กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ “คลินิกการแพทย์ความงาม” ที่รายได้โตไม่หยุด

กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ “คลินิกการแพทย์ความงาม” ที่รายได้โตไม่หยุด

กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ “คลินิกการแพทย์ความงาม” ที่รายได้โตไม่หยุด /โดยลงทุนแมน
1.31 แสนล้านบาท หรือ 3.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
คือ มูลค่าตลาดการแพทย์ความงาม (Aesthetic Medicine) ของไทยในปี 2573
ที่ Grand View Research บริษัทวิจัยด้านการตลาดในสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ไว้
เติบโตจากในปี 2564 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6 หมื่นล้านบาท
โดยคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ในช่วงระหว่างปี 2565-2573 อยู่ที่ 9.7%
การเติบโตดังกล่าว เป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจที่อยู่ในแวดวง การแพทย์ความงาม ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ซึ่งธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มการแพทย์ความงามก็มีหลากหลาย แต่ที่นักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นเคย คงหนีไม่พ้นหุ้นโรงพยาบาล
ขณะที่ธุรกิจคลินิกการแพทย์ความงาม ซึ่งอยู่รอบตัวทุกคน กลับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่หลายคนไม่ค่อยคุ้นเคย
ทำให้พอมาเจอหุ้นการแพทย์ความงามตัวแรกในตลาดฯ ก็อาจจะสงสัยว่า แล้วธุรกิจนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ที่สำคัญ ธุรกิจคลินิกการแพทย์ความงาม มีโมเดลที่เหมือนหรือแตกต่าง จากโรงพยาบาลเฉพาะทางอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เป็นที่รู้กันว่า หนึ่งในเมกะเทรนด์ของโลก ที่ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง คือ Health & Wellness
Global Wellness Institute (GWI) คาดการณ์ว่า มูลค่าของเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพของทั้งโลก (Global Wellness Economy) จะแตะ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 266 ล้านล้านบาท ในปี 2568
โดยสาขาที่มีมูลค่าธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด คือ การดูแลตัวเอง ความสวยงาม การชะลอวัย (Personal Care & Beauty) ราว 9.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 36 ล้านล้านบาท
แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตัวเอง ความสวยงาม และการชะลอวัย
หนึ่งในดาวเด่นของธุรกิจนี้ คงหนีไม่พ้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างคลินิกการแพทย์ความงาม และโรงพยาบาลเฉพาะทาง
ข้อมูลจากธนาคารโลก พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยในปี 2561 มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ เท่ากับ 5.39%
เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2543-2561 ที่มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ของทวีปเอเชีย ไม่ต่ำกว่า 4%
สอดคล้องกับภาพรวมของอุตสาหกรรม การแพทย์ความงาม ในประเทศไทย เช่น Aesthetic Skin & Surgery, Wellness และ Medical Spa ที่ได้รับความนิยม และมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง
โดยกลุ่มคลินิกด้านการแพทย์ความงาม ที่ให้บริการครบวงจร ทั้งการดูแลรักษาผิวพรรณ รูปร่าง และศัลยกรรม มีแนวโน้มเติบโตมากกว่ากลุ่มที่เน้นการรักษาผิวพรรณเพียงอย่างเดียว
แล้วโมเดลธุรกิจของโรงพยาบาลเฉพาะทาง และคลินิกการแพทย์ความงาม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
แน่นอนว่า ทั้งโรงพยาบาลเฉพาะทาง และคลินิกการแพทย์ความงาม มีจุดมุ่งหมายไม่ต่างกัน คือ นำเสนอบริการเพื่อตอบโจทย์ให้ผู้ที่เข้ามารับบริการดูดีขึ้น
แต่โมเดลในการทำรายได้ และการเข้าถึงลูกค้า อาจจะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน
ในที่นี้จะโฟกัส จากธุรกิจการแพทย์ความงาม ซึ่งมองเพียงผิวเผิน หลายคนอาจคิดว่า เป็นรองโรงพยาบาลเฉพาะทาง ในแง่ของความน่าเชื่อถือ
เพราะมองว่า โรงพยาบาลเป็นเหมือน One-Stop Service ที่มีบริการครบจบในที่เดียว​
แต่ความเป็นจริง จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ อาจจะลองเปรียบเทียบกับโมเดลร้านค้าปลีกที่ใกล้ตัวของทุกคน
สมมติโรงพยาบาลเฉพาะทาง เป็นเหมือน “ซูเปอร์มาร์เก็ต”
ขณะที่คลินิกการแพทย์ความงามชั้นนำ เป็นเหมือน “เชนร้านสะดวกซื้อ”
คลินิกการแพทย์ความงามทั่ว ๆ ไป เป็นเหมือน “ร้านขายของชำ”
แน่นอนว่า ถ้ามองในเชิงขนาด อาจจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่ในแง่ของความน่าเชื่อถือ หรือความครบครันในการให้บริการ
เชื่อว่าหลายคนอาจไม่ได้รู้สึกว่า เชนร้านสะดวกซื้อมีความน่าเชื่อถือ หรือบริการที่ตอบโจทย์น้อยกว่า จนทำให้ไม่อยากมาใช้บริการ
ที่สำคัญ ด้วยจุดแข็งของการเป็นเชนร้านสะดวกซื้อ ยิ่งทำให้ลูกค้ามั่นใจว่า มีมาตรฐาน และต่อให้ไปใช้บริการที่สาขาไหน ก็มีคุณภาพที่ไม่แตกต่างกัน
ไม่ต้องกังวลว่า เมื่อเข้าไปใช้บริการแล้วรู้สึกต้องวัดดวงว่า สินค้าที่มองหา จะมีจำหน่ายไหม หรือพนักงานจะให้บริการแบบไหน

ยิ่งไปกว่านั้น อีกหนึ่งจุดแข็งของเชนร้านสะดวกซื้อที่ทุกคนสัมผัสได้ คือ ความสะดวกสบายที่มากกว่า
เพราะด้วยสเกลของร้านสะดวกซื้อ ที่ไม่ได้ใหญ่โตเท่ากับซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่ต้องมีพื้นที่จอดรถ หรือพื้นที่เช่า
จึงไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และทุนมหาศาลในการขยายสาขา
ทำให้สามารถขยายสาขาได้มากกว่า และสามารถกระจายสาขาครอบคลุมได้ในหลากหลายพื้นที่

คล้าย ๆ กับ โมเดลธุรกิจคลินิกการแพทย์ความงามชั้นนำ ที่แม้สเกลจะแตกต่างจากโรงพยาบาลเฉพาะทาง
แต่ก็มีจุดแข็ง และมีความแตกต่างจากโรงพยาบาลเฉพาะทาง ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. เชนคลินิกการแพทย์ความงามสามารถเจาะตลาด (Market Penetration) สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างครอบคลุม
เพราะด้วยสเกลของธุรกิจที่ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดินเอง ไม่ต้องสร้างตึกเอง
แต่สามารถไปเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า หรือโลเคชันที่มองว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ และมีดีมานด์ของกลุ่มลูกค้า ทำให้ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ ต่ำกว่าธุรกิจโรงพยาบาลเฉพาะทาง
แต่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากกว่า จึงสามารถทำกำไร และสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจได้ดี
2. ใช้เงินทุนในการขยายสาขาไม่มาก (Light Asset)
เมื่อสเกลในการขยายสาขาของคลินิก ไม่ได้ใหญ่โตเท่ากับโรงพยาบาล จึงทำให้ไม่ต้องใช้เงินทุนมหาศาล ช่วยลดภาระหนี้สิน และยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ สามารถปรับรูปแบบ หรือบริการให้ตอบโจทย์กับอินไซต์ของลูกค้าในแต่ละโลเคชัน
3. มี Recurring income ต่อเนื่อง
ด้วยจุดแข็งของคลินิกการแพทย์ความงามแบบครบวงจร ที่ไม่ได้เน้นบริการเรื่องของการศัลยกรรมตกแต่งเท่านั้น
แต่ยังมีบริการในส่วนของโปรแกรมทรีตเมนต์, เลเซอร์ที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพผิว, โปรแกรมยกกระชับและลดริ้วรอยให้ดูอ่อนเยาว์, โปรแกรมการดูแลรูปร่าง และกระชับสัดส่วน รวมไปถึงโปรแกรม Wellness & Anti-Aging เพื่อการดูแลสุขภาพและชะลอวัย
ซึ่งบริการเหล่านี้ส่วนใหญ่ ไม่ได้มาใช้บริการครั้งเดียว แต่ต้องอาศัยการดูแลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ธุรกิจมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ
อีกหนึ่งข้อดีของการที่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง คือ ทำให้สามารถ Upsale เพื่อต่อยอดบริการให้ลูกค้าได้เรื่อย ๆ
ที่สำคัญ คลินิกการแพทย์ความงามยังเป็นธุรกิจที่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบ จากความผันผวนของเศรษฐกิจ
เพราะอย่าลืมว่า ลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์และสุขภาพ ครอบคลุมตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยผู้สูงอายุ มีความพร้อมที่จะควักเงิน เพื่อลงทุนดูแลภาพลักษณ์ และสุขภาพของตัวเอง
ถ้าเป็นกลุ่มที่เลือกใช้บริการเชนคลินิกการแพทย์ความงามที่ครบวงจร ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อ มองเรื่องผลลัพธ์ ความพึงพอใจ และความปลอดภัย มากกว่าราคา
ดังนั้น ต่อให้เศรษฐกิจจะผันผวน ลูกค้ากลุ่มนี้ ก็แทบจะไม่ได้รับผลกระทบ
ด้วยจุดแข็งทั้ง 3 ข้อนี้เอง จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคลินิกการแพทย์ความงาม ถึงเป็นหนึ่งในธุรกิจเนื้อหอม
ที่มีผู้เล่นหมุนเวียนเข้ามามากมาย แม้แต่ผู้เล่นที่อยู่ในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนอยู่แล้ว ก็ยังสนใจเข้ามาชิมลางในธุรกิจนี้
แน่นอนว่าเหตุผลสำคัญ ก็เพราะ ธุรกิจคลินิกการแพทย์ความงาม (Aesthetics & Wellness) เป็นเหมือน Purple Ocean
ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่าง ธุรกิจความงาม (Beauty) ที่เป็น Red Ocean และธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ที่เป็น Blue Ocean
ทำให้ต่อให้ธุรกิจคลินิกการแพทย์ความงาม จะมีคู่แข่งหน้าใหม่หรือคู่แข่งหน้าเก่า แข่งขันกันอย่างดุเดือด
แต่อย่างน้อยก็เป็นธุรกิจที่มี Barrier ที่ไม่ใช่ใครที่เห็นโอกาส หรือศักยภาพในธุรกิจนี้ ก็จะสามารถเข้ามาเจาะตลาดได้ง่าย ๆ เพราะหลัก ๆ ยังต้องอาศัยทีมแพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์
ขณะเดียวกันยังมั่นใจว่า ดีมานด์จากฝั่งลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับการดูแลภาพลักษณ์ของตัวเอง ที่เติมเข้ามาในสมรภูมินี้ก็ไม่ขาด
เพราะปัจจุบันด้วยการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ บวกกับเทรนด์การดูแลสุขภาพ
ที่ไม่ได้โฟกัสแค่ให้ร่างกายแข็งแรง แต่ถ้าเลือกได้ ใคร ๆ ก็อยากหยุดอายุผิว ให้ดูอ่อนเยาว์ อยู่เสมอ
หรือแม้แต่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่อยากดูดีอยู่เสมอ ยิ่งยุคนี้ใคร ๆ ก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้
การมีภาพลักษณ์ที่ดี ก็เท่ากับมีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งค่านิยมที่อยากให้ตัวเองดูดี ไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม
อีกแรงหนุนสำคัญ คือ กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่กำลังมาแรง
โดยประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีการเสริมความงามมากที่สุดในปี 2563
ที่น่าสนใจ คือ ฐานลูกค้าคลินิกการแพทย์ความงามไม่ได้มีเฉพาะคนไทย แต่รวมถึงชาวต่างชาติ
เนื่องจากประเทศไทย มีชื่อเสียงด้านการบริการศัลยกรรมที่มีชื่อเสียง และมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลในยุโรป
และรัฐบาลเองก็มีนโยบายส่งเสริมเรื่อง Medical Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
โดยศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย จะแตะระดับ 7.6 แสนล้านบาทในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 13.2% ต่อปี
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า แม้ธุรกิจโรงพยาบาลเฉพาะทางและคลินิกการแพทย์ความงาม จะมีเป้าหมายใกล้เคียงกัน
แต่ก็มีจุดแข็งที่แตกต่างกัน
เหมือนกับซูเปอร์มาร์เก็ตและเชนร้านสะดวกซื้อ ที่ต่างก็มีจุดแข็งเป็นของตัวเอง
จนยากที่จะมีใครมาทดแทนใคร
ปิดท้ายด้วยข้อมูลน่าสนใจ รู้หรือไม่ เร็ว ๆ นี้ เรากำลังจะมี “หุ้นคลินิกการแพทย์ความงาม” ตัวแรกในตลาดหุ้นไทย
เมื่อ บมจ.เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม หรือที่หลายคนเรียกคุ้นหูกันในชื่อ "เดอะคลีนิกค์" (THE KLINIQUE)
หนึ่งในผู้นำในธุรกิจให้บริการด้าน Skin, Body, Surgery และ Wellness แบบองค์รวมที่ทันสมัยตามหลักการแพทย์ กำลังจะ IPO เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)
หรือพูดง่าย ๆ ว่า นอกจาก "เดอะคลีนิกค์" จะช่วยให้ทุกคนที่มาใช้บริการดูดีขึ้น
ยังเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่สนใจลงทุนในธุรกิจที่อยู่ในเมกะเทรนด์ของโลก อีกด้วย
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://globalwellnessinstitute.org/industry-research/2022-global-wellness-economy-country-rankings/
-Krungthai COMPASS
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/medical-aesthetics-market

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon