เปลี่ยนความผันผวน เป็นโอกาสทำกำไร THE WISDOM Wealth Decoded Talk ถอดรหัสการลงทุนปีเลือกตั้ง

เปลี่ยนความผันผวน เป็นโอกาสทำกำไร THE WISDOM Wealth Decoded Talk ถอดรหัสการลงทุนปีเลือกตั้ง

KBank x ลงทุนแมน
ในยุคที่โลกเชื่อมโยงกัน การเลือกตั้งในประเทศหนึ่ง สามารถส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปทั่วโลก จึงไม่แปลกใจที่นักลงทุนทั่วโลก ต่างจับตา “ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์” โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า และต่างประเทศ
เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2024 อาจใช้นโยบายที่ต่างไปจากเดิม ทั้งเรื่องการค้าระหว่างประเทศ, การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายพลังงาน อาจส่งผลต่อตลาดหุ้น และเศรษฐกิจโลก
นักลงทุนยุคใหม่ จึงต้องจับตาการเลือกตั้งทั่วโลก ศึกษา และทำความเข้าใจนโยบายของผู้สมัครแต่ละราย เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสม รับมือกับความผันผวน และคว้าโอกาสในการลงทุน
จากเรื่องนี้ ทำให้เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดสัมมนา “THE WISDOM Wealth Decoded Talk” เพื่อช่วยนักลงทุนเตรียมรับมือกับความผันผวนจากการเลือกตั้งทั่วโลกในปี 2024
โดยจะมาวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก พร้อมไขเคล็ดลับกลยุทธ์การลงทุน เพื่อสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่งและมั่นคง
โดย Speaker มากประสบการณ์อย่าง คุณบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
ความน่าสนใจของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
เริ่มต้นที่ “สหราชอาณาจักร”
พรรคแรงงานของอังกฤษได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในรอบ 14 ปี แบบถล่มทลายอีกด้วย ซึ่งได้ 412 ที่นั่ง จาก 650 ที่นั่งในรัฐสภา
ขณะที่พรรคอนุรักษนิยมที่เคยบริหารประเทศมานับทศวรรษ ได้เพียง 121 ที่นั่ง
ถือเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองไม่น้อย
พรรคแรงงาน มีนโยบายสำคัญส่งผลต่อประเทศ อาทิ
- ตั้ง Great British Energy บริษัทพลังงานสะอาดแห่งใหม่ ที่สาธารณชนเป็นเจ้าของ เพื่อบรรลุเป้าหมายสภาพอากาศ และลดผลกระทบจากตลาดพลังงานโลก
- ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการปรับปรุงเศรษฐกิจ และเลิกการยกเว้นภาษีให้กับผู้คนที่ไม่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร ลดการเลี่ยงภาษี ทั้งนี้ไม่มีการขึ้นภาษีเงินได้ รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ด้านแรงงาน มีการกำหนดข้อบังคับใหม่ เช่น ห้ามการทำสัญญาจ้างงานแบบไม่กำหนดชั่วโมงทำงาน
มาต่อกันที่ “ประเทศฝรั่งเศส”
การเลือกตั้งในฝรั่งเศสมีความดุเดือดไม่แพ้กัน เพราะรัฐบาลไม่สามารถจัดตั้งได้หลังการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ เนื่องจากได้ 182 ที่นั่ง ซึ่งไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด (577 ที่นั่ง)
หากหวังการจับมือกันของพรรคฝ่ายซ้ายและพรรคฝ่ายกลาง ก็ดูเป็นไปได้ยาก เพราะทั้งสองมีนโยบายแตกต่างกัน ทั้งเรื่องภาษี, เงินบำนาญ และนโยบายสิ่งแวดล้อม
กลับมาที่ประเด็นการเลือกตั้งที่คนจับตามองมากที่สุดในตอนนี้คือ การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ช่วงแรกเป็นการเลือกตั้งระหว่าง Donald Trump และ Joe Biden และท่าทีดูเหมือนว่า Donald Trump จะได้รับความนิยมมากกว่า Joe Biden
ตอนนี้เริ่มเข้มข้นขึ้นไปอีก เมื่อ Joe Biden สละสิทธิ์ให้ Kamala Harris ที่มีอายุน้อยกว่า และเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนนโยบายที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่มากขึ้น เช่น การยุติการตั้งครรภ์ หรือการทำให้ประกันสุขภาพเข้าถึงได้มากขึ้น
แล้วความแตกต่างระหว่างจุดยืนสำคัญของ Donald Trump และ Kamala Harris มีอะไรบ้าง ?
- รถยนต์ไฟฟ้า
Kamala Harris สนับสนุนการเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และรณรงค์ให้ลดการใช้รถยนต์พลังงานน้ำมันแทนในช่วงรัฐบาลของ Joe Biden
ขณะที่ Donald Trump กลับมองว่า นโยบายนี้เป็นภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกเลิกความพยายามนี้
- ที่อยู่อาศัย
Kamala Harris ผลักดันให้มีที่อยู่อาศัยแบบราคาเข้าถึงได้ง่าย
ส่วน Donald Trump สนับสนุนให้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในบริเวณรอบนอกเมืองและเขตชานเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีที่ดินราคาถูก
- ภาษี
Donald Trump สนับสนุนให้ขยายการลดหย่อนภาษี หรือที่มีชื่อทางการว่า “Tax Cuts and Jobs Act” ที่เป็นการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 21% จาก 35% เพื่อดึงบริษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา ที่ได้เคยออกไปลงทุนในต่างประเทศให้กลับมา
แต่ Kamala Harris ต้องการคลายมาตรการลดหย่อนภาษีของ Donald Trump
- การค้า
Donald Trump เสนอให้เก็บภาษีศุลกากร 10% สำหรับสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด และอาจเรียกเก็บถึง 60% หรือมากกว่านั้น สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากจีน เพราะมองว่า ปัจจุบันการปฏิบัติทางการค้าไม่เป็นธรรม
รวมถึงวางแผนที่จะจัดทำแผน 4 ปี กระตุ้นการผลิตในสหรัฐอเมริกา เพื่อที่ประเทศจะไม่ต้องพึ่งพาจีนสำหรับสินค้าสำคัญอีกด้วย
ส่วนทางทีม Kamala Harris ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภท แต่ก็เห็นด้วยกับภาษีศุลกากรบางประเภท เช่น เหล็กและอะลูมิเนียมจากจีน เพราะเห็นด้วยว่า ประเทศนี้มีการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
- สิ่งแวดล้อม
Kamala Harris ให้ความสำคัญกับ Climate Policy โดยเธอสนับสนุนการแบนการขุดเจาะนอกชายฝั่ง และธุรกิจที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น บริษัทบุหรี่ รวมถึงสนับสนุนพลังงานสะอาด
แต่ Donald Trump ต้องการลดกฎระเบียบและถอนตัวจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยให้เหตุผลว่ากฎระเบียบดังกล่าวขัดขวางการสร้างงานให้กับผู้คน
จะเห็นได้ว่า ทั้งสองมีจุดยืนหลายด้านที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นย่อมแตกต่างด้วย
ดังนั้น นักลงทุนควรจับตามองการเลือกตั้งครั้งนี้ให้ดี
กลับมาที่ “ประเทศไทย” กันบ้าง..
แม้สถานการณ์การเมืองยังคงมีความไม่แน่นอน
แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนไม่ควรมองข้ามก็คือ การลดดอกเบี้ยของ FED เพราะนักลงทุนต่างชาติมีอิทธิพลอย่างมากต่อตลาดหุ้นไทย

หาก FED ตัดสินใจลดดอกเบี้ยจริง อาจทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้นำเข้า แต่ผู้ส่งออกอาจต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากสินค้าไทยจะมีราคาสูงขึ้นในตลาดโลก
ส่วน “ทองคำ” ที่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน
อาจมีราคาปรับตัวสูงขึ้นเมื่อ FED ลดดอกเบี้ย เพราะนักลงทุนอาจหันมาลงทุนในทองคำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและความผันผวนของตลาด
มาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอเห็นถึงความสำคัญของการติดตามการเลือกตั้งและนโยบายของประเทศมหาอำนาจกันบ้างแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วโลกได้
ทีนี้ ลองมาเจาะลึก กลยุทธ์การลงทุน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตกันบ้าง..

เทรนด์สำคัญที่นักลงทุนต้องจับตาคือ สังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
ในปี 2025 คาดว่าผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนถึง 16.4% ของประชากรโลก และในอีก 30 ปีข้างหน้า ตัวเลขนี้จะพุ่งสูงถึงเกือบ 20% หรือกว่า 1.5 พันล้านคน

อีกหนึ่งเทรนด์ที่ร้อนแรงไม่แพ้กันคือ เรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะโรคอ้วนและโรคเบาหวานที่กำลังแพร่ระบาด โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
พอเป็นแบบนี้ ธุรกิจที่จะได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ คือ ธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมสูงวัยและเทรนด์สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น
- AI เพื่อผู้สูงอายุ
เช่น การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งเป็นเพื่อนคลายเหงา การช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน และการดูแลสุขภาพ

- บริษัทยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอัลไซเมอร์ บริษัทยาชั้นนำอย่าง Novo Nordisk และ Eli Lilly ที่มีนวัตกรรมยาใหม่ ๆ ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ ที่น่าตกใจคือ เทรนด์การท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป แม้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่การจับจ่ายใช้สอยกลับลดลง
โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มุ่งเน้นการ “ซื้อประสบการณ์” มากกว่าการ “ซื้อสินค้า” ส่งผลให้การใช้จ่ายต่อหัวลดลง
ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น สายการบิน และผู้ผลิตเครื่องบิน กลับได้รับประโยชน์จากแนวโน้มนี้ เนื่องจากความต้องการเดินทางยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แล้ว นักลงทุนไทย ควรจัดพอร์ตอย่างไร ?
คุณบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กล่าวว่า
“หากมีเงินบาทจำนวนมากในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น อาจเป็นโอกาสดีที่จะพิจารณาลงทุนในกองทุนต่างประเทศที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedged)

โดยเฉพาะในกลุ่ม Healthcare, AI หรือเทคโนโลยี อาจได้รับผลตอบแทนทั้งจากกำไรของกองทุนเอง และกำไรจากส่วนต่างของค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น

นี่อาจเป็นโอกาสทองสำหรับนักลงทุนที่ถือเงินบาทอยู่มาก หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจริง การลงทุนในกองทุนเหล่านี้อาจทำให้คุณได้รับผลตอบแทนที่งอกเงยขึ้นไปอีก

แต่ก็อย่าลืมว่า High Risk, High Return
ทุกการลงทุน มีความเสี่ยง

การกระจายความเสี่ยงคือ กุญแจสำคัญ
ลองจัดสรรพอร์ตให้มีกองทุนที่กระจายความเสี่ยงสัก 70-80% เพื่อความอุ่นใจ

แล้วค่อยแบ่งอีก 20% ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่อาจให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น กองทุน Unhedged ในกลุ่ม Healthcare, AI หรือเทคโนโลยี”
โดยกองทุนที่น่าสนใจคือ
- K-FIXEDPLUS ลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- K-GINFRA-A(D) ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Morgan Stanley Investment Funds Global Infrastructure ที่ลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก
- K-HIT-A(A) ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Allianz Global Investors Fund – Allianz Thematica Share ที่ลงทุนในตราสารทุนทั่วโลก ผ่านกลยุทธ์การคัดเลือกธีมการลงทุน/กลุ่มอุตสาหกรรม/และหุ้น ที่เหมาะสม
- K-GHEALTH ลงทุนในหน่วยลงทุนของ JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund ที่ลงทุนในธุรกิจดูแลสุขภาพทั่วโลก เช่น บริษัทยา หรือกลุ่ม Biotech ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง
หมายเหตุ: *ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon