
รู้จัก “ค่าความพร้อมจ่าย” ต้นทุนค่าไฟ แม้ไม่ใช้ ก็ต้องช่วยจ่าย
รู้จัก “ค่าความพร้อมจ่าย” ต้นทุนค่าไฟ แม้ไม่ใช้ ก็ต้องช่วยจ่าย /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ค่าไฟฟ้าในบิลของเราทุกวันนี้ มีค่าใช้จ่ายรายการหนึ่ง เรียกว่า “ค่าความพร้อมจ่าย” ที่เราต้องจ่ายเพิ่มเข้าไป เป็นประจำทุกเดือน
รู้หรือไม่ว่า ค่าไฟฟ้าในบิลของเราทุกวันนี้ มีค่าใช้จ่ายรายการหนึ่ง เรียกว่า “ค่าความพร้อมจ่าย” ที่เราต้องจ่ายเพิ่มเข้าไป เป็นประจำทุกเดือน
วันนี้ เรามาดูกันว่า ค่าใช้จ่ายนี้คืออะไร
ทำไม เราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มกันที่ผู้เล่นหลักในการจัดจำหน่ายไฟฟ้าในบ้านเรา ก็จะมี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ EGAT เป็นผู้ผลิต และรับซื้อไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่
ทำไม เราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มกันที่ผู้เล่นหลักในการจัดจำหน่ายไฟฟ้าในบ้านเรา ก็จะมี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ EGAT เป็นผู้ผลิต และรับซื้อไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่
- การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ปัจจุบัน กฟผ. ผลิตไฟฟ้าได้เอง ราว 34% ส่วนที่เหลือก็จะรับมาจาก
- ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 34%
- ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก 19%
- นำเข้าจากต่างประเทศ 13%
- ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก 19%
- นำเข้าจากต่างประเทศ 13%
หลังจากนั้น ก็จะจำหน่ายให้กับ กฟน. และ กฟภ. โดยทั้ง 2 องค์กรนี้ ก็จะจำหน่ายไฟฟ้า และเรียกเก็บบิลจากเรา
โดยค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายนั้น ก็จะประกอบไปด้วย 4 ส่วน แบ่งออกเป็น
1. ค่าไฟฐาน
คือ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า เช่น
ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบ สายส่ง สายจำหน่าย และการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงเงินสมทบกองทุน
ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบ สายส่ง สายจำหน่าย และการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงเงินสมทบกองทุน
2. ค่าบริการ
คือ ต้นทุนในการอ่านและจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้า
3. ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า FT
คือ ค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของการไฟฟ้า ซึ่งจะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราจ่ายให้ กฟน. และ กฟภ.
อย่างไรก็ตาม กฟน. และ กฟภ. ต้องไปรับซื้อไฟจาก กฟผ. ซึ่ง กฟผ. จ่ายเงินให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าอีกที
เราหลายคนอาจจะคิดว่า กฟผ. จะมีการจ่ายเพียงแค่ค่าไฟฟ้าตามปริมาณ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้น
เพราะยังมีค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่ง ที่แม้โรงไฟฟ้าบางแห่งจะไม่มีการผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบ แต่ กฟผ. ก็ต้องจ่ายให้ นั่นก็คือ “ค่าความพร้อมจ่าย”
แล้วมันคืออะไร ?
ค่าความพร้อมจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายที่ กฟผ. จะจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าเอกชน ที่ประมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากับ กฟผ. ในการเตรียมความพร้อม สำหรับส่งไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. ซึ่งทั้งหมดจะถูกนับเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ
โดยค่าความพร้อมจ่าย จะครอบคลุมตั้งแต่
- ค่าก่อสร้าง ซึ่งรวมถึงการชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย
- เงินกู้ค่าบำรุงรักษา ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายคงที่อื่น ๆ
- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
- ผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น
- เงินกู้ค่าบำรุงรักษา ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายคงที่อื่น ๆ
- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
- ผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น
ซึ่งค่าความพร้อมจ่ายส่วนนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในค่าไฟฟ้าของเรา เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็เหมือนกับการที่เรา เช่ารถยนต์มาใช้งาน โดยมีสิ่งที่เราต้องจ่าย คือ ค่าเช่ารถรายเดือน และค่าน้ำมัน
ซึ่งค่าน้ำมันจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ค่าใช้จ่ายที่เราต้องเสียแน่ ๆ แม้จะไม่ได้ขับขี่ไปไหนเลย ก็คือ ค่าเช่ารถ หรือค่าความพร้อมจ่ายนั่นเอง
ประเด็นของเรื่องนี้ ก็คือ ค่าความพร้อมจ่ายที่เสียไปในแต่ละเดือน คุ้มค่าหรือไม่
โดยหากเราไปดูกำลังการผลิตไฟฟ้าคงเหลือของประเทศไทย ใน 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละปี ย้อนหลัง 3 ปี
- ปี 2563 28,637 เมกะวัตต์
- ปี 2564 30,135 เมกะวัตต์
- ปี 2565 32,255 เมกะวัตต์
- ปี 2564 30,135 เมกะวัตต์
- ปี 2565 32,255 เมกะวัตต์
กำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ย้อนหลัง 3 ปี
- ปี 2563 46,480 เมกะวัตต์
- ปี 2564 46,682 เมกะวัตต์
- ปี 2565 49,099 เมกะวัตต์
- ปี 2564 46,682 เมกะวัตต์
- ปี 2565 49,099 เมกะวัตต์
ถ้าดูจากความต้องการใช้พลังงานสูงสุดในแต่ละปีแล้ว จะเห็นว่า ประเทศเรายังมีกำลังการผลิตเหลือใช้ในระดับหนึ่ง
คนส่วนใหญ่จึงกลับมาตั้งคำถามว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศที่เตรียมไว้ เหมาะสมหรือไม่
แม้ว่าโรงไฟฟ้าบางแห่งที่เป็นคู่สัญญา จะไม่ได้ผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบ แต่ กฟผ. ก็ต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายให้อยู่ดี
ถ้ากำลังการผลิตเหลือใช้มากเกินไป ก็จะทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น จากต้นทุนแฝงที่มาในรูปของค่าความพร้อมจ่าย
อย่างเช่นในปี 2563 ที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งหมด เดินเครื่องเฉลี่ยเพียง 35% ของเวลาทั้งปี แต่ กฟผ. ยังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายดังกล่าว ให้กับผู้ผลิตกว่า 9,166 ล้านบาท
ซึ่งถ้าประเทศไทยมีการควบคุมกำลังการผลิตส่วนเกินให้เหมาะสม ก็อาจจะช่วยลดค่าไฟฟ้าของประชาชนให้ถูกลงได้
ซึ่งก็ต้องทำให้สมดุลระหว่างการรักษาความมั่นคงทางพลังงาน กับการเผื่อกำลังการผลิตไว้เยอะเกินไป
แล้วทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาสูง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ใช้ไฟฟ้ามากเท่าที่ผลิตได้ ก็ตาม..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.egat.co.th/home/statistics-all-latest/
-https://www.eppo.go.th/images/Power/pdf/FT-history/FiT_2558.pdf
-https://www.egat.co.th/home/wp-content/uploads/2022/06/EGAT-Annual-2021_2022-06-22.pdf
-https://www.egat.co.th/home/statistics-demand-annual/
-https://www.egat.co.th/home/20220723-pre01/
-https://www.facebook.com/355457518354837/posts/895295124371071/
-https://www.mea.or.th/content/detail/2985/2987/471
-https://www.egat.co.th/home/statistics-all-annual/
-https://www.mea.or.th/upload/download/file_d08ca0f19da6e000bfddbfb1d0761698.pdf
แล้วทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาสูง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ใช้ไฟฟ้ามากเท่าที่ผลิตได้ ก็ตาม..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.egat.co.th/home/statistics-all-latest/
-https://www.eppo.go.th/images/Power/pdf/FT-history/FiT_2558.pdf
-https://www.egat.co.th/home/wp-content/uploads/2022/06/EGAT-Annual-2021_2022-06-22.pdf
-https://www.egat.co.th/home/statistics-demand-annual/
-https://www.egat.co.th/home/20220723-pre01/
-https://www.facebook.com/355457518354837/posts/895295124371071/
-https://www.mea.or.th/content/detail/2985/2987/471
-https://www.egat.co.th/home/statistics-all-annual/
-https://www.mea.or.th/upload/download/file_d08ca0f19da6e000bfddbfb1d0761698.pdf