กรณีศึกษา พลัง Challenger Bank สร้าง Impact การเงินให้ลูกค้ารายเล็ก 5 แสนราย

กรณีศึกษา พลัง Challenger Bank สร้าง Impact การเงินให้ลูกค้ารายเล็ก 5 แสนราย

กรณีศึกษา พลัง Challenger Bank สร้าง Impact การเงินให้ลูกค้ารายเล็ก 5 แสนราย
KBank X ลงทุนแมน
นับตั้งแต่วงการธนาคารปฏิวัติตัวเอง จากเดิมที่เน้นทำธุรกิจผ่าน “สาขา” มาสู่ “ธนาคารดิจิทัล” สิ่งที่เกิดขึ้นคือ บริการใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีทำลายข้อจำกัดเดิม ๆ ในอดีต
หนึ่งในธนาคารที่ Move On เรื่องนี้อย่างจริงจังคือ KBank
ที่ลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการเงิน ไปแล้วกว่า 22,000 ล้านบาท
ทำให้เวลานี้ KBank นิยามตัวเองว่ามีความเป็น Challenger Bank หรือการเป็นธนาคารที่รวบรวมสุดยอดเทคโนโลยีทางการเงิน มาใช้ในบริการของตัวเอง
และหนึ่งในนั้นคือ การสร้างบริการสินเชื่อที่มาปลดล็อกกลุ่มคนที่ในอดีตไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อธนาคารได้
เชื่อหรือไม่ว่า ใน 9 เดือนแรกของปี 2565 KBank อนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้ไปแล้ว 500,000 ราย
หรือคิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 23,000 ล้านบาท
ที่น่าสนใจกว่านั้น KBank เชื่อว่าแนวคิด Challenger Bank จะเพิ่มฐานลูกค้าได้อีกมหาศาล
เพราะเป็นแนวคิดที่สร้างประโยชน์ให้แก่คนในสังคม
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
ในอดีตธนาคารใช้ “สาขา” เป็นอาวุธหลักในการสร้างฐานลูกค้าให้แก่ตัวเอง
ยิ่งสาขาครอบคลุมพื้นที่มากเท่าไร โอกาสในการเพิ่มจำนวนลูกค้าก็มากขึ้น
จนเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโลกการเงิน
ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ผ่านทาง Application บนโทรศัพท์มือถือ
นั่นแปลว่า ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องไปที่สาขา
ทำให้โอกาสทางธุรกิจของธนาคาร จึงไม่ได้จำกัดแค่ สาขา อีกต่อไป
ก็เลยทำให้ KBank คิดค้นสารพัดบริการทางการเงินดิจิทัลมากมาย
หนึ่งในนั้นก็คือ การใช้เทคโนโลยีเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ก็คือ ประชากรที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ
รู้หรือไม่ ประชากรไทยราว 30 ล้านคน หรือราว 50% ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้
ทำให้คนกลุ่มนี้ยามเดือดร้อนเรื่องเงิน ก็มักพึ่งพา เงินกู้นอกระบบ ที่มีดอกเบี้ยสูงถึง 20-30% ต่อเดือน
อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการทวงหนี้ที่โหดร้าย
และนี่คือ น่านน้ำใหม่ ที่ KBank มองว่าจะสร้างประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย
โดยใช้เทคโนโลยีเป็นทั้งสื่อกลาง และปลดล็อกข้อจำกัดเดิม ๆ ส่งเสริมลูกค้ารายเล็กและคนที่ไม่เคยเข้าถึงระบบธนาคารให้เข้าถึงได้เป็นการปลดล็อคศักยภาพที่มีอยู่อย่างมากมายในประเทศ
เช่น กลุ่มเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก, เกษตรกร ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรืออาจมีแต่ไม่เพียงพอ
ทาง KBank ก็จะใช้เทคโนโลยีล้ำ ๆ พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
ที่สามารถประเมินได้ว่าผู้ขอสินเชื่อมีความสามารถในการผ่อนชำระค่างวด ผ่านโครงการ “สินเชื่อเงินด่วนเพื่อธุรกิจ”
ในมุมหนึ่ง KBank ก็จะมีรายได้จากธุรกิจใหม่
แต่.. คนที่ได้ประโยชน์ไม่แพ้กันคือ กลุ่มเจ้าของธุรกิจเล็ก ๆ และเกษตรกร ที่ในอดีตหากอยากขยายธุรกิจของตัวเอง แต่ไม่สามารถกู้เงินธนาคารได้ ธุรกิจก็เหมือนถูกแช่แข็ง
“สินเชื่อเงินด่วนเพื่อธุรกิจ” ของ KBank จึงเป็นเหมือนกุญแจที่มาช่วยปลดล็อกให้ธุรกิจขนาดเล็ก มีโอกาสเติบโต
หรือหากลูกค้ากลุ่มนี้ มีเรื่องต้องใช้เงินด่วน ก็ใช้บริการนี้ได้ทันที ไม่ต้องไปเสี่ยงกับเงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูง และการตามทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย
เมื่อเป็นการทำลาย Pain Point และตอบโจทย์ได้ตรงจุด
ทำให้เวลา 10 เดือนที่ผ่านมา KBank อนุมัติสินเชื่อให้เจ้าของธุรกิจรายเล็ก ที่มีรายได้น้อยกว่า 2.5 ล้านบาทต่อปี จำนวน 63,000 ราย คิดเป็นวงเงินกู้รวม 5,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันบริการใหม่ ๆ อย่าง “K PAY LATER” ที่อยู่ใน Application K PLUS ช่วยให้ลูกค้าซื้อสินค้าก่อนผ่อนจ่ายทีหลัง ที่ในระยะ 10 เดือนของปีนี้
มีผู้ใช้สินเชื่อนี้ไปแล้วกว่า 215,000 ราย โดยมีวงเงินกู้สูงสุดถึง 20,000 บาทต่อราย
โดยคนที่ใช้งานหลัก ๆ คือ มนุษย์เงินเดือน และคนทั่วไป ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนที่ใช้บริการสินเชื่อนี้ ไม่ได้เอาไปใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย
เมื่อผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้จ่ายกับร้านค้าที่ขายของใช้จำเป็น
เช่น บิ๊กซี, โลตัส, ซี​.เจ.​ เอ็กซ์​เพรส, ปตท., เซ็นทรัล และแม็คโคร​ เป็นต้น
และด้วยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ประเมินผลอนุมัติสินเชื่อ รวมถึงพฤติกรรมการใช้เงินที่ดี
ทำให้ลูกค้าใน 2 โครงการนี้ มีการชำระคืนเงินกู้เป็นอย่างดี
ทำให้ทาง KBank มีการอนุมัติเพิ่มวงเงินกู้ให้คนกลุ่มนี้
พร้อมขยายบริการทางการเงินอื่น ๆ
เมื่อพลังของ Challenger Bank ที่เป็นการใช้เทคโนโลยีทำลายข้อจำกัดเดิม ๆ
และทำให้ KBank เข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ทำให้ KBank มีฐานลูกค้าโตแบบไร้ขีดจำกัดเช่นกัน
เมื่อในช่วงเวลา 18 เดือนที่ผ่านมา KBank มีฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 1 ล้านคน
และคาดว่าจะขยายเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน ในเร็ว ๆ นี้
จะเห็นได้ว่า การสร้างแพลตฟอร์มบริการทางการเงิน ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อน
ทำให้ KBank เองก็เข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
ส่วนในมุมของลูกค้าเอง ก็จะได้รับบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์
ปลดล็อกธุรกิจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัว
ทีนี้ คงพอรู้คำตอบแล้วว่า ทำไม KBank ต้องรวบรวมเทคโนโลยีทางการเงินดิจิทัลมากมาย
มาอยู่ในมือ พร้อมนิยามตัวเองเป็น Challenger Bank ที่ดิสรัปต์การทำธุรกิจธนาคารแบบเดิม ๆ
นอกจากเหตุผลที่ว่า หาก KBank ไม่ทำ คู่แข่งก็ทำแล้วนั้น
เหตุผลที่สำคัญที่สุดของการเป็น Challenger Bank คือการตอบสนองต่อพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป
รวมถึง การเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
Reference
-ข่าวประชาสัมพันธ์ธนาคารกสิกรไทย

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon