น่าสนใจในไทยคือ ไข่ผำ (Kai Pam) พืชท้องถิ่นของไทยที่อุดมด้วยโปรตีนจากพืช ไฟเบอร์สูง และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน และเสริมสร้างสุขภาพลำไส้
มาถึงคำถามสุดท้ายว่า Next Chapter ของอุตสาหกรรมอาหารจะเป็นอย่างไร ?
ทั้งคุณเชอรี่ เข็มอัปสร และ ดร.วิษุวัต สงนวล มองว่า เทคโนโลยี Freeze Dry ยังคงมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร

เนื่องจากสามารถรักษาคุณค่าทางโภชนาการ ลดปริมาณขยะอาหาร และยืดอายุการเก็บรักษา ช่วยให้สามารถบริโภคอาหารได้ตามต้องการโดยไม่เกิดของเสีย
ในอนาคต เทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนากระบวนการผลิตที่ ยั่งยืนและลดของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับแนวโน้มของตลาดที่ให้ความสำคัญกับ ความยั่งยืน คุณภาพ และความคุ้มค่า มากขึ้น
สุดท้ายแล้ว อุตสาหกรรมอาหารกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่ไม่ได้แข่งขันกันแค่รสชาติหรือราคา แต่ยังรวมถึง นวัตกรรม ความยั่งยืน และการตอบโจทย์สุขภาพของผู้บริโภค
ใครสามารถปรับตัวได้ก่อน ย่อมเป็นผู้นำในยุคต่อไป นั่นเอง..
#PFS
#PreservedFoodSpecialty
#SynergyofSuccess
#ครบรอบ30ปีPFS
#PreservedFoodSpecialty
#SynergyofSuccess
#ครบรอบ30ปีPFS
References
-ข่าวประชาสัมพันธ์ PFS ครบรอบ 30 ปี
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/qArBESlKhmypbsVNTLKMWLIISoyRpntdmychMBXuwY9NwrlZDQ2mYThfsBr_N_zn
-https://preservefood.net/
-ข่าวประชาสัมพันธ์ PFS ครบรอบ 30 ปี
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/qArBESlKhmypbsVNTLKMWLIISoyRpntdmychMBXuwY9NwrlZDQ2mYThfsBr_N_zn
-https://preservefood.net/
Tag: PFS