CKP ผู้นำธุรกิจโรงไฟฟ้าหมุนเวียน ตั้งเป้า NET ZERO EMISSION ในปี 2050

CKP ผู้นำธุรกิจโรงไฟฟ้าหมุนเวียน ตั้งเป้า NET ZERO EMISSION ในปี 2050

CKP ผู้นำธุรกิจโรงไฟฟ้าหมุนเวียน ตั้งเป้า NET ZERO EMISSION ในปี 2050
CKP x ลงทุนแมน
บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก CKP จะเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นพลังงานสะอาดแล้ว บริษัทก็ยังเป็นหนึ่งในกิจการที่ผลักดันในเรื่อง Carbon Footprint เพื่อมุ่งสู่องค์กรที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กรที่ต่ำที่สุดในอาเซียน
ล่าสุด CKP กำลังต่อยอดความสำเร็จของความเป็นองค์กร ที่ให้ความสำคัญกับพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยได้มุ่งหน้าเข้าสู่ความเป็น NET ZERO EMISSION หรือก็คือ การขับเคลื่อนในทุก ๆ ขั้นตอนการทำงาน ให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศไทยที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2608
วันนี้เรามาดูกันว่า CKP มีความพร้อมแค่ไหน สำหรับการจะเข้าสู่ NET ZERO EMISSION
แล้วที่ผ่านมา CKP ทำอะไรไปแล้วบ้าง ?
CKP ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว
โดยบริษัทจะทำธุรกิจประเภทโฮลดิง หรือก็คือการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่น
ซึ่งหลัก ๆ แล้ว จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจผู้ผลิต และจัดจำหน่ายไฟฟ้า
หากเราสรุปธุรกิจโดยรวมของ CKP ในปีที่แล้ว
บริษัทมีรายได้ 9,335 ล้านบาท กำไร 2,179 ล้านบาท
โดยในปัจจุบัน CKP มีมูลค่าบริษัทราว 4 หมื่นล้านบาท เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ในประเทศไทย
นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนแล้ว หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า CKP ได้วางแผนขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตระยะยาว ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน และความสมดุลให้กับโลกด้วย
โดยความยั่งยืนในแบบฉบับของ CKP คือการเน้นไปที่
- การวางระบบบริหารจัดการความเสี่ยง ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในทุกกระบวนการผลิต
- การเลือกลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้า ที่มีเทคโนโลยีระดับสูง เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีเสถียรภาพมากพอ ที่จะผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในขณะที่ระดับการบริหารจัดการภายในองค์กร CKP ก็ได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาระบบปฏิบัติงานเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่
ที่จะช่วยต่อยอดให้ในภาพรวมของระบบการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการกำหนดราคาคาร์บอน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กร
ทีนี้เราลองมาดูกันว่า CKP มุ่งหน้าเข้าสู่ NET ZERO EMISSION ไปแล้ว ขนาดไหน ?
เริ่มจากที่ CKP ได้ผ่านการรับรองให้เป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ Climate Action Leading Organization จากคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย
และอีกหนึ่งในความก้าวหน้าครั้งสำคัญของ CKP ก็คือ “โรงไฟฟ้าบางปะอิน”
โรงไฟฟ้าบางปะอินของ CKP เป็นโรงไฟฟ้าประเภทโคเจเนอเรชัน ที่คอยจัดจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนิคมอุตสาหกรรมในนิคม
ที่สามารถผ่านเกณฑ์ Carbon Footprint Product จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จ
เกณฑ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าแห่งนี้ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ไม่ใช่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่เกณฑ์นี้ยังครอบคลุมไปถึงขั้นตอนการได้รับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ตลอดไปจนถึงขั้นตอนการกำจัดซากผลิตภัณฑ์
ในขณะเดียวกัน CKP ก็ยังได้เข้าร่วม เป็นผู้สนับสนุนมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศในหมวด Electric Utilities
เรียกสั้น ๆ ว่า TCFD เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยการวิเคราะห์ตรงนี้ จะถูกนำไปร่วมแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นวาระเร่งด่วนในระดับนานาชาติ
ปัจจุบัน CKP มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอยู่ราว 9 ใน 10 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
โดยบริษัทก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 95% ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า รวมถึงจะมีการสนับสนุนให้การดำเนินกิจการ มีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และกลยุทธ์การประหยัดพลังงานต่าง ๆ เช่น
- การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป
- การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้า LED ภายในอาคาร ที่อยู่อาศัย และโรงไฟฟ้า เพื่อการประหยัดพลังงาน
- ลดการใช้น้ำมัน และเชื้อเพลิงจากฟอสซิล
จากความคืบหน้าทั้งหมดของ CKP เราจะเห็นได้ว่าทางบริษัท มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นแบบแผน และมีแนวทางที่ชัดเจน
ซึ่งเป้าหมาย NET ZERO EMISSION ของ CKP ก็น่าจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งแรงกระเพื่อมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมพลังงาน รวมถึงธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในประเทศไทย ให้หันมาตื่นตัว และเตรียมพร้อมสำหรับเมกะเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของโลก ไม่มากก็น้อย..

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon