สรุปประวัติศาสตร์ สงครามการค้า 2,000 ปี
สรุปประวัติศาสตร์ สงครามการค้า 2,000 ปี /โดย ลงทุนแมน
- 800,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟครั้งแรก
- 800,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟครั้งแรก
- 12,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มสร้างหมู่บ้าน แบ่งงานกันทำ และมีการแลกเปลี่ยนของกิน ของใช้ระหว่างกัน
- 5,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มใช้เหรียญโลหะ ที่คล้ายกับเงินในปัจจุบัน ไว้สำหรับแลกเปลี่ยนเวลาค้าขาย
จะเห็นได้ว่า มนุษย์มีการค้าขายกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ 12,000 ปีก่อน
และแน่นอนว่า ความขัดแย้งเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่เรามักเห็นกันในวันนี้ ก็มีมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้วเช่นกัน
ซึ่งถ้านับตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา ก็มีสงครามการค้า เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน..
ซึ่งถ้านับตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา ก็มีสงครามการค้า เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน..
แต่มีสงครามการค้าที่สำคัญอย่างน้อย 7 ครั้ง ในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา ที่ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก ไปอย่างสิ้นเชิง
แล้วในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา
มีสงครามการค้าอะไรเกิดขึ้นบ้าง ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
- เริ่มกันที่สงครามการค้าสำคัญครั้งแรก ที่เกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรโรมัน และอาณาจักรคาร์เธจ (ช่วงเวลา 264-146 ปีก่อนคริสตกาล)
มีสงครามการค้าอะไรเกิดขึ้นบ้าง ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
- เริ่มกันที่สงครามการค้าสำคัญครั้งแรก ที่เกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรโรมัน และอาณาจักรคาร์เธจ (ช่วงเวลา 264-146 ปีก่อนคริสตกาล)
หลายคนคงรู้จักแล้วว่า โรมันเป็นใคร แต่สำหรับคาร์เธจ อาจไม่คุ้นหูมากนัก เพราะถูกกองทัพโรมันโจมตีจนล่มสลายไป ในช่วงที่โรมันกำลังเรืองอำนาจ
ซึ่งสาเหตุความขัดแย้งในตอนนั้น เป็นเพราะอาณาจักรคาร์เธจ ที่ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาเหนือ รุ่งเรืองมาก และสามารถควบคุมการค้าทางทะเลแถบนั้นได้แบบเบ็ดเสร็จ จนร่ำรวยมหาศาล
เรื่องนี้เอง ก็ทำให้อาณาจักรโรมันไม่พอใจ และพยายามหาทางโค่นล้มคาร์เธจอยู่ตลอด
ซึ่งมีการทำสงครามกันถึง 3 ครั้ง จนในที่สุดอาณาจักรโรมันก็โค่นล้มคาร์เธจได้สำเร็จ
ท้ายที่สุดแล้ว อาณาจักรโรมัน จึงได้กลายมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในแถบนั้นแทน ก่อนจะค่อย ๆ สะสมความมั่งคั่ง และกลายเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุโรป
- สงครามการค้าสำคัญ ครั้งที่ 2
คือ “สงครามแย่งชิง การเป็นพ่อค้าแห่งเครื่องเทศ”
คือ “สงครามแย่งชิง การเป็นพ่อค้าแห่งเครื่องเทศ”
สมัยก่อน สิ่งล้ำค่าที่สุดที่ชาวยุโรปตามหา ไม่ใช่ปืนใหญ่ คน อาวุธ หรือทองคำ แต่เป็นสิ่งปรุงรสและถนอมอาหารที่เรียกว่า “เครื่องเทศ”
ซึ่งถ้าหากประเทศไหน สามารถเป็นพ่อค้าที่ครอบครองการค้าเครื่องเทศเหล่านี้ได้ ก็จะยิ่งเพิ่มความมั่งคั่งมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีเครื่องเทศล้ำค่าจำนวนมาก
เรื่องนี้ทำให้สเปนและโปรตุเกส ที่ต้องการช่วงชิงการเป็นเจ้าแห่งพ่อค้าเครื่องเทศ หมายปองสมบัติของดินแดนเหล่านั้น
โปรตุเกส จึงเริ่มเปิดฉากต่อสู้กับพ่อค้าชาวอาหรับ ที่เป็นผู้ผูกขาดการค้าเครื่องเทศในตอนนั้น จนขึ้นมาเป็นผู้นำการค้าเครื่องเทศแทน
ก่อนที่ต่อมา สเปนจะเข้ายึดโปรตุเกสได้สำเร็จ
ก่อนที่ต่อมา สเปนจะเข้ายึดโปรตุเกสได้สำเร็จ
แต่ผลประโยชน์ที่มหาศาล ก็ดึงดูดให้ชาติอื่น ๆ เช่น ชาวดัตช์ อังกฤษ เข้ามาร่วมแบ่งเค้กด้วย จนกระทั่งเหลือเพียงคู่ขัดแย้ง 2 ชาติ คือ สเปนและอังกฤษ
หลังจากทำสงครามกันอยู่นาน ในที่สุด กองเรืออาร์มาดาของสเปนก็พ่ายแพ้ยับเยินให้กับกองเรือของอังกฤษ
และทำให้อังกฤษ ขึ้นมาครอบครองการค้าเครื่องเทศ จนเป็นมหาอำนาจทางทะเลอย่างยิ่งใหญ่แทน
และทำให้อังกฤษ ขึ้นมาครอบครองการค้าเครื่องเทศ จนเป็นมหาอำนาจทางทะเลอย่างยิ่งใหญ่แทน
- สงครามการค้าสำคัญ ครั้งที่ 3
คือ “สงครามฝิ่น ระหว่างอังกฤษและจีน”
คือ “สงครามฝิ่น ระหว่างอังกฤษและจีน”
ในช่วงปี ค.ศ. 1820 อังกฤษเริ่มนำฝิ่น เข้าไปขายในจีน เพื่อต้องการลดการขาดดุลการค้ากับจีน
ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ เพราะจากเดิม ที่อังกฤษขาดดุลการค้ากับจีนมากถึง 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ก็สามารถกลับมาเกินดุล 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาไม่นาน
ก็สามารถกลับมาเกินดุล 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาไม่นาน
แน่นอนว่า จีนเองก็ไม่ทนกับเรื่องนี้ เพราะทำให้คนจีนโดนมอมเมา เกียจคร้านไม่ทำงาน จึงเริ่มเปิดฉากต่อสู้กับอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1839 ด้วยการออกกฎหมายห้ามค้าฝิ่น มีการยึดฝิ่นจากพ่อค้าชาวอังกฤษ และจัดการทำลายทิ้ง
แต่อังกฤษก็ไม่ยอม และเริ่มเปิดฉากโจมตีจีนกลับ สุดท้ายจีนก็ต้องพ่ายแพ้แก่อังกฤษ เพราะกองทัพที่ด้อยกว่า ประกอบกับมีปัญหาภายในราชสำนักของจีน
ผลของสงคราม ก็ทำให้จีน ต้องเสียพื้นที่คาบสมุทรเกาลูนและฮ่องกง ให้แก่อังกฤษ นานถึง 99 ปี ซึ่งอังกฤษก็ได้พัฒนาฮ่องกง จนมีระบบการเงินต่าง ๆ มากมาย และกลายมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลกมาจนถึงปัจจุบัน
- สงครามการค้าสำคัญ ครั้งที่ 4
คือ “สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากยุโรป”
คือ “สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากยุโรป”
ย้อนไปในช่วงปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกา เจอปัญหา Great Depression หรือเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในขณะที่ฝั่งยุโรป กลับไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก
ซึ่งช่วงนั้น สินค้าจากยุโรป โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ทะลักเข้ามาในสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดกว่า 40%
และความวุ่นวายก็ได้เกิดขึ้น เมื่อทั้งคู่ต่างทำสงครามการค้าระหว่างกัน จนการค้าระหว่างประเทศในตอนนั้น ซบเซาและลดลงไปถึง 65% ภายในเวลา 2 ปี
สุดท้ายแล้ว ทุกประเทศก็มาประชุมร่วมกัน จนเกิดเป็นแนวคิดข้อตกลงการค้าเสรี ซึ่งได้กลายมาเป็นองค์การการค้าโลก หรือ WTO อย่างทุกวันนี้
- สงครามการค้าสำคัญ ครั้งที่ 5
คือ “สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นอย่างหนัก”
คือ “สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นอย่างหนัก”
ในช่วงทศวรรษ 1970 ญี่ปุ่นได้เกินดุลการค้าจากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมีสินค้าอย่างรถยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถตีตลาดสหรัฐฯ ได้สำเร็จ
ทำให้สหรัฐฯ เริ่มกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเริ่มหามาตรการตอบโต้หลายวิธี ตั้งแต่การกำหนดโควตานำเข้า การเจรจาระหว่างกัน ไปจนถึงการบีบให้ลงนามในข้อตกลง
โดยข้อตกลงนั้น รู้จักกันในชื่อ Plaza Accord ที่ญี่ปุ่นต้องทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้น สินค้าส่งออกญี่ปุ่น มายังสหรัฐฯ ก็จะดูแพงขึ้น จึงลดแรงจูงใจในการนำเข้า และทำให้สหรัฐฯ ลดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นได้
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้สินค้าญี่ปุ่น แข่งกับประเทศอื่นได้น้อยลง จนต้องหาทางลดต้นทุน ด้วยการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก อย่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน
ซึ่งก็น่าเศร้าที่หลังจากนั้น ญี่ปุ่นต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ที่เราเรียกกันว่า “Lost Decade” หรือทศวรรษที่หายไป จากการระเบิดของฟองสบู่ตลาดหุ้นและอสังหาฯ
- สงครามการค้าสำคัญ ครั้งที่ 6
คือ “สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน ในปี ค.ศ. 2018”
คือ “สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน ในปี ค.ศ. 2018”
หากยังจำกันได้ กับชายที่ชื่อว่า “ดอนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่เปิดสงครามการค้ากับจีน ด้วยการให้เหตุผลว่า สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากเกินไป
ซึ่งพอประกาศไปแบบนั้น ก็ตามมาด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนหลายรายการ ไล่ตั้งแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า เหล็ก และอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน
ฝั่งจีนเอง ก็ออกมาตอบโต้แบบเดียวกัน จนทำให้
การค้าทั่วโลกปั่นป่วน เพราะจีนและสหรัฐฯ ต่างเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก
การค้าทั่วโลกปั่นป่วน เพราะจีนและสหรัฐฯ ต่างเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก
และผลที่เกิดขึ้น ก็ทำให้บริษัทจำนวนมาก ต้องสร้างฐานการผลิตใหม่ ๆ ในประเทศอื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาจีนเป็นโรงงานของโลกเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็มีหลายประเทศที่ได้รับอานิสงส์ เช่น เวียดนาม และเม็กซิโก
- สงครามการค้าสำคัญ ครั้งที่ 7
คือ “สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน ในปี ค.ศ. 2024”
คือ “สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน ในปี ค.ศ. 2024”
เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่นานนัก หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเป็น 100% รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ เช่น ชิปและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งก็ดูคล้ายกับสงครามการค้ายุคของดอนัลด์ ทรัมป์
ซึ่งก็ดูคล้ายกับสงครามการค้ายุคของดอนัลด์ ทรัมป์
แต่สิ่งที่แตกต่างคือ สงครามการค้าในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะทั้งสองฝ่าย ต้องการแย่งชิงการเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่กำลังเป็นเทรนด์สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม AI ของโลก
เห็นได้จากการที่สหรัฐฯ พยายามทุกวิถีทาง เพื่อหยุดยั้งความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และ AI ของจีน
ไม่ว่าจะเป็นการสั่งห้ามบริษัทของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร ในการส่งออกชิป และเครื่องมือผลิตชิปขั้นสูง ให้กับจีน
ซึ่งก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ประเทศไหน จะเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรมนี้ที่แท้จริง แต่ที่แน่ ๆ การค้าของโลก ก็คงจะปั่นป่วนขึ้นอีกครั้ง
มาถึงตรงนี้ เราคงเห็นแล้วว่า สงครามการค้าอยู่คู่กับมนุษย์มานาน ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง ก็ถึงขั้นสู้รบกัน เพื่อให้อีกฝ่าย หายออกไปจากเกมแย่งชิงส่วนแบ่งการค้า เลยด้วยซ้ำ
มาวันนี้ แม้จะไม่ถึงขั้นรบกันด้วยอาวุธสงครามโดยตรง แต่เปลี่ยนไปเป็นการเตะตัดขาระหว่างกันแทน เพื่อให้อีกฝ่าย วิ่งไล่ตามไม่ทัน และต้องสะดุดล้มอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งในอนาคต เป็นการยากที่จะคาดเดาได้ว่า สงครามการค้า จะเปลี่ยนหน้าตาไปในรูปแบบไหนอีกบ้าง และผลกระทบของมัน จะกว้างแค่ไหน
แต่ที่แน่ ๆ คือ สงครามการค้า คงจะเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ คู่ไปกับอารยธรรมมนุษย์ อย่างไม่จบสิ้น..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/terms/p/plaza-accord.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Smoot%E2%80%93Hawley_Tariff_Act
-https://thebusinessyear.com/article/5-trade-wars-in-history-and-how-they-shaped-the-modern-world/
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/terms/p/plaza-accord.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Smoot%E2%80%93Hawley_Tariff_Act
-https://thebusinessyear.com/article/5-trade-wars-in-history-and-how-they-shaped-the-modern-world/